ข้ามไปเนื้อหา

วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมของกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายผู้อพยพหนองเสม็ด บริเวณชายแดน กัมพูชา-ไทย ในปี 1984

วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 1969 ถึง 1993 เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องหลายเหตุการณ์ที่ทำให้ชาวกัมพูชาหลายล้านคนเสียชีวิต, ถูกย้ายถิ่นฐาน, หรืออพยพไปยังต่างประเทศ

วิกฤตการณ์นี้มีหลายระยะด้วยกัน ระยะแรกคือ สงครามกลางเมืองกัมพูชา ระหว่างรัฐบาล ลอน นอล กับ เขมรแดง ตั้งแต่ปี 1970 ถึง 1975 ระยะนี้ยังมีการทิ้งระเบิดอย่างหนักจาก สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี 1969 ถึง 1973 เพื่อต่อสู้กับเขมรแดงและฐานทัพของ กองทัพเวียดนามเหนือ ภายในกัมพูชา เพื่อหวังจะเอาชนะ สงครามเวียดนาม ระยะที่สองคือการปกครองของ กัมพูชาประชาธิปไตย โดยเขมรแดงตั้งแต่ปี 1975 ถึง 1979 ซึ่งเขมรแดงได้สังหารหรือปล่อยให้ประชาชนอดตายไปประมาณหนึ่งในสี่ของประชากร 8 ล้านคน ในเหตุการณ์ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร

ในปี 1979 สงครามกัมพูชา-เวียดนาม ทำให้เวียดนามรุกรานกัมพูชาและโค่นล้มเขมรแดงลง หลังจากนั้น เวียดนามและรัฐบาลกัมพูชาที่พวกเขาก่อตั้งขึ้นได้ปกครองประเทศนี้ไปอีก 12 ปี เขมรแดงและกลุ่มอื่นๆ ได้ทำสงครามกองโจร ต่อสู้กับผู้ยึดครองเวียดนามและรัฐบาลกัมพูชา ในปี 1979 และ 1980 ความวุ่นวายนี้ทำให้ชาวกัมพูชาหลายแสนคนหนีไปที่ชายแดนไทยเพื่อหลีกหนีความรุนแรงและภาวะ ทุพภิกขภัย ที่คุกคามกัมพูชา องค์กรด้านมนุษยธรรมต้องจัดการกับวิกฤตการณ์นี้ด้วยโครงการ "สะพานแผ่นดิน" ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ตั้งแต่ปี 1981 ถึง 1991 สงครามกองโจรยังคงดำเนินต่อไป ชาวกัมพูชาหลายแสนคนยังคงอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยหรือบริเวณชายแดนไทย ประมาณ 260,000 คนในจำนวนนี้ได้ถูกย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ โดยกว่า ครึ่งหนึ่งไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ระยะสุดท้ายของวิกฤตการณ์มนุษยธรรมของกัมพูชา คือการแก้ไขปัญหาในช่วงปี 1991-1993 เมื่อเวียดนามถอนตัวออกจากประเทศ และ องค์การสหประชาชาติ นำพากัมพูชาไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และได้ ส่งชาวกัมพูชา 360,000 คนกลับบ้าน ทำให้ค่ายผู้ลี้ภัยว่างเปล่าและปิดตัวลง

สงครามกลางเมืองและการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ

[แก้]

ในปี 1969 สหรัฐอเมริกาเริ่มทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ในเขตที่มั่นและฐานทัพของเวียดนามเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกของกัมพูชา การทิ้งระเบิดต่อมาได้ขยายไปถึงการโจมตีเขมรแดง ในช่วงเวลาเดียวกัน เขมรแดงเริ่มเป็น��ลุ่มกองกำลังปฏิวัติพื้นเมืองที่ท้าทายรัฐบาล ผลกระทบและความสัมพันธ์ระหว่างการทิ้งระเบิดกับการเติบโตของเขมรแดงเป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียงกันอยู่

