แควาเลียร์
แควาเลียร์ (อังกฤษ: Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (อังกฤษ: Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร์[1]
ช่วงต้น
[แก้]แควาเลียร์มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า เชอวาลีเย (Chevalier; อัศวิน) ในภาษาฝรั่งเศส และคำว่า กาบาเยโร (Caballero; สุภาพบุรุษ) ในภาษาสเปน โดยในภาษาละตินพื้นบ้านซึ่งเป็นรากศัพท์คำว่า กาบัลลารีอุส (Caballarius) แปลว่าทหารม้า ส่วนเชกสเปียร์ใช้คำว่า แควาเลอรอส (Cavaleros) เพื่อใช้อธิบายอันธพาลเอาแต่ใจหรือชายเจ้าชู้ผู้ผยองตนในบทละคร พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ตอนที่สอง โดยกล่าวเพียงผิวเผินว่า "ข้าจะดื่มแด่บาร์ดอล์ฟผู้เป็นนายของข้า และแด่เหล่าแควาเลอรอสทุกคนในลอนดอน"[2]
สงครามกลางเมืองอังกฤษ
[แก้]แควาเลียร์ เป็นคำอธิบายเกี่ยวข้องกับฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐสภาอังกฤษช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ ในตอนแรกปรากฏเป็นคำศัพท์เชิงตำหนิและดูถูกที่ใช้เรียกผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1642:
ค.ศ. 1642 (10 มิถุนายน) ประพจน์ของฝ่ายรัฐสภา ในแคลเรนดัน วี. (1702) ไอ. 504 กลุ่มผู้มุ่งร้ายหลากหลายประเภทผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์; บางส่วนใช้ชื่อแควาเลียร์กระทำการอันไม่เคารพกฎหมายของแผ่นดินหรือไม่เกรงกลัวทั้งพระเจ้าและมนุษย์ด้วยกันเอง พร้อมที่จะกระทำการชั่วร้ายและรุนแรงในทุกรูปแบบ, ค.ศ. 1642 (17 มิถุนายน) คณะกรรมาธิการและขุนนางฎีกา ในรุส์ชว์ ชุดที่สาม (1721) ไอ. 631 ที่ซึ่งสมเด็จ..จะโปรดให้ยกเลิกองค์รักษ์วิสามัญของคุณ แควาเลียร์และผู้อื่นในลักษณะเช่นนั้น ผู้ซึ่งมีความสนใจและเสน่หาอันน้อยนิดในประโยชน์ทางสาธารณะ คำพูดและอัชฌาสัยมีเพียงแต่การแบ่งแยกและสงคราม
— พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด: "แควาเลียร์"[2]
พระราชดำรัสของพระเจ้าชาลส์ต่อคณะกรรมธิการฎีกาในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1642 กล่าวถึงแควาเลียร์ว่า "คำศัพท์ถึงความผิดพลาดใดที่ดูเหมือนจะได้รับความไม่พอใจอย่างมาก"[3] ต่อมาคำว่าแควาเลียร์ก็ถูกใช้ในอีกความหมายหนึ่ง (เป็นชื่อของเกียรติยศ) โดยพรรคของพระมหากษัตริย์ ผู้ซึ่งในทางกลับกันได้เรียกฝ่ายรัฐสภาว่าเป็นคู่อริ และในช่วงการฟื้นฟูราชวงศ์ พรรคของราชสำนักยังคงรักษาชื่อนี้เอาไว้จนอยู่รอดต่อมาถึงการเรียกใช้คำใหม่ว่า "ทอรี"[3]
ในอดีตแควาเลียร์ไม่ได้ถูกเข้าใจในความหมายปัจจุบันซึ่งใช้อธิบายถึงลักษณะการแต่งกาย แต่เป็นคำที่ใช้อธิบายทัศนคติด้านสังคมและการเมือง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันคำว่าแควาเลียร์กลายมาเป็นคำที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับลักษณะการแต่งกายในราชสำนักซึ่งไว้ผมยาวสลวยเป็นลอน, สีสันสดใส และถูกตัดอย่างบรรจง รวมไปถึงการใส่ปลอกคอลูกไม้และกำไลข้อมือ และหมวกประดับขนนก[4] ซึ่งแตกต่างจากการแต่งตัวของฝ่ายรัฐสภาสุดโต่งที่สนับสนุนรัฐสภาอังกฤษ โดยจะแต่งตัวด้วยชุดที่เรียบง่ายกว่าและไว้ผมสั้น ซึ่งภาพพจน์ของทั้งสองฝ่ายต่างถูกเหมารวมอย่างสอดคล้องกันทั้งหมด