ข้ามไปเนื้อหา

แนวร่วมกู��ชาติแห่งชัมมูและกัษมีระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวร่วมปลดปล่อยชัมมูและกัษมีระ (Jammu Kashmir Liberation Front) ก่อตั้งโดย อมานุลลอห์ ข่านและมักบูล ภัท เป็นองค์กรชาตินิยมของกัษมีระ ก่อตั้งที่เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 และมีการตั้งสาขาตามเมืองต่างๆของอังกฤษ รวมทั้งประเทศอื่นในยุโรป สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลางภายในสองปี ใน พ.ศ. 2529 มีการตั้งสาขาในดิน���ดนกัษมีระของปากีสถาน (อาซัด กัษมีระ) และปากีสถาน ใน พ.ศ. 2530 มีการตั้งสาขาในกัษมีระของอินเดีย (รัฐชัมมูและกัษมีระ)

แนวร่วมนี้เป็นองค์กรก่อการร้ายองค์กรแรกในกัษมีระ มีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องให้มีการปลดปล่อยส่วนของอินเดียที่เคยเป็นราชอาณาจักรโทคระของชัมมูและกัษมีระที่มีอยู่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2490 แนวร่วมนี้อ้างว่าพวกเขาไม่ใช่องค์กรอิสลามแต่เน้นที่ความเป็นชาติ และต่อต้านการยึดครองของทั้งปากีสถานและอินเดีย ความรุนแรงหลักที่กลุ่มนี้ก่อขึ้น ได้แก่การลอบสังหาร รวันทรา มหาเตร ชาวอินเดีย ในลอนดอนและการจี้เครื่องบินหลายครั้ง

การแยกตัวและการรวมตัวกันใหม่

[แก้]

กลุ่มนี้มีการแยกตัวออกไปนำโดยยาซิน มาลิก ไปเป็นแนวร่วมปลดปล่อยชัมมูและกัษมีระ (ยาซิน มาลิก) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกมาปฏิเสธความรุนแรง ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ในขณะที่กลุ่มดั้งเดิมของอมานุลลอห์ ข่าน ยังคงใช้ความรุนแรงต่อไป [1]ใน พ.ศ. 2548 อินเดียยอมให้ ยาซิน มาลิกเข้าสู่ปากีสถานได้เป็นครั้งแรก ผู้นำของขบวนการทั้งสองคือมาลิกและข่านมีโอกาสพบกันในปากีสถานเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 [2]ทั้งสองกลุ่มเริ่มเจรจาที่จะกลับมารวมตัวกันอีกครั้งอย่างไรก็ตามในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 มีสมาชิกอาวุโสของขบวนการแยกตัวออกมาจากกลุ่มของยาซัน มาลิก และออกมาตั้งขบวนการใหม่ภายใต้การนำของฟารุก ซิดดิกี

ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ยาซิน มาลิกเรียกร้องให้เลิกใช้ความรุนแรงและหันมาใช้สันติวิธีสำหรับปัญหากัษมีระ[3] กลุ่มของมาลิกยอมรับชาวฮินดูกัษมีระให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมกัษมีระและสิทธิของพวกเขาที่จะกลับมาสู่ดินแดน[4] ในขณะที่ฝ่ายของข่านยังคงใช้ความรุนแรงเพื่อปลดปล่อยกัษมีระต่อไป

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
  2. http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/4077122.stm
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-03. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]