โรคคอนเวอร์ชัน
โรคคอนเวอร์ชัน (Conversion disorders) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F44 |
ICD-9 | 300.11 |
DiseasesDB | 1645 |
eMedicine | emerg/112 med/1150 |
MeSH | D003291 |
โรคคอนเวอร์ชัน (อังกฤษ: Conversion disorders) เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการทางระบบประสาท เช่น อาการชา อ่อนแรง หรืออาการคล้ายชัก แต่ไม่มีคำอธิบายทางประสาทวิทยาที่อธิบายอาการของผู้ป่วยได้ และถูกถือว่าปัญหาของผู้ป่วยเกิดจากการตอบสนองทางจิตวิทยาต่อความเครียด โรคดิสโซสิเอทีฟเป็นการวินิจฉัยทางจิตเวชที่ปรากฏอยู่ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems - ICD-10) [1] และ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders 4th edition (DSM-IV) [2] เดิมเคยรู้จักในชื่อโรคว่า "ฮิสทีเรีย" (hysteria) เชื่อกันว่าโรคนี้เป็นที่รู้จักกันมาแล้วนับพันปี แม้เพิ่งจะเป็นที่รู้จักกว้างขวางในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักประสาทวิทยา Jean-Martin Charcot และจิตแพทย์ Pierre Janet และ Sigmund Freud ได้วิจัยเรื่องนี้ คำว่า "คอนเวอร์ชัน" (conversion - การเปลี่ยนแปลง) มีที่มาจากแนวคิดของฟรอยด์ที่ว่าความกังวลถูก "เปลี่ยน" (converted) ให้กลายเป็นอาการทางกาย[3] หลังจากที่ถูกเชื่อว่าหายไปจากประเทศตะวันตกแล้วในศตวรรษที่ 20 งานวิจัยบางชิ้นชี้นำว่าโรคนี้ยังพบได้บ่อยไม่ต่างจากเดิม[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders: clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva, World Health Organization, 1992
- ↑ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition, American Psychiatric Association
- ↑ Josef Breuer & Sigmund Freud, "Studies in Hysteria", 1895
- ↑ Akagi, H. & House, A.O., 2001, The epidemiology of hysterical conversion. In P. Halligan, C. Bass, J. Marshall (Eds.) Hysterical Conversion: clinical and theoretical perspectives (pp. 73–87). Oxford: Oxford University Press.