พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707
พระราชบัญญัติ | |
ชื่อเต็ม | พระราชบัญญัติเพื่อความเป็นสหภาพระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษและสกอตแลนด์ |
---|---|
อ้างอิง | ค.ศ. 1706 บท 11 |
เขตอำนาจ | ราชอาณาจักรอังกฤษ (รวมถึงเวลส์) ซึ่งต่อมาคือราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และสหราชอาณาจักรตามลำดับ |
วาระ | |
เริ่มใช้เมื่อ | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 |
สถานะ: ยังใช้บังคับ | |
เนื้อความที่ปรับปรุงตามการแก้ไขเพิ่มเติม |
พระราชบัญญัติ | |
ชื่อเต็ม | พระราชบัญญัติเพื่อมีสัตยาบันและรับรองสนธิสัญญาสหภาพระหว่างสองราชอาณาจักรสกอตแลนด์และอังกฤษ |
---|---|
อ้างอิง | ค.ศ. 1707 บท 7 |
เขตอำนาจ | ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ซึ่งต่อมาคือราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ และสหราชอาณาจักรตามลำดับ |
วาระ | |
เริ่มใช้เมื่อ | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 |
สถานะ: ยังใช้บังคับ | |
เนื้อความที่ปรับปรุงตามการแก้ไขเพิ่มเติม |
พระราชบัญญัติสหภาพ (อังกฤษ: Acts of Union, แกลิกสกอต: Achd an Aonaidh) เป็นพระราชบัญญัติสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสหภาพกับสกอตแลนด์ (Union with Scotland Act 1706) ที่ผ่านในปี ค.ศ. 1706 โดยรัฐสภาอังกฤษ และพระราชบัญญัติสหภาพกับอังกฤษ (Union with England Act 1707) ที่ผ่านในปี ค.ศ. 1707 โดยรัฐสภาสกอตแลนด์ เพื่อให้ “สนธิสัญญาสหภาพ” อันเป็นผลมาจากการเจรจาระหว่างสองราชอาณาจักรเป็นไปตามกฎหมายของทั้งสองอาณาจักร พระราชบัญญัตินี้ได้รวมราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ซึ่งแต่เดิมเป็นสองอาณาจักรที่ใช้กฎหมายต่างกันแต่มีประมุขร่วมกัน โดยความในสนธิสัญญาสหภาพระบุว่า "เพื่อรวมกันเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียวซึ่งใช้ชื่อว่าราชอาณาจักรบริเตนใหญ่"[2]
ก่อนจะออกพระราชบัญญัตินี้สองประเทศมีประมุขร่วมกันมาประมาณหนึ่งร้อยปี (ตั้งแต่การรวมราชบัลลังก์ ในปี ค.ศ. 1603 เมื่อ พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ได้รับราชบัลลังก์อังกฤษต่อจากพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ) แม้ว่าจะใช้คำว่า “การรวมราชบัลลังก์”[3] ก็ตามแต่ตามความเป็นจริงแล้วสองราชอาณาจักรนี้ยังแยกกันเป็นสองราชบัลลังก์ เพียงแต่มีองค์ประมุขร่วมกันเท่านั้น ก่อนหน้าที่จะมีพระราชบัญญัติสหภาพก็มีการพยายามที่จะรวมอาณาจักรทั้งสองนี้หลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1606, ค.ศ. 1667 และ ค.ศ. 1689 โดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาแต่ก็ไม่สำเร็จมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อรัฐสภาของทั้งสองราชอาณาจักรจึงมีความเห็นที่สอดคล้องกันในการสร้างสหภาพถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลที่ต่างกันก็ตาม
พระราชบัญญัติมีผลเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 ในวันนั้นรัฐสภาสกอตแลนด์และรัฐสภาอังกฤษก็ถูกยุบและมารวมกันเป็นรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่โดยมีที่ทำการที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ใน กรุงลอนดอนซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของรัฐสภาอังกฤษ[4] โดยรัฐสภาสกอตแลนด์และรัฐสภาอังกฤษจึงหมดหน้าที่ลงโดยปริยาย ฉะนั้นบางครั้งพระราชบัญญัติสหภาพจะเรียกว่า สหภาพรัฐสภา (อังกฤษ: Union of the Parliaments)
ในการเปลื่ยนแปลงครั้งนี้ก็มีผู้ที่พยายามจะเปลื่ยนชื่อสกอตแลนด์ และ อังกฤษ เป็นบริเตนเหนือและบริเตนใต้ แต่ก็ไม่ได้เป็นความพยายามที่เป็นจริงเป็นจังอะไร โดยเฉพาะบริเตนใต้ แม้ว่า บริเตนเหนือจะใช้กันอยู่บ้างแต่ก็น้อย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The citation of this Act by this short title was authorised by section 1 of, and Schedule 1 to, the Short Titles Act 1896. Due to the repeal of those provisions, it is now authorised by section 19(2) of the Interpretation Act 1978.
- ↑ หมวดที่ 1 แห่งสนธิสัญญาสหภาพ
- ↑ "House of Commons Journal Volume 1: 31 March 1607". สืบค้นเมื่อ 27 October 2020.
- ↑ Act of Union 1707, Article 3
- Defoe, Daniel. A tour thro' the Whole Island of Great Britain, 1724–27
- Defoe, Daniel. The Letters of Daniel Defoe, GH Healey editor. Oxford: 1955.
- Fletcher, Andrew (Saltoun). An Account of a Conversation
- Herman, Arthur. How the Scots Invented the Modern World. Three Rivers Press, 2001. ISBN 0-609-80999-7
- Lockhart, George, "The Lockhart Papers", 1702 - 1728
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พระราชบัญญัติสหภาพ พ.ศ. 2250 เก็บถาวร 2007-08-31 ที่ UK Web Archive รัฐสภาสหราชอาณาจักร
- สนธิสัญญาสหภาพ เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รัฐสภาสกอตแลนด์