พ.ศ. 2529
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1986)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2529 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1986 MCMLXXXVI |
Ab urbe condita | 2739 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1435 ԹՎ ՌՆԼԵ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6736 |
ปฏิทินบาไฮ | 142–143 |
ปฏิทินเบงกอล | 1393 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2936 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 34 Eliz. 2 – 35 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2530 |
ปฏิทินพม่า | 1348 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7494–7495 |
ปฏิทินจีน | 乙丑年 (ฉลูธาตุไม้) 4682 หรือ 4622 — ถึง — 丙寅年 (ขาลธาตุไฟ) 4683 หรือ 4623 |
ปฏิทินคอปติก | 1702–1703 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3152 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1978–1979 |
ปฏิทินฮีบรู | 5746–5747 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2042–2043 |
- ศกสมวัต | 1908–1909 |
- กลียุค | 5087–5088 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11986 |
ปฏิทินอิกโบ | 986–987 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1364–1365 |
ปฏิทินอิสลาม | 1406–1407 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 61 (昭和61年) |
ปฏิทินจูเช | 75 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4319 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 75 民國75年 |
เวลายูนิกซ์ | 504921600–536457599 |
พุทธศักราช 2529 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1986 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีขาล อัฐศก จุลศักราช 1348 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
เหตุการณ์
[แก้]- 24 มกราคม – ยานวอยเอเจอร์ 2 เข้าใกล้ดาวยูเรนัส
- 28 มกราคม – กระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ระเบิดหลังขึ้นจากฐานส่งยาน 73 วินาที นักบินอวกาศ 7 คน บนกระสวยอวกาศ เสียชีวิตทั้งหมด
- 19 กุมภาพันธ์ –
- สหภาพโซเวียตส่งสถานีอวกาศมีร์ขึ้นสู่อวกาศ เป็นสถานีวิจัยระยะยาวในอวกาศแห่งแรกของโลก
- สถาปนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (โดยการแยกตัวกันของ วิทยาเขตธนบุรี, วิทยาเขตพระนครเหนือ และ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
- 25 กุมภาพันธ์
- คอราซอน อากีโน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหญิงคนแรกของฟิลิปปินส์ เมื่อฝูงชนเคลื่อนไหวกดดันให้เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจากอยู่ในอำนาจนาน 20 ปี
- ธงไชย แมคอินไตย์ ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด หาดทราย สายลม สองเรา ภายใต้สังกัด แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์
- 28 กุมภาพันธ์ – อูลอฟ พาลมา นายกรัฐมนตรีสวีเดน ถูกลอบสังหารในกรุงสต็อกโฮล์ม
- 21 มีนาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติอียิปต์ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติแอฟริกา ครั้งที่ 15 ณ ประเทศอียิปต์
- 26 มีนาคม – การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินขบวนพิเศษรถจักรไอน้ำวิ่งบริการในวันสถาปนากิจการรถไฟแห่งประเทศไทย และวันสำคัญต่าง ๆ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
- 3 เมษายน – ไอบีเอ็มเผยแผนการผลิต PC Convertible คอมพิวเตอร์วางตักรุ่นแรก
- 10 เมษายน – เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ สาขาสะพานควาย นานกว่า 10 ชั่วโมง ทำให้ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก และกทม. ประกาศเป็นพื้นที่อันตราย
- 14 เมษายน – สหรัฐทิ้งระเบิดลิเบีย เพื่อตอบโต้การสนับสนุนการก่อการร้ายต่อพลเมืองสหรัฐ
- 25 เมษายน – เจ้าฟ้าชายอึมสวาติ มกุฎราชกุมารแห่งสวาซิแลนด์ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ ทรงปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระราชาธิบดีอึมสวาตีที่ 3 แห่งสวาซิแลนด์
- 26 เมษายน – อุบัติภัยเชอร์โนบิล: เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน เกิดระเบิด ทำให้มีเพลิงไหม้และการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสี
