การลงคะแนนแบบจัดลำดับ
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบบการลงคะแนน |
---|
สถานีย่อยการเมือง |
การลงคะแนนแบบจัดลำดับ (อังกฤษ: ranked voting) หรือเรียกอีกอย่างว่า การลงคะแนนตามลําดับความชอบ (อังกฤษ: ranked-choice voting) หรือ การลงคะแนนตามความชอบ (อังกฤษ: preferential voting) เป็นระบบการลงคะแนนใดๆ ที่ผู้ลงคะแนนเสียงใช้การจัดลำดับผู้สมัคร (หรือลำดับความชอบ) ในบัตรลงคะแนนเพื่อเลือกผู้สมัครมากกว่าหนึ่งรายขึ้นไป และเพื่อเรียงลำดับตัวเลือกผู้สมัครทั้งหมดเป็นลำดับที่หนึ่ง สอง สาม ไปจนครบ โดยในการนับคะแนนนั้นมีหลายวิธีในการนับคะแนนตามลำดับการเลือกเพื่อจะหาผู้ชนะการเลือกตั้ง (คนเดียว หรือหลายคน) ซึ่งในแต่ละวิธีนับคะแนนอาจจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแม้ว่าบัตรลงคะแนนจะเป็นชุดเดียวกันก็ตาม การลงคะแนนแบบจัดลำดับนั้นแตกต่างจากแบบคาร์ดินัล ซึ่งผู้สมัครแต่ละรายนั้นจะได้รับคะแนนมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ไม่ใช่ในลักษณะการจัดลำดับ[1]
คำว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ" (อังกฤษอเมริกัน: ranked-choice voting, ย่อ RCV) จำกัดความโดยองค์กร FairVote ของสหรัฐว่าเป็นระบบการลงคะแนนที่ใช้บัตรลงคะแนนเพื่อจัดลำดับโดยมีวิธีการนับคะแนนเฉพาะ ได้แก่การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (intstant-runoff voting) สำหรับการเลือกตั้งแบบหาผู้ชนะเพียงคนเดียว หรือการลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (single transferable vote) สำหรับการเลือกตั้งแบบหาผู้ชนะหลายคน ในประเทศอื่นๆ นั้นใช้เรียก "การลงคะแนนตามความชอบ" เพื่อกล่าวถึงการลงคะแนนและการนับคะแนนในแบบเดียวกัน ในขณะที่บางประเทศอาจจะหมายความเฉพาะกิจตามประเทศนั้นๆ[2][3]
การลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (STV) เป็นระบบการลงคะแนนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความใกล้เคียงกับระบบสัดส่วนโดยแบ่งเป็นหลายเขตเลือกตั้งมากกว่าเขตใหญ่เขตเดียว เนื่องจากทั้ง RCV และ STV นั้นมีขั้นตอนต่างๆ คล้ายกัน จึงทำให้ถูกเรียกชื่อสลับกันโดยเป็นปกติ ผู้ที่สนับสนุนแบบ STV นั้นกล่าวว่าเนื่องจากในระบบนี้ผู้สมัครหลายรายที่มาจากหลายพรรคการเมืองอาจถูกเลือกในบัตรลงคะแนนได้แทนที่จะเลือกเพียงคนเดียว จึงทำให้สมาชิกที่รับเลือกทุกคนที่สามารถชนะการเลือกตั้งได้นั้นชนะได้จากคุณสมบัติส่วนบุคคล[4] ผู้ลงคะแนนเสียงยังมีความยึดโยงต่อผู้สมัครในเขตเลือกตั้งของตนได้ในระบบ STV เนื่องจากเขตเลือกตั้งมีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ทำให้มีความเชื่อมโยงระหว่างนักการเมืองกับประชาชน และยังเป็นตัวเลือกให้กับผู้ลงคะแนนในการเลือกผู้แทนได้อย่างเหมาะสม[5]
การลงคะแนนแบบจัดลำดับยังเก็บข้อมูลจากผู้ลงคะแนนได้มากกว่าบัตรลงคะแนนแบบกาเพียงหมายเลขเดียวดังที่ใช้ในการเลือกตั้งส่วนใหญ่ในปัจจุบันซึ่งนิยมใช้วิธีลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และระบบสัดส่วนผสม
ประเภท
เนื่องจากระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับมีหลายแบบที่แตกต่างกัน บางครั้งจึงเป็นการยากที่จะแยกได้ชัดเจนในแต่ละประเภท
แบบหลายรอบในทันที
การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันทีมีลักษณะการลงคะแนนแบบเป็นชุดพร้อมๆ กัน ผู้ลงคะแนนสามารถจัดลำดับความชอบผู้สมัครทุกรายเป็นตัวเลือกลำดับแรก ลำดับสอง ลำดับสาม ไปเรื่อยๆ แทนที่จะเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว[6] โดยในการนับคะแนนผู้สมัครในลำดับแรก (ที่ผู้ลงคะแนนเลือกเป็นที่ 1) ที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (เกินร้อยละ 50) จะเป็นผู้ชนะในทันที[7] หากในกรณีไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงถึงครึ่งหนึ่งของคะแนนทั้งหมด ดังนั้นคะแนนเสียงที่เลือกผู้สมัครรายที่ได้คะแนนน้อยที่สุดในรอบ (ซึ่งจะตกรอบไป) จะถูกปันมาให้กับผู้สมัครรายที่เหลือตามลำดับที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้งแต่ละใบ หากยังไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดอีกก็จะทำซ้ำขั้นตอนเดิมต่อไป[8][7]
วิธีนี้ถูกคิดว่ามีความทนต่อการปั่นคะแนนเสียงได้เนื่องจากกลยุทธ์เดียวที่ใช้ป้องกันได้คือต้องให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนผู้สมัครที่ต้องการให้แพ้อยู่ในลำดับสูงเข้าไว้ ในขณะเดียวกัน ระบบนี้สอบตกเมื่อประเมินจากเกณฑ์กงดอร์แช หมายความว่าผู้สมัครสามารถเป็นผู้ชนะได้ถึงแม้ว่าผู้ลงคะแนนจะชอบผู้สมัครรายอื่นมากกว่า และยังสอบตกเกณฑ์ลำดับทางเดียว (monotonicity criterion) คือในการจัดลำดับผู้สมัครรายใดสูงจะทำให้ลดโอกาสในการทำให้ผู้สมัครรายนั้นชนะได้ (และกรณีกลับกัน) นอกจากนี้แล้ว นอกจากนี้การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันทียังมีประสิทธิภาพทางกงดอร์แช (Condorcet efficiency) ต่ำกว่าระบบอื่นที่ใกล้เคียงกันซึ่งมีตัวเลือกมากกว่าสี่[9]
แบบมีเงื่อนไข
ในระบบการลงคะแนนแบบมีเงื่อนไข ผู้สมัครทุกรายยกเว้นเพียงสองรายที่ได้รับคะแนนสูงสุดในลำดับที่หนึ่งจะตกรอบพร้อมกันทั้งหมด และคะแนนเสียงตามลำดับที่เหลือจะโอนให้ผู้สมัครหนึ่งในสองรายนี้เพื่อหาผู้ชนะ
แบบถ่ายโอนคะแนนเสียง
ระบบนี้ใช้สำหรับการเลือกตั้งผู้แทนหลายคนต่อหนึ่งเขตเลือกตั้ง โดยผู้สมัครรายใดๆ ที่ได้คะแนนเสียงถึงโควตาที่กำหนดจะได้รับเลือก และคะแนนเสียงส่วนเกินจากโควตานั้นจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครในลำดับถัดไปตามที่ระบุไว้ในบัตรเลือกตั้ง โดยหากยังไม่สามารถได้ผู้ชนะครบทุกที่นั่ง ผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะตกรอบและคะแนนของผู้ต��รอบจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้สมัครลำดับถัดไปตามบัตรเลือกตั้ง ขั้นตอนเหล่านี้จะถูกทำซ้ำจนกว่าจะได้ผู้ชนะครบทุกที่นั่ง วิธีนี้เรียกอีกชื่อว่า "ระบบแฮร์-คลาร์ก" และผลลัพธ์ที่ได้ควรจะมีความเป็นสัดส่วน[10] ผู้ลงคะแนนสามารถลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากต่างพรรคการเมืองในบัตรเลือกตั้งเดียวกันได้[11]
เมื่อใช้ระบบนี้ในการหาผู้ชนะเพียงคนเดียวต่อเขตเลือกตั้งจะมีผลลัพธ์เท่ากับการลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที[12] โดยวิธีทั้งสองนี้ในสหรัฐเรียกว่า "การลงคะแนนตามลําดับความชอบ"
วิธีกงดอร์แช
วิธีกงดอร์แช และวิธีสมิธใช้เลือกผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเป็นคู่ ซึ่งมากกว่าผู้สมัครทุกๆ คู่ วิธีสมิธจะเลือกผู้สมัครจากชุดสมิธ (Smith set) ซึ่งคือผู้ชนะกงดอร์แชหากมีเพียงผู้สมัครรายเดียว
แบบพิสัย
การนับแบบบอร์ดา
ตัวอย่าง
สมมติว่ารัฐเทนเนสซีกำลังจะจัดการเลือกตั้งเพื่อเลือกเมืองหลวงของรัฐ โดยประชากรในรัฐเทนเนสซีนั้นกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลักทั้งสี่เมืองซึ่งตั้งอยู่ในแต่ละฝั่งของรัฐ ในตัวอย่างนี้ให้สมมติว่าเขตเลือกตั้งทั้งเขตนั้นอยู่ในเขตเมืองทั้งสี่นี้ และประชาชนทุกคนต้องการเลือกให้อาศัยอยู่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด
รายชื่อเมืองผู้สมัครเข้ารับตำแหน่งเมืองหลวงได้แก่
- เมมฟิส ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ มีผู้ลงคะแนนมากถึงร้อยละ 42 แต่ตั้งอยู่ไกลจากเมืองอื่นๆ
- แนชวิลล์ มีผู้ลงคะแนนร้อยละ 26 ตั้งอยู่ใจกลางรัฐ