นายพลส่วนมากของฝ่ายรัฐสภาสวมใส่หมวกซึ่งมีความยาวเช่นเดียวกับฝ่ายกษัตริย์นิยม แต่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เป็นกรณียกเว้น และในความเป็นจริงแล้วผู้วาดสภาพเสมือนของขุนนางที่ดีที่สุดและเป็นผู้แสดงภาพพจน์ของฝ่ายแควาเลียร์ได้ดีที่สุดอย่าง อันโตนี ฟัน ไดก์ จิตรกรในราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กลับเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐสภาในสงครามกลางเมือง ส่วนภาพที่แสดงถึงแควาเลียร์อันโด่งดังที่สุดน่าจะเป็น แควาเลียร์ผู้หัวเราะ โดยฟรันส์ ฮัลส์ ซึ่งแสดงถึงสุภาพบุรุษจากเมืองฮาร์เลมของฝ่ายแควาเลียร์จัดในดัตช์ในปี ค.ศ. 1642 ภาพพจน์ของแควาเลียร์ในทางเสื่อมเสีย (ในช่วงเวลาที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย) ยังแสดงให้เห็นว่าฝ่ายรัฐสภามองฝ่ายกษัตริย์นิยมว่าเป็นกลุ่มคนเอาแต่ใจที่ให้ความสำคัญกับความฟุ้งเฟ้อมากกว่าประเทศชาติส่วนรวม
อนุศาสนาจารย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 อธิบายแควาเลียร์ว่า "เยาวชนแห่งเกียรติยศ สุภาพบุรุษจากตระกูลผู้ดี ผู้ซึ่งรักกษัตริย์ของเขาเพราะความรู้สึกผิด ด้วยใบหน้าอันแจ่มชัดและดูโดดเด่นกว่าใคร และด้วยหัวใจอันจงรักภักดีกว่าใคร"[5] ซึ่งมีชายหลายคนในกองทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ผู้สอดคล้องกับคำอธิบายข้างต้น ที่ซึ่งนายทหารภาคสนามมีอายุอยู่ในช่วงต้นของวัยสามสิบ, แต่งงานแล้ว และมีที่ดินในชนบทที่ต้องกลับไปจัดการ แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีทัศคติเดียวกันในการเทิดทูนพระเจ้าในฐานะอิสรภาพของอังกฤษแห่งกองทัพตัวแบบใหม่ แต่พระเจ้าก็มักจะเป็นศูนย์รวมใจในชีวิตของพวกเขา แควาเลียร์ลักษณะเช่นนี้ถูกอุปมาโดยเจคอบ แอสต์ลีย์ บารอนแอสต์ลีย์ที่ 1 แห่งเรดิง ผู้ซึ่งกล่าวคำภาวนาอันโด่งดังช่วงก่อนยุทธการที่เอดจ์ฮิลล์ว่า "โอ พระเจ้า, ท่านรู้ดอกไม่ว่าวันนี้ตัวข้าจะยุ่งสักเพียงไร หากข้าพเจ้าลืมท่าน โปรดอย่าลืมข้าพเจ้า"[6] ในการสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมืองครั้งที่ 1 แอสต์ลีย์ให้สัตยาบันว่าจะไม่จับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐสภาอีกครั้ง และให้คำมั่นว่าเขารู้สึกถึงหน้าที่ซึ่งห้ามเขาไม่ให้ช่วยเหลือฝ่ายกษัตริย์นิยมในการก่อสงครามการเมืองครั้งที่สอง
อย่างไรก็ตามสัตยาบันดังกล่าวกลับถูกประกาศโดยฝ่ายรัฐสภาว่าเป็นภาพพจน์ชวนเชื่อและดูหมิ่นของความมักมากในกาม, ชายเสเพลผู้ดื่มสุราจัดและไม่ค่อยนึกถึงพระเจ้า ซึ่งเป็นภาพพจน์นี้เองที่ยังคงอยู่รอดมาและตรงกับลักษณะของฝ่ายกษัตริย์นิยมหลายคน เช่น เฮนรี วิลมอต์ เอิร์ลแห่งรอเชสเตอร์ที่ 1[7] และ ลอร์ดกอริง ผู้ซึ่งเป็นนายพลในกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยม[8] เอ็ดเวิร์ด ไฮด์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแคลเรนดัน ที่ปรึกษาคนสำคัญของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 กล่าวไว้ว่าเขา "จะล้มเลิกความไว้วางใจใด ๆ โดยปราศจากความลังเล และผ่านร่างพระราชบัญญัติการคลังใดก็ตามเพื่อบรรเทาความกระหายและตอบสนองความประสงค์ทั่วไป; และในความเป็นจริงมิได้ประสงค์สิ่งใดเลยนอกจากความมานะอุตสาหะ (ให้เขามีปัญญา, ความกล้าหาญ, ความเข้าใจ และความทะเยอทะยาน