พื้นที่อับฝน
พื้นที่อับฝน[1] พื้นที่เงาฝน หรือ พื้นที่หลังเขา (อังกฤษ: rain shadow) เป็นพื้นที่แห้งแล้งด้านปลายลมของภูเขา ปรากฎการณ์นี้เกิดจากการที่แนวเทือกเขาสูงทอดต��วขวางทางลม ทำให้บริเวณด้านหลังของเทือกเขามีสภาพแห้งแล้ง อันเป็นที่มาของชื่อ พื้นที่หลังเขา[ต้องการอ้างอิง] ลมและความชื้นที่ถูกพัดมาจะกลั่นตัวลงมาเป็นหยาดน้ำฟ้าบริเวณหน้าเขา เมื่อเดินทางมาถึงยอดเขา อากาศจะเหลือความชื้นไม่มาก ทำให้พื้นที่หลังเขามีลักษณะแล้งฝน
คำอธิบาย
[แก้]ลมพัดความชื้นมาจากมหาสมุทรเข้ามาในแผ่นดิน เมื่อลมและความชื้นนั้นเจอกับภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาขวางกั้นเอาไว้ ลมก็จะพัดความชื้นขึ้นไปตามความชันของพื้นที่หน้าเขา เมื่อมวลอากาศชื้นนี้ถูกพัดสูงขึ้นไปตามความชันก็จะเกิดการเย็นตัวลงจนก่อตัวกลายเป็นเมฆขึ้น เมื่อเมฆเหล่านั้นอิ่มตัวพอก็จะตกลงมาเป็นฝนตรงบริเวณพื้นที่หน้าเขา เมื่อความชื้นนั้นกลั่นตัวกลายเป็นฝนบริเวณหน้าเขาหมดแล้ว ลมก็จะพัดพาอากาศที่มีความชื้นน้อยนิดขึ้นไปตามยอดเขาต่อ เมื่อถึงยอดเขา มวลอากาศจะค่อย ๆ อุ่นตัวขึ้นไปตามความลาดเอียงที่ลดลงของพื้นที่หลังเขา ทำให้บริเวณนี้ไม่มีการเกิดเมฆและกลายเป็นพื้นที่ฝนตกน้อย[2][3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2563, หน้า 471.
- ↑ เขตเงาฝน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โครงการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการปฎิบัติการฝนหลวงในเขตเงาฝน (2560). ข้อมูลหน้า 3/15. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564
- ↑ Whiteman, C. David (2000). Mountain Meteorology: Fundamentals and Applications. Oxford University Press. ISBN 0-19-513271-8.
- ↑ พื้นที่อับฝน เก็บถาวร 2020-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นาย ธนพล เพียภูเขียว. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2564