ในวันที่ 18 มีนาคม 1970 ลอน นอล ได้ทำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของเจ้าชายนโรดม สีหนุ ลอน นอลได้เริ่มต้นการรณรงค์ที่ล้มเหลวในการขับไล่ทหารเวียดนามเหนือและตัดเส้นทางลำเลียงในกัมพูชา เพื่อตอบโต้ กองทัพเวียดนามเหนือได้ขยายพื้นที่ออกจากฐานทัพและยึดครองดินแดนเพิ่มเติมของกัมพูชา ซึ่งดินแดนเหล่านี้ถูกส่งมอบให้กับเขมรแดง ในช่วงเวลาเดียวกัน กองทัพสหรัฐฯ และเวียดนามใต้ได้เปิดฉากการโจมตีในปฏิบัติการกัมพูชาเพื่อขับไล่ทหารเวียดนามเหนือออกจากพื้นที่มั่น

ผลกระทบด้านมนุษยธรรมจากการทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ มีสูงมาก สหรัฐฯ อาจทิ้งระเบิดใส่กัมพูชาเป็นจำนวนมากใกล้เคียงกับปริมาณระเบิดทั้งหมดที่ถูกทิ้งในสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณการการเสียชีวิตของทหารและพลเรือนกัมพูชาจากการทิ้งระเบิดระหว่างปี 1969-1973 มีตั้งแต่ 40,000 ถึงมากกว่า 150,000 คน[1][2][3]

ผลกระทบจากการรุกรานของเขมรแดงต่อประชากรในชนบทเป็นเรื่องที่รุนแรง กลยุทธ์ของพวกเขาคือการใช้ "ความหวาดก��ัว ความรุนแรง และการบังคับ"[4] สงครามกลางเมืองได้บังคับให้ชาวกัมพูชาจำนวนมากในชนบทต้องหลบหนีเข้ามาในเมืองเพื่อความปลอดภัย จำนวนประชากรในพนมเปญเพิ่มขึ้นจาก 600,000 คน เป็นมากกว่า 2 ล้านคน การส่งเสบียงไปยังเมืองทางบกและทางทะเลถูกตัดขาดโดยเขมรแดง และเมื่อรัฐบาลยอมแพ้ในวันที่ 17 เมษายน 1975 ประชาชนจำนวนมากในเมืองกำลังเผชิญกับความอดอยาก[5] ในช่วงสงครามกลางเมือง ชาวกัมพูชาจำนวน 200,000 ถึง 300,000 คนเสียชีวิตจากสาเหตุต่างๆ ทั้งหมด[6][7][8]

การปกครองของเขมรแดง

[แก้]
ภาพของเหยื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมรในพิพิธภัณฑ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต็วลแซลง

การกระทำแรกของเขมรแดงหลังจากยึดอำนาจในกรุงพนมเปญได้สำเร็จ คือการสั่งให้ประชาชนละทิ้งเมืองต่าง ๆ ของกัมพูชา "หนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของประเทศถูกบังคับให้เดินทางเข้าสู่ชนบทภายใต้การคุกคามของอาวุธปืน ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนและฝนมรสุม โดยไม่มีการจัดเตรียมอาหาร น้ำ ที่พักอาศัย ความปลอดภัย หรือการรักษาพยาบาล"[9] ผู้ที่รอดชีวิตจากการอพยพออกจากเมืองถูกบังคับให้สร้างที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ในป่า อดีตข้าราชการและทหารของรัฐบาลลอน นอล ถูกประหารชีวิต[10]

ยอดผู้เสียชีวิตจากการประหารชีวิต ความอดอยาก และโรคภัยในช่วงเกือบสี่ปีที่เขมรแดงปกครองมักถูกประมาณไว้ระหว่างหนึ่งถึงสามล้านคน[11]

การรุกรานของเวียดนามและภาวะอดอยาก

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1978 เวียดนามได้รุกรานกัมพูชาและยึดครองประเทศได้เกือบทั้งหมด โดยจัดตั้งรัฐบาลที่สนับสนุนเวียดนามขึ้นมาปกครองกัมพูชา ซึ่งเรียกว่า สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ชาวกัมพูชาหลายหมื่นคนถูกสังหารในระหว่างการรุกรานหรือถูกประหารโดยรัฐบาลใหม่[12] กองกำลังที่เหลือของเขมรแดงได้ล่าถอยไปยังทิวเขาบรรทัด ใกล้พรมแดนไทย และกลุ่มต่อต้านอื่น ๆ ก็เกิดขึ้นในกัมพูชาตะวันตก