ที่ไม่ถูกควบคุมโดยความกลัวจากพระเจ้าหรือมนุษย์ด้วยกันเอง) เพื่อให้เขามีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จสูงสุดในความชั่วร้ายในฐานะใครก็ตามไม่ว่าจะในยุคที่เขามีชีวิตอยู่หรือยุคก่อนหน้าก็ตาม คุณสมบัติอำพรางทั้งหมดถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของเขา; ที่ซึ่งเขาเชี่ยวชาญอย่างมาก มากเสียจนผู้คนไม่ได้ละอายใจหรือเสียหน้าด้วยการถูกหลอกอย่างปกติ แต่รู้สึกดังกล่าวซ้ำสองจากตัวเขา[9] ความรู้สึกนี้ถูกพัฒนาขึ้นในการใช้คำว่าแควาเลียร์ของภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งใช้อธิบายทัศนคติที่หละหลวมและไม่ใยดี
แควาเลียร์ยังถูกใช้อธิบายถึงสมาชิกของพรรคการเมืองที่สนับสนุนระบอบกษัตริย์ จนกระทั่งวิกฤตการณ์ร่างพระราชบัญญัติการยกเว้นผู้สืบราชบัลลังก์ ค.ศ. 1678 – ค.ศ. 1681 ที่คำดังกล่าวถูกแทนที่ด้วยคำว่า "ทอรี" ซึ่งเป็นอีกคำหนึ่งที่ถูกใช้เชิงดูถูกเหยียดหยามในตอนแรก และในช่วงเวลาดังกล่าวคำที่ใช้เรียกฝ่ายรัฐสภาว่า กลุ่มหัวเกรียน ก็ถูกแทนที่ด้วยคำว่า "วิก" ซึ่งก็ถูกใช้ในเชิงดูถูกเหยียดหยามในตอนแรกเช่นกัน[10]
ในศิลปกรรม
[แก้]ตัวอย่างของภาพวาดแนวแควาเลียร์สามารถพบเห็นได้ใน สามพระพักตร์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ โดย อันโตนี ฟัน ไดก์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ , Manganiello, p. 476
- ↑ 2.0 2.1 OED. "Cavalier"
- ↑ 3.0 3.1 Encyclopaedia Britannica Eleventh Edition Article: CAVALIER
- ↑ OED "Cavalier", Meaning 4. attrib., First quotation "1666 EVELYN Dairy 13 Sept., The Queene was now in her cavalier riding habite, hat and feather, and horseman's coate."
- ↑ Carlton p. 52
- ↑ Hume p. 216 See footnote r. cites Warwick 229.
- ↑ Barratt, 177
- ↑ Memegalos, inside front cover
- ↑ Encyclopaedia Britannica Eleventh Edition Article: GEORGE GORING GORING
- ↑ Worden 2009, p. 4.
อ้างอิง
[แก้]- Barratt, John. Cavalier Generals: King Charles I and His Commanders in the English Civil War, 1642-46, Pen & Sword Military, 2005
- Carlton, Charles. Going to the Wars: The Experience of the British Civil Wars, 1638–1651, Routledge, 1994 ISBN 0-415-10391-6.
- Hume David. The History of England from the Invasion of Julius Caesar to the Revolution 1688 (Volume V).T. Cadell, 1841
- Manganiello Stephen C. The Concise Encyclopedia of the Revolutions and Wars of England, Scotland, and Ireland, 1639–1660, Scarecrow Press, 2004, ISBN 0-8108-5100-8
- Memegalos, Florene S. George Goring (1608–1657): Caroline Courtier and Royalist General, Ashgate Publishing, Ltd., 2007 ISBN 0-7546-5299-8
- Oxford English Dictionary Second Edition 1989 (OED).
- Worden, Blair (2009). The English Civil Wars 1640-1660. London: Penguin Books. ISBN 0-14-100694-3.
- อ้างอิงถึง
- บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Anonymous (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 5 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.