- 26 พฤษภาคม – ประชาคมยุโรป เริ่มใช้ธงยุโรป
- 23 มิถุนายน – ผู้ชุมนุมประท้วงโรงงานถลุงแทนทาลัมที่จังหวัดภูเก็ต ก่อเหตุเผาโรงงาน และโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน
- 27 มิถุนายน – ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาคัดค้านสหรัฐใน คดีนิการากัวกับสหรัฐ
- 29 มิถุนายน – ทีมฟุตบอลของประเทศอาร์เจนตินาชนะเลิศฟุตบอลโลก
- 8 กรกฎาคม – องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้นำบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาให้บริการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
- 23 กรกฎาคม – เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก เสกสมรสกับ ซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก และมีพระอิสริยยศคือ เฮอร์รอยัลไฮเนส ซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก
- 27 กรกฎาคม – เลือกตั้ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
- 2 สิงหาคม – ภาพยนตร์เรื่อง เกิดมาลุย เข้าฉายครั้งแรก ในเครือเอเพ็กซ์ เป็นการแจ้งเกิด พันนา ฤทธิไกร และกลุ่มสตั้นท์แมนของเขา
- 21 สิงหาคม – เกิดแก๊สพิษจากทะเลสาบนีโอส ปล่องภูเขาไฟในประเทศแคเมอรูน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,700 คน
- 31 สิงหาคม – แอดมิรอลนาคิมอฟ เรือเดินสมุทรโซเวียตอับปางลงในทะเลดำ หลังชนกับเรือสินค้า 7 นาที ผู้โดยสารเสียชีวิต 398 คน
- 14 กันยายน – ชาวเกาหลีเหนือลอบวางระเบิดท่าอากาศยานคิมโปในโซล มีผู้เสียชีวิต 5 คน
- 3 ตุลาคม – วันก่อตั้งแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติโบโดแลนด์
- 8 พฤศจิกายน เหตุการณ์หัวรถจักรพุ่งชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529
- 25 พฤศจิกายน – สะพานคิงฟาฮัด ที่เชื่อมระหว่างประเทศซาอุดีอาระเบียกับประเทศบาห์เรน เปิดใช้อย่างเป็นทางการ
- 29 พฤศจิกายน – ชาวเกาหลีเหนือลอบวางระเบิดเที่ยวบิน 858 สายการบินเกาหลีใต้โดยเครื่องบินได้ระเบิดเหนือมหาสมุทรอินเดียในเวลาต่อมา
- 1 ธันวาคม – อำพล ลำพูนเริ่มเป็นเป็นนักร้องนำวงไมโครในชุดแรกที่ชื่อว่า ร็อก เล็ก เล็ก
ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
[แก้]- 9 กุมภาพันธ์ – ดาวหางฮัลเลย์ เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบ 75 ปี และในปีพ.ศ. 2604 ดาวหางฮัลเลย์ จะกลับมาโคจรใกล้ดวงอาทิต์อีกครั้ง
- 9 เมษายน – สุริยุปราคาบางส่วน (ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย บางส่วนของนิวซีแลนด์ และบางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกา)
- 24 เมษายน – จันทรุปราคาเต็มดวง มองเห็นได้ในประเทศไทย
- 3 ตุลาคม – สุริยุปราคาผสม (ตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกใกล้กรีนแลนด์ ทวีปอเมริกาเหนือ ตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติก)
- 17 ตุลาคม – จันทรุปราคาเต็มดวง มองเห็นได้ในประเทศไทย
วันเกิด
[แก้]- ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2529
- 8 มกราคม - มาเรีย โอะซะวะ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 20 มกราคม - จั๋ว เหวิน ซวน นักร้อง/นักแสดงชาวไต้หวัน
- 4 กุมภาพันธ์ - แจจุง (HERO TVXQ,JYJ) นักร้องกลุ่มชายของเกาหลี
- 15 กุมภาพันธ์ - ดราภดา โสตถิพิทักษ์ (กีฟ) กีฟนักแสดง/นางแบบชาวไทย
- 23 กุมภาพันธ์ - อาจารียา พรหมพฤกษ์ (หลิว) นักร้องลูกทุ่งหญิง/นักแสดงชาวไทย
- 27 มีนาคม - มานูเอล นอยเออร์ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 28 มีนาคม - เลดี้ กาก้า นักร้องชาวอเมริกัน
- 30 มีนาคม - เซร์คีโอ ราโมส นักฟุตบอลชาวสเปน
- 7 เมษายน - กาญจน์ ตั้งปอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดตรัง
- 26 เมษายน - เจ้าชายฟิลิปปอสแห่งกรีซและเดนมาร์ก
- 27 เมษายน - ฐิตินันท์ สุวรรณถาวร นักแสดง/นางแบบชาวไทย
- 7 พฤษภาคม - พัฒนศักดิ์ พงษ์พันธุ์ นักร้องชาย/นักแสดงชาวไทย
- 9 พฤษภาคม - มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ (บี) นักแสดงชาวไทย
- 11 พฤษภาคม - อาบู ดิยาบี นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 12 พฤษภาคม - นภัสกรณ์ เสรีโรจนสิริ ผู้ประกาศข่าวช่อง 7 HD
