วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
นี่คือส่วนเพิ่มเติมอธิบายต่อลิขสิทธิ์ในวิกิพีเดีย เจตนาเพื่อชดเชยส่วนขาดที่ถือว่ารายละเอียดมากเกินกว่ารวมอยู่ในหน้าที่หน้านี้เพิ่มเติม หน้านี้มิใช่นโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย เนื่องจากชุมชนมิได้ตรวจสอบอย่างเข้มงวด |
สรุปหน้านี้: สรุปความด้วยคำของคุณเองแทนการถอดความแบบใกล้ชิด (closely paraphrasing) เนื้อความที่ถอดความแบบใกล้ชิดซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ของเนื้อความต้นฉบับควรเขียนใหม่หรือลบเพื่อเลี่ยงการละเมิดสิทธินั้น และเพื่อรับประกันว่าเนื้อความเข้ากับนโยบายวิกิพีเดีย แหล่งสาธารณสมบัติและแหล่���ที่เข้าได้กับ CC-BY-SA สามารถถอดความแบบใกล้ชิดได้ นอกจากนี้ การถอดความแบบใกล้ชิดของแหล่งมีลิขสิทธิ์บางอย่างอาจได้รับอนุญาตเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ทั้งนี้ ต้องแสดงที่มาเสมอ |
คู่มือการเขียน (MoS) |
---|
สารบัญ |
วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หน้านี้อธิบายหลักการคร่าวๆ ในการเขียนงานในวิกิพีเดีย สำหรับบทความหลัก ดูเพิ่มเติมที่ วิกิพีเดีย:นโยบาย และ วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์
สำหรับข้อมูลโดยละเอียดดูได้ที่ โจรกรรมทางวรรณกรรม
ทำไมต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
สาเหตุที่ไม่ควรคัดลอกบทความจากที่อื่น
- เคารพ วิกิพีเดียให้ความสำคัญในการเคารพผลงาน และเจ้าของงาน
- ลิขสิทธิ์ของผู้เขียนเดิม การคัดลอกงานคนอื่นมาใช้ เหมือนกับการขโมยผลงานคนอื่นมาใช้โดยที่เราไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้เขียนเดิม แทนที่เราจะคัดลอกงานคนอื่นมา เรานำบทความนั้นมาเขียนใหม่ ในคำพูดของเรา ใช้ความสามารถในการเขียนของเรา สรุปเป็นคำพูดใหม่ และอ้างอิงถึงงานเดิม ในส่วนของข้อเท็จจริง
- ลิขสิทธิ์ของวิกิพีเดีย ตามนโยบาย ไม่สนับสนุนการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ถึงแม้ว่าจะทำให้วิกิพีเดียมีบทความเพิ่มมากขึ้น แต่ทำให้คุณภาพวิกิพีเดียลดลง ซึ่งบทความที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าตรวจพบจะถูกลบทันที
- ชื่อเสียง ทั้งชื่อเสียงของวิกิพีเดียเอง และชื่อเสียงของผู้เขียน คงไม่มีใครอยากได้ชื่อว่า ลอกงานคนอื่น
- ความน่าเชื่อถือ บทความในเว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ที่มีการคัดลอกกันต่อๆ กันมา มักจะขาดแหล่งอ้างอิง ซึ่งทำให้ความน่าเชื่อถือในบทความลดลงไป แทนที่เราจะคัดลอกต่อมา เรามาค้นคว้าหาข้อมูลจริงจะทำให้ความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น
- คงไม่มีใครอยากลอกงานคนอื่น หรือถูกคนอื่นลอกงาน แทนที่จะมาลอกงาน เรามาเผยแพร่อย่างเสรีดีกว่า ลองอ่านที่สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และนโยบายด้านลิขสิทธิ์เพิ่มเติม
วิธีเขียนงาน ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์
เรียบเรียงประโยค และคำพูดใหม่
โดยการนำประโยคที่มีการเขียนไว้แล้ว มาจัดเรียงรูปแบบใหม่ เปลี่ยนคำศัพท์ ตำแหน่งคำ และหน้าที่คำ ซึ่งทำให้ประโยคที่ออกมาใหม่ มีความสวยงามมากขึ้นและยังไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เจ้าของเดิม แต่คงเดิมถึงข้อเท็จจริงในบทความเดิม ที่สำคัญอย่าลืมที่จะใส่แหล่งอ้างอิง เพื่อเป็นการเคารพผลงานของผู้เขียนเดิม และให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบ และอ้างอิงความถูกต้องได้
ตัวอย่าง
ประวัติ โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย ข้อความต่อไปนี้ใช้แสดงแนวทางเพื่อการปรับปรุงเนื้อหาเท่านั้น ข้อความต้นฉบับยังคงเป็นลิขสิทธิ์จากทางเจ้าของ
แปลจากวิกิพีเดียภาษาอื่น
การแปลบทความจากภาษาอื่นโดยตรง อาจมีปัญหาเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นเดียวกับการคัดลอกบทความมา หากต้องการนำเนื้อหาจากภาษาอื่นมาลงในวิกิพีเดีย ควรนำมาเรียบเรียง และมีการอ้างอิงเสมอ แต่การแปลจากวิกิพีเดียของภาษาอื่น ไม่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะบทความใดๆ ในวิกิพีเดียนั้นถือว่าเป็นลิขสิทธิ์เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์และอาจจะเป็นสัญญาควบไว้กับสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนูด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มแหล่งอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยไว้ด้วย เพื่อเพิ่มคุณภาพของบทความ และสามารถอ้างอิงต่อได้ทุกคน
คำถามที่ถามบ่อย
- ถาม: บทความอย่างชีวประวัติที่มีคนเขียนไว้แล้ว ทำไมเราไม่ลอกมาใช้เลย จะไม่สะดวกและง่ายกว่าหรือ วิกิพีเดียจะได้มีบทความมากๆ
- ตอบ: มีบทความมากเป็นเรื่องดี แต่การลอกงานเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในวิกิพีเดีย เพราะนอกจากจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว เนื้อหาที่ลอกมาอาจจะมีลักษณะไม่เป็นสารานุกรม (ดู เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม) ลองเรียบเรียงเป็นคำพูดของคุณเอง จะทำให้บทความกระชับ และมีลักษณะเป็นสารานุกรมมากกว่า
- ถาม: แล้วเรื่องรูปละ ถ้าไม่คัดลอกรูปมาใช้ ก็จะไม่มีรูปเลย พวกรูปจากภาพยนตร์ หรือจากหนังสือต่างๆ
- ตอบ: รูปหลายรูปมีการเปิดให้ใช้อย่างเสรี แต่สำหรับรูปที่มีลิขสิทธิ์กำหนดไว้ ทางวิกิพีเดียมีการยอมให้ใช้ในเจตนาเพื่อประกอบบทความเท่านั้น ตาม การใช้งานโดยชอบธรรม โดยรูปลิขสิทธิ์ทุกรูปต้องมีการกำกับไว้ว่ารูปนั้นเป็นรูปลิขสิทธิ์ ดูเพิ่มที่ แม่แบบที่ใช้กำกับลิขสิทธิ์รูปแบบต่างๆ