ในช่วงการปกครองของเขมรแดง มีเพียงไม่กี่พันคนที่สามารถหลบหนีออกจากกัมพูชาและลี้ภัยไปยังประเทศไทยได้ แต่เมื่อเกิดการรุกรานของเวียดนาม ผู้คนจำนวนมากพยายามข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 1979 รัฐบาลไทยได้บังคับให้ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชากว่า 40,000 คน กลับเข้าไปในกัมพูชาที่ปราสาทพระวิหาร โดยมีชาวกัมพูชามากกว่า 3,000 คนถูกสังหารขณะพยายามข้ามทุ่งระเบิด เหตุการณ์ปราสาทพระวิหารได้กระตุ้นให้ชุมชนมนุษยธรรมระหว่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือชาวกัมพูชาที่มาถึงพรมแดนไทยในสภาพอดอยากขั้นรุนแรง[13]

เมื่อสิ้นสุดปี 1979 การโจมตีของเวียดนามต่อเขมรแดงและกลุ่มต่อต้านอื่น ๆ รวมถึงการคุกคามจากภาวะอดอยากในกัมพูชา ได้บีบให้คนกว่า 750,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักรบต่อต้านเวียดนาม เดินทางมายังพรมแดนไทย[14] คนส่วนใหญ่ถูกป้องกันไม่ให้เข้าประเทศไทย แต่ต้องอาศัยอยู่ในค่ายชั่วคราวตามแนวชายแดน แม้ว่าจะมีผู้ลี้ภัยกว่า 100,000 คนที่อยู่ในประเทศไทย ณ ศูนย์พักพิงเขาอีด่าง ผู้ลี้ภัยใหม่หลายคนขาดสารอาหารหรืออดอยาก[15]

สะพานเเผ่นดิน

[แก้]

การต่อสู้ระหว่างกองกำลังเวียดนามและกลุ่มต่อต้านเ���ียดนามทำให้การผลิตข้าวในกัมพูชาถูกขัดขวางในปี 1979 จนทำให้คาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะอดอยากทั่วประเทศในปี 1980 หน่วยงานบรรเทาทุกข์ประมาณว่าชาวกัมพูชามากถึง 2.5 ล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะอดอยากตาย[16] รัฐบาลสนับสนุนเวียดนามในพนมเปญเรียกร้องให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งหมดถูกส่งผ่านทางรัฐบาลเท่านั้น องค์กรสหประชาชาติและหน่วยงานบรรเทาทุกข์บางแห่งพยายามทำงานร่วมกับรัฐบาล แต่มีรายงานเกี่ยวกับ "ปัญหาการส่งมอบและการแจกจ่าย"[17]

"สะพานเเผ่นดิน" ซึ่งคิดค้นโดยเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ โรเบิร์ต แพทริก แอช เป็นมาตรการบรรเทาทุกข์ที่หลีกเลี่ยงรัฐบาลในพนมเปญ[18] องค์กรด้านมนุษยธรรมและหน่วยงานช่วยเหลือระหว่างประเทศได้นำข้าวและเมล็ดข้าวไปยังค่ายผู้ลี้ภัยหนองจานที่ชายแดนกัมพูชา-ไทย และแจกจ่ายข้าวให้กับชาวกัมพูชาที่มาถึงชายแดน "ชาวกัมพูชาจำนวนมากขับรถเข็นวัวและจักรยานมาที่ชายแดนทุกวัน" และได้รับถุงข้าวเพื่อนำกลับบ้าน[17]

สะพานเเผ่นดินเป็น "ปฏิบัติการขนาดใหญ่และประสบความสำเร็จ" โดยการกระจายข้าวไปพร้อมกับปฏิบัติการบรรเทาทุกข์อื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการแจกจ่ายข้าวให้กับผู้คนในเมืองพนมเปญ โดยรวมแล้วมีการแจกจ่ายข้าวและเมล็ดข้าวกว่า 150,000 ตันระหว่างเดือนธันวาคม 1979 ถึงกันยายน 1980[19]