- 13 พฤษภาคม - โรเบิร์ต แพตตินสัน นักแสดงชายชาวอังกฤษ
- 31 พฤษภาคม - แอน มิตรชัย นักร้อง นักแสดงหญิง นางแบบชาวไทย
- 3 มิถุนายน - ราฟาเอล นาดาล นักเทนนิสชาวสเปน
- 6 มิถุนายน - ซิกปวน โซฟี หลุยส์ โยฮันส์สัน
- 13 มิถุนายน - อรอุมา สิทธิรักษ์ (ออน) นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
- 16 มิถุนายน - แพร เอมเมอรี่ (แพร) นักแสดงหญิงชาวไทย
- 18 มิถุนายน - ไซมอน โบวส์-ลีออน เอิร์ลที่ 19 แห่งสตราธมอร์และคิงฮอร์น
- 19 มิถุนายน - สาวิกา ไชยเดช (พิงกี้) นักแสดงชาวไทย
- 20 มิถุนายน
- อนุสรา วันทองทักษ์ (เปรี้ยว เอเอฟ 2) นักร้องหญิงชาวไทย
- ช่อฟ้า เกตุเรืองโรจน์ ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- 29 มิถุนายน - อายะ มัตสึอูระ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 3 กรกฎาคม - พุฒิชัย เกษตรสิน (พุฒ) นักแสดง ดีเจ นายแบบ วีเจ และพิธีกรชาวไทย
- 16 กรกฎาคม - ดิษยา กรกชมาศ นักร้องชาวไทย นักแสดง นางแบบ บรรณาธิการนิตยสาร
- 30 กรกฎาคม - อิกาเตรินา เจ้าหญิงรัชทายาทแห่งฮันโนเฟอร์
- 31 กรกฎาคม - ศุภณัฐ เฉลิมชัยเจริญกิจ (อ๊อฟ เอเอฟ 2) นักร้อง/นักแสดงชาวไทย
- 2 สิงหาคม - กรวิทย์ นามวิเศษ นักฟุตบอลชาวไทย
- 9 สิงหาคม - ปรมะ อิ่มอโนทัย (ปั้นจั่น) นักแสดง/นักร้อง/นายแบบ/พิธีกรชาวไทย
- 21 สิงหาคม - แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 31
- 29 สิงหาคม - ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่ The Star) นักแสดง/นักร้องชาวไทย
- 1 กันยายน - ธนิดา ธรรมวิมล (ดา เอ็นโดรฟิน) นักร้องชาวไทย
- 13 กันยายน
- หยาง มี่ นักแสดงชาวจีน
- เอ็มมี รอสซัม นักแสดงชาวอเมริกัน
- 14 กันยายน - ไอ ทากาฮาชิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 2 ตุลาคม
- เบญจวรรณ อาร์ดเนอร์ (โบว์) นักแสดงหญิงชาวไทย
- ศรุต สุวรรณภักดี (บิ๊ก) นักแสดงชายชาวไทย
- 16 ตุลาคม - พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ นักแสดง/พิธีกรชาวไทย
- 25 ตุลาคม - ศกลรัตน์ วรอุไร (โฟร์ วงโฟร์-มด) นักร้องศิลปินชาวไทย
- 1 พฤศจิกายน - เพนน์ แบดจ์ลีย์ นักแสดงชาวอเมริกันวัน
- 5 พฤศจิกายน
- คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ (รถเมล์) นักแสดงและพิธีกรชาวไทย
- โบอา นักร้องชาวเกาหลีใต้
- แคสเปอร์ สไมเกิล ผู้รักษาประตูฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 11 พฤศจิกายน - ซอ จียอน นักร้อง นักแสดง นางแบบชาวเกาหลีใต้
- 17 พฤศจิกายน - นานี นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
- 22 พฤศจิกายน
- นกน้อย สิทธิประเสริฐ แชมป์โลกมวยสากลเยาวชน
- หยาดทิพย์ ราชปาล (หยาด) นักแสดงหญิงชาวไทย
- 2 ธันวาคม - ซาร่า โฮเลอร์ (ซาร่า) นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- 8 ธันวาคม
- ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ (หยก) นักแสดงหญิงชาวไทย
- อาเมียร์ ข่าน นักมวยสากลชาวอังกฤษ
- 15 ธันวาคม
- ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์ (ฟรอยด์) นักแสดงชาวไทย
- คิม จุนซู นักร้องวงทงบังชินกี
- เกย์ลอร์ นาบัส นักฟุตบอลชาวคอสตาริกา
- 16 ธันวาคม - รุ่งโรจน์ ไทยนิยม นักกีฬาเทเบิลเทนนิสพาราลิมปิกชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2529
- 28 มกราคม – ลูกเรือกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
- ฟรานซิส อาร์. สโกบี (เกิด พ.ศ. 2482)
- ไมเคิล เจ. สมิธ (เกิด พ.ศ. 2488)
- จูดิธ เรสนิค (เกิด 5 เมษายน พ.ศ. 2492)
- เอลลิสัน โอนิซูกะ (เกิด พ.ศ. 2489)
- โรนัลด์ แม็คแนร์ (เกิด พ.ศ. 2493)
- เกร็ก จาร์วิส (เกิด พ.ศ. 2487)
- คริสตา แม็คคอลิฟฟ์ (เกิด พ.ศ. 2491)
- 9 พฤษภาคม – เทนซิง นอร์เกย์ หนึ่งในผู้พิชิตยอดเขาเอเวอร์เรสต์เป็นกลุ่มแรก (เกิด 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2457)
- 13 ตุลาคม – สมยศ ทัศนพันธ์ นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวไทย (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2462)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]การ์ตูน
[แก้]- เดธโน้ต : ตัวละครยางามิ ไลท์ เกิดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของปีนี้
ละครโทรทัศน์
[แก้]- สเตรนเจอร์ ธิงส์ : ฤดูกาลที่ 4 ดำเนินเรื่องในช่วงเดือนมีนาคมของปีนี้