องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
เขตการปกครอง ของประเทศไทย |
---|
การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองท้องที่ |
การปกครองส่วนท้องถิ่น |
|
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งในประเทศไทยที่ปกครองแบบพิเศษจะประกอบด้วย สภา ผู้ว่าราชการ หรือนายก ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยจะมีอยู่สองเขตการปกครองที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา[1]
รายชื่อ
[แก้]1. กรุงเทพมหานคร เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 50 เขต มีสำนักงานใหญ่ซึ่งมี 2 แห่ง เรียกว่า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 1 เสาชิงช้า ถนนดินสอ เขตพระนคร และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง โครงสร้างการบริหารประกอบด้วย[2]
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บริหารสูงสุดของกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกันตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 มาตรา 13 พ.ศ. 2562 [3]
- สภากรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกสภากรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
2. เมืองพัทยา เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 ซึ่งต่อมาได้มีการยกเลิกแล้วใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แทน โครงสร้างการบริหารประกอบด้วย[4]
- นายกเมืองพัทยา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา ซึ่งมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีแต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกันตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มาตรา 15 พ.ศ. 2562 [5]
- สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนยี่สิบสี่คนมาจากการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา โดยมีปลัดเมืองพัทยาทำหน้าที่เลขานุการสภาเมืองพัทยา มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี
ลำดับที่ | ชื่อเมือง | ชื่อเทศบาล/ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น |
ตรา/สัญลักษณ์ | จังหวัด | เนื้อที่เฉพาะ พื้นดิน (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร เมื่อสิ้นปี 2558 (คน)[6] |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม) |
วันที่ได้รับการจัดตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กรุงเทพมหานคร | กรุงเทพมหานคร[# 1] | – | 1,568.74 | 5,696,409 | 3,631.20 | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515[7] | |
2 | พัทยา | เมืองพัทยา[# 2] | ชลบุรี | 53.44 | 115,840 | 2,167.66 | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521[8] |
โครงการในอนาคต
[แก้]ปัจจุบัน มีโครงการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษขึ้นอีก 1 แห่ง คือ เชียงใหม่มหานคร ซึ่งเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้นและบริหารจังหวัดเชียงใหม่ทั้งจังหวัดแทน ภายหลังร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ โดยภาคีเครือข่ายรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้ยื่นร่างนี้ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเบื้องต้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[9]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดเช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ถือว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตเมืองทำนองเดียวกับเทศบาล กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นฝ่ายบริหาร มีสภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและมีสภาเขตเป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
- ↑ เมืองพัทยาเป็นเทศบาลพิเศษซึ่งเดิมมีรูปแบบ "สภา-ผู้จัดการนคร" อันแตกต่างจากเทศบาลทั่วไปที่ใช้รูปแบบ "นายกเทศมนตรี-สภา" แต่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้หันมาใช้รูปแบบ "นายกเทศมนตรี-สภา" เหมือนเทศบาลนครแห่งอื่น ๆ แต่ยังเรียกนายกเทศมนตรีว่า "นายกเมืองพัทยา" และสภาว่า "สภาเมืองพัทยา" เหมือนเดิม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
- ↑ กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีลักษณะครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดเช่นเดียวกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ถือว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขตเมืองทำนองเดียวกับเทศบาล กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นฝ่ายบริหาร มีสภากรุงเทพมหานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและมีสภาเขตเป็นที่ปรึกษาอีกด้วย
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกร���งเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-24. สืบค้นเมื่อ 2017-05-19.
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (พิเศษ 120): 1–44. 30 ตุลาคม 2521. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2017-09-10.
- ↑ "ยื่นร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร". เชียงใหม่นิวส์. 23 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)