แม้ว่าสะพานเเผ่นดินจะประสบความสำเร็จในการช่วยป้องกันการเกิดภาวะอดอยากในกัมพูชา แต่ก็เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหมู่หน่วยงานบรรเทาทุกข์ บางหน่วยงานสนับสนุนการร่วมมือกับรัฐบาลในพนมเปญ และกล่าวหาว่าสะพานเเผ่นดินส่งเสริมการค้าขายข้าวในตลาดมืดและช่วยเหลือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล รวมถึงเขมรแดง ผลกระทบของสะพานเเผ่นดินไม่สามารถวัดได้อย่างเต็มที่เนื่องจากไม่มีวิธีติดตามผลการใช้งานอาหารที่แจกจ่ายออกไป[20]

การตั้งถิ่นฐานใหม่และค่ายผู้ลี้ภัย

[แก้]

ค่ายผู้ลี้ภัยบริเวณชายแดนมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปในช่วงทศวรรษ 1980 ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการสู้รบภายในกัมพูชา ผู้สู้รบใช้ค่ายตามชายแดนเป็นที่พักพิง และทั้งกองกำลังรัฐบาลเวียดนามและกัมพูชามักจะ ยิงปืนใหญ่ใส่ค่ายเหล่านี้[21] ในขณะเดียวกัน ที่ค่ายผู้ลี้ภัยเขาอีด่างและค่ายอื่น ๆ อีกไม่กี่ไมล์ในประเทศไทย ชาวกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้รอดชีวิตจากชนชั้นกลางในเมืองที่ผ่านการปกครองของเขมรแดง ต่างก็หวังว่าจะได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่ในต่างประเทศ ค่ายเขาอีด่างมีประชากรสูงสุดถึง 160,000 คนในเดือนมีนาคม 1980 แต่หลังจากการตั้งถิ่นฐานใหม่ การส่งกลับประเทศ (บางครั้งโดยไม่สมัครใจ) และการย้ายไปยังค่ายอื่น ๆ ประชากรลดลงเหลือ 40,000 คนภายในเดือนธันวาคม 1982 และค่ายก็ได้รับสถานะเป็น "ค่ายผู้ลี้ภัยที่มีการบริการที่ละเอียดถี่ถ้วนที่สุดในโลก" ค่ายผู้อพยพไซต์ทูเติบโตจนมีประชากร 160,000 คนในปี 1987 ค่ายผู้ลี้ภัยและค่ายชายแดนต่างมีลักษณะของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มการเมือง ความรุนแรง การข่มขืน ความหดหู่ และการขาดกิจกรรม ค่ายผู้ลี้ภัยถูกประกาศปิดรับผู้เข้ามาใหม่โดยรัฐบาลไทย แต่ชาวกัมพูชายังคงสามารถเข้าถึงค่ายได้ด้วยการติดสินบนหรือการลักลอบเข้าไปในค่าย[22]

ชาวกัมพูชาหลายคนในค่ายผู้ลี้ภัยและค่ายชายแดนยังคงอยู่ในนั้นเป็นเวลาหลายปี เนื่องจากกลัวการกลับประเทศและต้องการย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ ในช่วงปี 1975 ถึง 1997 มีชาวกัมพูชาทั้งหมด 260,000 คนที่ได้รับการตั้งถิ่นฐานใหม่ ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา (153,000 คน) และฝรั่งเศส (53,000 คน)[23]

การส่งกลับประเทศ

[แก้]

ในเดือนตุลาคมปี 1991 มีการบรรลุข้อตกลงสันติภาพอย่างรอบด้านระหว่างฝ่ายที่มีความขัดแย้งในกัมพูชา ซึ่งเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารเวียดนามออกและสร้าง องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (UNTAC) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับใช้การหยุดยิง การจัดการเลือกตั้งเพื่อสร้างรัฐบาลกัมพูชาใหม่ และการส่งชาวกัมพูชาที่ยังอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในไทยหรือในค่ายชายแดนกลับประเทศ[24]

