ข้ามไปเนื้อหา

ดิพโพลโดคัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิพโพลโดคัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูแรสสิกตอนปลาย, 154–152Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Sauropodomorpha
อันดับฐาน: Sauropoda
วงศ์: Diplodocidae
สกุล: Diplodocus
Marsh, 1878
ชนิดต้นแบบ
Diplodocus longus
(nomen dubium)
Marsh, 1878
สายพันธุ์อื่น ๆ
  • D. carnegii
    Hatcher, 1901
  • D. hallorum
    (Gillette, 1991)
    (แต่เดิม Seismosaurus)
ชื่อพ้อง
  • Seismosaurus Gillette, 1991

ดิพโพลโดคัส (ชื่อวิทยาศาสตร์: Diplodocus (/dɪˈplɒdəkəs/,[1][2] /dˈplɒdəkəs/,[2] หรือ /ˌdɪplˈdkəs/[1])) หรือ คานคู่[1][3] เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวจากปลายจมูกถึงปลายหางประมาณ 25-27 เมตร (David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร[ต้องการอ้างอิง]) และมีนำหนักเพียง 17-25 ตัน อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 154 - 152 ล้านปีก่อนในหมวดหิน Morrison Formation ดิพโพลโดคัสเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ซอโรพอดที่พบมากที่สุดในหมวดหินนี้ โดยพบร่วมกับอะแพทโทซอรัส อัลโลซอรัส แบรคคีโอซอรัส บรอนโทซอรัส และคามาราซอรัส[4]

บทบรรยาย

[แก้]

ดิพโพลโดคัสมีลำคอและหางที่ยาวมากถ่วงน้ำหนักกัน ที่ปลายหางมีก้อนกระดูกจำนวนมากที่หลอมรวมกัน สันนิษฐานว่าใช้เป็นอาวุธคล้ายแส้ ที่สามารถฟาดด้วยความเร็วกว่าเสียง และก่อปรากฏการณ์ Sonic boom ได้ (Nathan Myhrvold,1997) และเนื่องจากมีหางและคอที่ยาวมาก มันจำเป็นต้องวางลำคอและหางขนานไปกับพื้นโลก และน้ำหนักของมันจะถูกถ่ายลงบนขาทั้งสี่ที่ตั้งตรงคล้ายกับแท่งเสา กะโหลกของมันเล็กมากเมื่อเทียบกับลำตัว และภายในกะโหลกยังมีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสออยู่บริเวณด้านหน้าของกรามที่มีทรงคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่สามารถเล็มพืชราบพื้นดินได้เป็นอย่างดี

พฤติกรรม

[แก้]

เนื่องจากมีฟันคล้ายแท่งดินสอจำนวนมากและไม่มีฟันกรามอยู่เลย นักบรรพชีวินวิทยาจึงสันนิษฐานว่าดิพโพลโดคัสอาจมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เคี้ยวอาหาร มันจะใช้ฟันด้านหน้าฉีกพืชเช่นใบสนและเฟิร์นและกลืนพืชลงไปโดยไม่เคี้ยว เพราะพืชที่ถูกกลืนเข้าไปจะถูกบดโดยหิน Gastroliths ที่มันได้กลืนลงไปในกระเพาะก่อนหน้านี้ นอกจากนี้จากการคำนวณด้วยวิธีการทางฟิสิกส์ยังพบว่าจุด centre gravity ของดิพโพลโดคัสยังอยู่บริเวณเหนือขาหลัง ทำให้ดิพโพลโดคัสสามารถยกตัวยืนด้วยสองขาหลังได้

ดิพโพลโดคัสในสื่อต่างๆ

[แก้]

เนื่องจากดิพโพลโดคัสค่อนข้างโด่งดัง มันจึงได้ปรากฏตัวในสื่อต่างๆมากมายเช่นในสารคดีจาก BBC ชุด Walking with dinosaurs ดิพโพลโดคัสได้ปรากฏตัวในตอน Time of titans และนอกจากนี้มันยังได้ปรากฏตัวในวีดิโอเกมเกี่ยวกับ Jurassic Park และเป็นห���่นจำลองใน Jurassic World: Fallen Kingdom ด้วยเช่นกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Simpson, John; Edmund Weiner, บ.ก. (1989). The Oxford English Dictionary (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-861186-8.
  2. 2.0 2.1 Pickett, Joseph P., บ.ก. (2000). The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). Boston: Houghton Mifflin Company. ISBN 978-0-395-82517-4.
  3. "diplodocus". Online Etymology Dictionary.
  4. Turner, C.E.; Peterson, F. (2004). "Reconstruction of the Upper Jurassic Morrison Formation extinct ecosystem—a synthesis". Sedimentary Geology. 167 (3–4): 309–355. Bibcode:2004SedG..167..309T. doi:10.1016/j.sedgeo.2004.01.009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]