ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติเซาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติเซาร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น และ ช่วงก่อนสงครามโซเวียตในอัฟกา���ิสถาน

ด้านนอกทำเนียบประธานาธิบดี "แอร์ก" ในกรุงคาบูล หลังการปฏิวัติ
วันที่27–28 เมษายน ค.ศ. 1978
สถานที่
ผล
คู่สงคราม

สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน

  • ทหารรักษาทำเนียบประธานาธิบดี
อัฟกานิสถาน สาธารณรัฐ​ประชาธิปไตย​อัฟกานิสถาน
พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน  
อับดุล ควาดิร์ นูรัสตานี
อัฟกานิสถาน โมฮัมหมัด อัสลัม วาทันยาร์
อัฟกานิสถาน อับดุล ควาดิร์
นูร์ มูฮัมหมัด ตะรากี
ฮะฟีซอลลาห์ อะมีน
บาบรัค คาร์มัล

การปฏิวัติเซาร์ (อังกฤษ: Saur Revolution, Sawr Revolution; ดารี: إنقلاب ثور; ปาทาน: د ثور انقلاب‎) เป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA) เพื่อโค่นล้มรัฐบาลของโมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2728 เมษายน ค.ศ. 1978 คำว่า "เซาร์" เป็นคำในภาษาดารี หมายถึงเดือนที่สองในปฏิทินเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุดังกล่าว[1]

เบื้องหลัง

[แก้]

พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาฮีร์ ชาห์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถานตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ในปี ค.ศ. 1973 อดีตนายกรัฐมนตรีอัฟกานิสถานและพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระองค์คือ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ทำการรัฐประหารยึดอำนาจขณะที่พระองค์เสด็จไปรักษาพระจักษุ (ดวงตา) ที่ประเทศอิตาลี[2] ดาวูด ข่านประกาศให้อัฟกานิสถานเป็นสาธารณรัฐ โดยตัวเองดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและใช้พระราชวังอาร์กเป็นทำเนียบประธานาธิบดี การปกครองของดาวูด ข่านก่อให้เกิดความขัดแย้งกับพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1978 ความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีร์ อัคบาร์ ไคเบอร์ (Mir Akbar Khyber) สมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคถูกฆาตกรรม ทำให้เริ่มมีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ฮะฟีซอลลาห์ อะมีน ผู้นำคนหนึ่งของพรรคกังวลว่ารัฐบาลของดาวูด ข่านมีแผนจะกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์ จึงคิดก่อการปฏิวัติขึ้นก่อน[3]

เหตุการณ์

[แก้]

ช่วงเช้าของวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1978 พรรคคอมมิวนิสต์ฝ่ายคัลก์ (Khalq) ได้นำกำลังทหารเข้าโจมตีทำเนียบประธานาธิบดี พรรคคอมมิวนิสต์เลือกวันนี้เพราะเป็นวันที่ผู้บัญชาการทหารและเจ้าหน้าที่รัฐบาลส่วนใหญ่หยุดทำงานเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่าเริ่มมีการยิงปะทะและการใช้รถถังในช่วงเที่ยง ต่อมาในช่วงบ่ายมีการใช้เครื่องบินขับไล่ เมื่อถึงช่วงเย็น ก็มีการประกาศว่ารัฐบาลของดาวูด ข่านถูกโค่นล้มแล้วโดยฝ่ายคัลก์ (การใช้คำว่า "คัลก์" เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ก่อการปฏิวัติ)[4] การปะทะกันยังคงมีขึ้นจนถึงเที่ยงคืน จนถึงช่วงเช้าวันต่อมา ประธานาธิบดีดาวูด ข่านและครอบครัวพยายามจะหลบหนีออกจากทำเนียบประธานาธิบดี แต่ทั้งหมดถูกสังหาร[5]

หลังการปฏิวัติ นูร์ มูฮัมหมัด ตะรากีได้ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ และจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากฝ่ายคัลก์และฝ่ายพาร์ชัม (Parcham) แต่หลังจากนั้นไม่นาน ตะรากีก็ถูกฮะฟีซอลลาห์ อะมีนโค่นอำนาจ การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ก่อให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่กับกลุ่มอนุรักษนิยม (มุจญาฮิดีน) และนำไปสู่การแทรกแซงจากสหภาพโซเวียตและสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานในเวลาต่อมา[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Barnett R. Rubin, The Fragmentation of Afghanistan (Yale University Press, 2002), p. 105
  2. Countries and Territories of the World
  3. "Chapter 5. The Saur Revolution" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-03-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  4. Thompson, Larry Clinton. "Surviving the '78 Revolution in Afghanistan". http://www.hackwriters.com/78RevolutionAfghan.htm, เข้าถึง 6 เมษายน 2011
  5. "Afghanland.com Afghanistan Mohammad Daud Khan". คลังข้อมูลเก่��เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  6. BBC News | Analysis | Afghanistan: 20 years of bloodshed

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]