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้กำกับดูแลความพยายามในการส่งกลับประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีชาวกัมพูชาประมาณ 360,000 คนกลับสู่ประเทศจากค่ายผู้ลี้ภัยและค่ายชายแดนในไทย[24] ค่ายเขาอีด่างและค่ายผู้ลี้ภัยอื่น ๆ ถูกปิดลง และประชากรที่เหลือของค่ายถูกย้ายไปยังค่ายผู้ลี้ภัยไซต์ทู ซึ่งถูกปิดในกลางปี 1993 หลังจากประชากรของมันถูกส่งกลับประเทศ[25]

การเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมปี 1993 ทำให้มีการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาอิสระ และ องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา ถูกยกเลิก มีเจ้าหน้าที่ สหประชาชาติ และผู้ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจำนวนมากยังคงอยู่ในประเทศเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจ[24]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marek Sliwinski, Le Génocide Khmer Rouge: Une Analyse Démographique (L'Harmattan, 1995), pp41-8.
  2. Kiernan, Ben; Owen, Taylor. "Bombs over Cambodia" (PDF). The Walrus (October 2006): 62–69.
  3. See also Heuveline, Patrick (2001). "The Demographic Analysis of Mortality in Cambodia," in Forced Migration and Mortality, eds. Holly E. Reed and Charles B. Keely. Washington, D.C.: National Academy Press; และ Banister, Judith, and Paige Johnson (1993). "After the Nightmare: The Population of Cambodia." in Genocide and Democracy in Cambodia: The Khmer Rouge, the United Nations and the International Community, ed. Ben Kiernan. New Haven, Conn.: Yale University Southeast Asia Studies, For an overview of estimated deaths in the Cambodian Civil War.
  4. Quinn, Kenneth Michael. "The Origins and Development of Radical Cambodian Communism." Diss. University of Maryland, 1982. Quinn He later became the US Ambassador to Cambodia.
  5. Thompson, Larry Clinton Refugee Workers in the Indochina Exodus, 1975-1982 Jefferson, NC: MacFarland Publishing Company, 2010, pp. 34-38
  6. Heuveline, Patrick (2001). "The Demographic Analysis of Mortality in Cambodia." in Forced Migration and Mortality, eds. Holly E. Reed and Charles B. Keely. Washington, D.C.: National Academy Press.
  7. Marek Sliwinski, Le Génocide Khmer Rouge: Une Analyse Démographique (L'Harmattan, 1995).
  8. Banister, Judith, and Paige Johnson (1993). "After the Nightmare: The Population of Cambodia." in Genocide and Democracy in Cambodia: The Khmer Rouge, the United Nations and the International Community, ed. Ben Kiernan. New Haven, Conn.: Yale University Southeast Asia Studies.
  9. "Cambodia's Crime" The New York Times July 9, 1975, p. 30
  10. United States, Congress, House. Human Rights in Cambodia 95th Congress, lst Session, Washington, DC: GPO, 1973, pp. 10-11
  11. Heuveline, Patrick "The Demographic Analysis of Mortality Crises: The Case of Cambodia, 1970-1979" in Forced Migration and Mortality Washington, DC: National Academies Press, 2001, p. 105
  12. Etcheson, Craig, After the Killing Fields New York: Praeger, 2005, pp 24-27
  13. Thompson, pp. 177-178
  14. Thompson, p. 200
  15. UNHCR, State of the World's Refugees, 2000 p. 93
  16. Robinson, W. Courtland, Terms of Refuge London: Zed Books Ltd., 1998, p. 68
  17. 17.0 17.1 "The Land Bridge" Forced Migration เก็บถาวร 2010-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 21 Jan 2014
  18. Shawcross, William. The Quality of Mercy: Cambodia, Holocaust, and Modern Conscience. New York: Simon and Schuster, 1984.
  19. Thompson, pp. 215-216
  20. Robinson, p. 79
  21. UNHCR State of the World's Refugees, 2000, p. 95, เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2014
  22. Robinson, p. 89-98; Mason, L. and R. Brown, Rice, Rivalry, and Politics: Managing Cambodian Relief. 1983, Notre Dame [Ind.]: University of Notre Dame Press, p. 88
  23. Robinson, Appendix 2
  24. 24.0 24.1 24.2 "United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC), เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2014
  25. Grant M, Grant T, Fortune G, Horgan B. Bamboo & Barbed Wire: Eight Years as a Volunteer in a Refugee Camp. Mandurah, W.A.: DB Pub., 2000.