- น็อกซ์วิลล์ มีผู้ลงคะแนนร้อยละ 17
- แชตตานูกา มีผู้ลงคะแนนร้อยละ 15
การแบ่งจำนวนเสียงข้อผู้ลงคะแนนสามารถจำแนกได้ดังนี้
42% ของคะแนนเสียง (ใกล้กับเมมฟิส) |
26% ของคะแนนเสียง (ใกล้กับแนชวิลล์) |
15% ของคะแนนเสียง (ใกล้กับแชตตานูกา) |
17% ของคะแนนเสียง (ใกล้กับน็อกซ์วิลล์) |
---|---|---|---|
|
|
|
|
การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที
การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (Instant run-off) นำคะแนนในรอบแรกของผู้สมัครแต่ละรายมาเปรียบเทียบกัน หากไม่มีผู้สมัครรายใดได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ผู้สมัครรายที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะตกรอบ และเริ่มการคำนวนใหม่โดยคะแนนของผู้ตกรอบจะถ่ายโอนไปให้ลำดับถัดไป
ในรอบแรกแชตตานูกาตกรอบ โดยคะแนนเสียงจะถ่ายโอนให้กับน็อกซ์วิลล์ ทำให้น็อกซ์วิลล์ได้คะแนนเสียงมากกว่าแนชวิลล์ ทำให้ในรอบที่สองแนชวิลล์กลายเป็นผู้ตกรอบ ในรอบถัดไปคะแนนของแนชวิลล์ถูกถ่ายโอนไปให้น็อกซ์วิลล์ตามบัตรลงคะแนน จึงทำให้น็อกซ์วิลล์ชนะคะแนนเสียงข้างมาก
คะแนนเสียงต่อรอบ/ ตัวเลือกเมือง |
รอบ 1 | รอบ 2 | รอบ 3 |
---|---|---|---|
เมมฟิส | 42% | 42% | 42% |
แนชวิลล์ | 26% | 26% | |
น็อกซ์วิลล์ | 17% | 32% | 58% |
แชตตานูกา | 15% |
การลงคะแนนแบบจัดลำดับคู่
อ้างอิง
- ↑ Riker, William Harrison (1982). Liberalism against populism: a confrontation between the theory of democracy and the theory of social choice. Waveland Pr. pp. 29–30. ISBN 0881333670. OCLC 316034736.
Ordinal utility is a measure of preferences in terms of rank orders—that is, first, second, etc. ... Cardinal utility is a measure of preferences on a scale of cardinal numbers, such as the scale from zero to one or the scale from one to ten.
- ↑ Toplak, Jurij (2017). "Preferential Voting: Definition and Classification". Lex Localis – Journal of Local Self-Government. 15 (4): 737–761. doi:10.4335/15.4.737-761(2017).
- ↑ Farrell, David M.; McAllister, Ian (2004-02-20). "Voter Satisfaction and Electoral Systems: Does Preferential Voting in Candidate-Centered Systems Make A Difference" (ภาษาอังกฤษ).
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Single Transferable Vote". www.electoral-reform.org.uk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "How to conduct an election by the Single Transferable Vote 3rd Edition". www.electoral-reform.org.uk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ FairVote.org. "Ranked Choice Voting / Instant Runoff". FairVote. สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ 7.0 7.1 "Ranked-choice voting (RCV)". Ballotpedia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-10-20.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อwsj1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อG&F
- ↑ "Glossary". ElectionGuide. International Foundation for Electoral Systems. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2012.
- ↑ Affairs, The Department of Internal. "STV Information". www.stv.govt.nz (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-12. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.
- ↑ "Q&A: Electoral reform and proportional representation". BBC. 2010-05-11. สืบค้นเมื่อ May 13, 2010.