สมเด็จพระราชินีรัตนาแห่งเนปาล
| ||||||||||||||||||
|
สมเด็จพระราชินีรัตนาราชยลักษมีเทวีศาหะ (ประสูติ: 19 สิงหาคม พ.ศ. 2471) เป็นพระบรมราชินีในสมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาล โดยพระองค์เป็นทั้งพระมาตุจฉาและพระวิมาดาในสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระ และสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระ
พระราชประวัติ
[แก้]สมเด็จพระราชินีรัตนา เป็นธิดาของมหาราชกุมาร หริศัมเศร์ ชังพหาทุรราณา กับมหาราชกุมารี เมฆากุมารี ราชยลักษมีเทวี และเป็นพระขนิษฐาของเจ้าหญิงอินทระ มกุฎรา���กุมารีแห่งเนปาล พระชายาพระองค์แรกของสมเด็จพระเจ้ามเหนทระเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร[1] ทั้งสองมีพระราชโอรสธิดาด้วยกัน 6 พระองค์[2]
ครั้นมกุฎราชกุมารีอินทระได้สิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 2493 สองปีต่อมามกุฎราชกุมารมเหนทระจึงได้เสกสมรสใหม่กับรัตนา ราณา น้องสาวของอดีตพระชายา พระองค์ดำรงเป็นพระอิสริยยศเป็นมกุฏราชกุมารีพระองค์ใหม่และย้ายเข้าไปประทับที่พระราขวังนารายัณหิตี[1] แต่ไม่มีพระราชบุตรด้วยกัน
ในตำแหน่งพระราชินี
[แก้]มกุฎราชกุมารีรัตนาได้ครองตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาลหลังจากสมเด็จพระเจ้าตริภูวันเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 2498
ภายหลังสมเด็จพระเจ้ามเหนทระ พระสวามี ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระอาการพระหทัยวายในอุทยานแห่งชาติป่าจิตวัน พระองค์จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระราชชนนี ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองของเนปาล พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของเยาวชนในเนปาล[3]
จากการรับรู้ของประชาชนต่างมองว่า พระองค์เป็นเจ้านายผู้ทรงเย่อหยิ่ง กล่าวกันว่าพระองค์เป็นผู้สนับสนุนให้กษัตริย์ชญาเนนทระทรงยึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ. 2548[1]
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
[แก้]หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศเนปาล พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ถูกลดพระยศเป็นสามัญชน พระบรมวงศานุวงศ์ต้องเสด็จออกจากจากที่ประทับในพระราชวังนารายัณหิตีซึ่งจะมีการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ[4] สมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระได้เสด็จออกจากพระราชวังนารายัณหิตีก่อนหน้าเส้นตาย 1 วัน โดยได้อาศัยอยู่ในพระราชวังฤดูร้อนนาคารชุนะ (Nagarjuna) ซึ่งอยู่ชานเมือง ส่วนมกุฎราชกุมารแห่งเนปาลได้อาศัยอยู่ในบ้านส่วนพระองค์กลางกรุงของสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระ
แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลเนปาลก็อนุญาตให้พระองค์ และสาราลา โกร์คาลี หรือ สาราลา ตามาง (Sarala Tamang) อดีตนักนางสนมในสมเด็จพระเจ้าตริภูวัน สามารถพำนักภายในเรือนหลังเล็กภายในพระราชวังนารายัณหิตีได้ เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าทรงชราภาพแล้ว[5][6] ส่วนพระองค์ประทับอยู่ในพระตำหนักมเหนทรมันซิล (Mahendra Manzil) ที่มีพื้นที่เพียง 30 เฮกตาร์[7]
พระอิสริยยศ
[แก้]- รัตนาราชยลักษมีเทวี ราณา (พ.ศ. 2471—2495)
- เจ้าหญิงรัตนา มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล (พ.ศ. 2495—2498)
- สมเด็จพระราชินีรัตนาแห่งเนปาล (พ.ศ. 2498-2515)
- สมเด็จพระราชินีรัตนา พระราชชนนี (พ.ศ. 2515-2544 และ พ.ศ. 2544-2551)
- สมเด็จพระราชินีรัตนา พระอัยยิกาเจ้า (พ.ศ. 2544)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Ex-queen mother wins tug-of-war for Nepal palace". Times of India. 10 มิถุนายน 2551. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ HM King MAHENDRA Bir Bikram Shah Dev
- ↑ "Vote to abolish Nepal's monarchy". BBC News. 2007-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
- ↑ "Koninklijk paleis van Nepal wordt museum". DePers.nl. maandag 16 juni 2008 13:32. สืบค้นเมื่อ 2010-09-6.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ อดีตประมุขเนปาล ทิ้งวัง-เคลียร์ข่าวลืออดีต[ลิงก์เสีย]
- ↑ Former queen mother allowed to stay in palace Barun Roy on June 10, 2008
- ↑ "Secret royal concubine, 94, to remain at palace". Hannah Gardner, Foreign Correspondent. June 13. 2008 4:31AM UAE / June 13. 2008 12:31AM GMT. สืบค้นเมื่อ 2010-09-5.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมเด็จพระราชินีรัตนาแห่งเนปาล
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีรัตนาแห่งเนปาล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีกันติ | สมเด็จพระราชินีแห่งเนปาล (13 มีนาคม พ.ศ. 2498 - 19 มกราคม พ.ศ. 2515) |
สมเด็จพระราชินีไอศวรรยา |