รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศบาห์เรน
หน้าตา
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศบาห์เรนทั้งสิ้น 3 แหล่ง [1]
สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
[แก้]- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ ha (acre) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ก็อลอะฮ์อัลบะห์ร็อยน์ ท่าจอดเรือโบราณและเมืองหลวงของดิลมูน | บาห์เรน 26°13′59″N 50°31′20″E / 26.23306°N 50.52222°E |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) (iv) |
32 (79); พื้นที่กันชน 1,238 (3,060) | 2548/2005 | พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ยุคสำริดเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว และเป็นอดีตเมืองหลวงอารยธรรมดิลมูน โดยมีตัวป้อมปราการที่ถูกสร้างบนเนินเขาเทียมซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อ 2,300 ปีก่อนคริสตกาล พื้นที่โดยรอบประกอบไปด้วยชุมชนโบราณ สุสาน กำแพงเมือง และท่าเทียบเรือที่มีการขุดค้นพบหลักฐานการติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่นๆ | [2] | |
การงมหอยมุกพยานหลักฐานของเศรษฐกิจเกาะ | บาห์เรน 26°14′29″N 50°36′49″E / 26.24139°N 50.61361°E |
วัฒนธรรม: (iii) |
35,087 (86,700); พื้นที่กันชน 95,876 (236,910) | 2555/2012 | บาห์เรนเป็นเกาะที่มีการทำอุตสาหกรรมการงมหอยมุกมาตั้งแต่ยุคอัสซีเรียหรือราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงทศวรรษ 1850 จนถึง ค.ศ.1930 ถือได้ว่าเป็นยุคทองของอุตสาหกรรมการงมหอยมุกในบาห์เรนที่มีการส่งออกไข่มุกไปต่างประเทศ ทำให้เกิดย่านเศรษฐกิจภายในตัวเมืองมูฮารัคซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยของเหล่านักงมหอยกับพ่อค้า และแหล่งค้าขายไข่มุก | [3] | |
หลุมฝังศพสมัยดิลมูน | บาห์เรน |
วัฒนธรรม: (iii) (iv) |
168.45; พื้นที่กันชน 383.46 | 2562/2019 | เป็นหลักฐานสำคัญที่สื่อถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงอารยธรรมดิลมูนเมื่อ 2,200-1,750 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีการค้นพบหลุมศพที่ทำเป็นเนินดินสูงบริเวณตอนบนของเกาะจำนวนกว่า 100,000 หลุมที่ภายในบรรจุศพและของใช้ต่างๆ สะท้อนถึงวัฒนธรรมพิธีกรรมงานศพของมนุษย์ยุคสำริดในคาบสมุทรอาหรับ | [4] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
[แก้]ประเทศบาห์เรนมีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 6 แห่ง [1]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Bahrain". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "Qal'at al-Bahrain – Ancient Harbour and Capital of Dilmun". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "Pearling, Testimony of an Island Economy". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
- ↑ "Dilmun Burial Mounds". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019.