เรดเฮร์ริง
เรดเฮร์ริง (อังกฤษ: red herring แปลว่า ปลาเฮร์ริงแดง) เป็นอะไรที่ทำให้เข้าใจเขว หรือดึงความสนใจไปจากปัญหาหรือคำถามที่เป็นประเด็นหรือสำคัญ[1] มันอาจเป็นเหตุผลวิบัติทางตรรกะ หรือเป็นเทคนิคการประพันธ์ ที่ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ชมสรุปเรื่องอย่างผิดๆ ผู้ประพันธ์อาจใช้เทคนิคนี้อย่างตั้งใจ เช่นในนิยายรหัสคดี หรือเป็นโวหารการพูด เช่น ในการเมือง หรืออาจใช้เพื่อให้เหตุผลอย่างไม่ได้ตั้งใจ[2]
นักโต้เถียงชาวอังกฤษวิลเลียม คอบเบ็ตต์ ได้ทำคำนี้ให้เป็นที่นิยมในปี 1807 เมื่อเล่าเรื่องการใช้ปลารมควันที่มีกลิ่นแรง เพื่อจะเบนความสนใจของสุนัขล่าเนื้อไม่ให้ไปไล่กระต่าย[3]
เหตุผลวิบัติ
[แก้]เมื่อเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย เรดเฮร์ริงอยู่ในกลุ่มเหตุผลวิบัติโดยความไม่เข้าประเด็น (relevance fallacies) ไม่เหมือนกับเหตุผลวิบัติอีกอย่างคือหุ่นฟาง ซึ่งเป็นการบิดเบียนจุดยืนของฝ่ายตรงข้าม[4] เรดเฮร์ริงจะดูเหมือนคำอธิบายที่เป็นไปได้ แต่จริงๆ ก็จะเป็นคำอธิบายที่ไม่เข้าประเด็น เพียงแต่เบี่ยงความสนใจ[5] ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด เรดเฮร์ริงอาจจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจเพื่อให้เข้าใจไขว้เขว[1] เป็นพจน์ที่โดยหลักใช้ระบุว่า เหตุผลที่ให้ไม่เข้าประเด็น เช่น "ผมคิดว่าเราควรจะมีข้อบังคับทางการศึกษาที่เคร่งครัดขึ้นสำหรับนักเรียน ผมอยากให้คุณสนับสนุนเรื่องนี้ เพราะเราอยู่ในวิกฤติทางงบประมาณ และเราก็ไม่ต้องการให้มีผลต่อเงินเดือนของเรา" แม้ประโยคท้ายดูเหมือนจะใช้สนับสนุนประโยคแรก แต่ก็ไม่ได้อยู่ในประเด็น
กลวิธีเรื่องเล่า
[แก้]วรรณคดีทั้งที่เป็นนิยายและสารคดี อาจตั้งใจใช้เรดเฮร์ริงเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมสรุปเรื่องอย่างผิดๆ[6][7][8] ตัวอย่างเช่น ตัวละครคือ บิชอปอาริงกาโรซ่า ในนิยายรหัสลับดาวินชีของแดน บราวน์ ปรากฏเกือบตลอดทั้งเรื่องว่าเป็นตัวการการสมคบคิดของคริสตจักร แต่ภายหลังจึงเปิดเผยว่า ถูกตัวร้ายจริงๆ หลอก ชื่อภาษาอิตาลีของตัวละครแปลคร่าวๆ ได้ว่า ปลาเฮร์ริงแดง (aringa rosa โดย rosa จริงๆ แปลว่าสีชมพู แต่ก็ใกล้คำว่า rossa คือสีแดงมาก)[9]
หนังสือเชอร์ล็อก โฮมส์เล่มแรกคือ แรงพยาบาท ก็ใช้เรดเฮร์ริงด้วย เมื่อฆาตกรในเรื่องเขียนไว้ในที่เกิดเหตุว่า Rache (เป็นคำเยอรมันแปลว่า การแก้แค้น) ซึ่งทำให้ทั้งตำรวจในเรื่องและผู้อ่านเข้าใจผิดว่า เป็นคนเยอรมัน
การศึกษาและการทดสอบทางกฎหมาย มักจะใช้เรดเฮร์ริงเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจข้อสรุปประเด็นทางกฎหมายอย่างผิดๆ เป็นการทดสอบความเข้าใจกฎหมายที่เป็นพื้นฐาน และทดสอบสมรรถภาพการแยกแยะพฤติการณ์แวดล้อมที่สำคัญตามความเป็นจริง[10]
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "red herring, n." Oxford English Dictionary. OED Third Edition, September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24.
- ↑ Red-Herring (2019-05-15). "Red Herring". txstate.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
- ↑ Dupriez, Bernard Marie (1991). A Dictionary of Literary Devices: Gradus, A-Z (ภาษาอังกฤษ). University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-6803-3.
- ↑ Hurley, Patrick J. (2011). A Concise Introduction to Logic. Cengage Learning. pp. 131–133. ISBN 978-0-8400-3417-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-22.
- ↑ Tindale, Christopher W. (2007). Fallacies and Argument Appraisal. Cambridge University Press. pp. 28-33. ISBN 978-0-521-84208-2.
- ↑ Niazi, Nozar (2010). How To Study Literature: Stylistic And Pragmatic Approaches. PHI Learning Pvt. Ltd. p. 142. ISBN 978-81-203-4061-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-09. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
- ↑ Dupriez, Bernard Marie (1991). Dictionary of Literary Devices: Gradus, A-Z. Translated by Albert W. Halsall. University of Toronto Press. p. 322. ISBN 978-0-8020-6803-3. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
- ↑ Turco, Lewis (1999). The Book of Literary Terms: The Genres of Fiction, Drama, Nonfiction, Literary Criticism and Scholarship. UPNE. p. 143. ISBN 978-0-87451-955-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-09. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
- ↑ Lieb, Michael; Mason, Emma; Roberts, Jonathan (2011). The Oxford Handbook of the Reception History of the Bible. Oxford University Press. p. 370. ISBN 978-0-19-967039-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-22.
- ↑ Sheppard, Steve, บ.ก. (2005). The history of legal education in the United States: commentaries and primary sources (2nd print. ed.). Clark, N.J.: Lawbook Exchange. ISBN 978-1-58477-690-1.