อมรนาถมนเทียร
ถ้ำอมรนาถ | |
---|---|
ศิวลึงค์น้ำแข็งแห่งอมรนาถ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภออนันตนัค |
เทพ | พระศิวะ |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ปหัลคัม |
รัฐ | ชัมมูและกัศมีร์ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 34°12′54″N 75°30′03″E / 34.2149°N 75.5008°E |
เว็บไซต์ | |
shriamarnathjishrine.com |
ถ้ำอมรนาถ หรือ อมรนาถมนเทียร เป็นโบสถ์พราหมณ์ในชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย ถ้ำนี้ตั้งแยู่ที่ความสูง 3,888 m (12,756 ft) จากน้ำทะเล[1] ตั้งอยู่ประมาณ 141 km (88 mi) จากศรีนคร เมืองหลวงฤดูร้อนของชัมมูและกัศมีร์ ผ่านทางเมืองปหัลคัม มนเทียรนี้มีความสำคัญมากในศาสนาฮินดู[2] ที่นี่เป็นหนึ่งในมนเทียรที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของฮินดู[3] อมรนาถมนเทียรเป็นหนึ่งใน 51 ศักติปีฐที่บูชาร่างของพระแม่สตีที่ร่วงหล่นลงมาบนโลก
ภายในถ้ำอมรนาถที่ความสูงกว่า 40 m (130 ft) พบหินงอกที่เกิดจากการแข็งตัวของน้ำที่หยดลงมาจากเ���ดานถ้ำลงไปบนพื้นดินจนในที่สุดได้ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเป็นหินงอกน้ำแข็งจากพื้นถ้ำ[4] ชาวฮินดูนับถือบูชาหินงอกนี้ว่าเป็นศิวลึงค์ ที่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ[5] ศิวลึงค์จะขยายขนาดขึ้นตลอดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมที่ซึ่งหิมะบนเทือกเขาหิมาลัยเหนือถ้ำเริ่มละลายและหยดลงมาแข็งตัวเพิ่มขึ้น[1] ตามความเชื่อในศาสนาเชื่อว่าศิวลึงค์จะโตขึ้นและหดลงตามจันทรคติ อย่างไรก็ตามไม่พบหลักฐานยืนยันทางวิทยาศาสตร์ต่อความเชื่อนี้[6]
ประวัติ
[แก้]หนังสือราชตะรังคีนี (Book VII v.183) ได้กล่าวถึงอมรนาถ โดยเชื่อว่าพระราชิตีสุริยมาตีในคริสตศตวรรษที่ 11 ได้ถวายตรีศูล พนลึงค์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ แก่มณเฑียรแห่งนี้[7] หนังสือราชวลีปาตากาซึ่งเริ่มเขียนโดยพระยาภัทธะได้อ้างถึงการแสวงบุญที่ถ้ำแห่งนี้ นอกเหนือจากนี้ ยังมีตำราโบราณอีกหลายเล่มที่กล่าวถึงการแสวงบุญ ณ ที่แห่งนี้
การค้นพบถ้ำศักดิ์สิทธิ์
[แก้]François Bernier แพทย์ชาวฝรั่งเศสที่ติดตามจักรพรรดิออรังเซบระหว่างการเยี่ยมกัศมีร์ใน ค.ศ. 1663 ได้เขียนหนังสือ "เดินทางในจักรวรรดิโมกุล" เขากล่าวว่า ระหว่างมีเดินทางเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ในกัศมีร์ เขาได้ "เดินทางแสวงบุญไปยังถ้ำที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ในสองวันหลังจากออกจาก Sangsafed" "ถ้ำ" ที่เขากล่าวถึง คือถ้ำอมรนาถ โดยบรรณาธิการหนังสือฉบับภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ครั้งสอง แว็งซองต์ เอ. สมิท ได้ไขข้อสงสัยนี้ให้กระจ่าง เขาเขียนว่า "ถ้ำที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์นี้ ก็คือถ้ำอมรนาถ ซึ่งไปหินงอกน้ำแข็งที่ก่อตัวจากน้ำที่หยดลงมา หินงอกนี้ได้รับการบูชาจากชาวฮินดูจำนวนมากว่าเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ"[8]
การระบาดทั่วของโรคโควิด-19
[แก้]วันที่ 22 เมษายน 2020 คณะกรรมการมณเทียรศรีอมรนาถประกาศหยุดการแสวงบุญชั่วคราว เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา อย่างไรก็ตาม มีการประกาศฉบับใหม่ที่ยกเลิกการระงับการแสวงบุญนี้[9] ผู้ว่าราชการ Lieutenant G. C. Murmu กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งสุดท้ายขึ้นกับการพัฒนาในอนาคตที่เกี่ยวกับการระบาด[10] ในอีกแง่มุมของการระบาดนี้เอง วันที่ 4 กรกฎาคม รัฐบาลดินแดนสหภาพอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเพียง 500 คน สามารถเดินทางทางถนนเพื่อมาแสวงบุญ ณ มณเทียรแห่งนี้ได้ ทุกคนที่เดินทางเข้ามาในดินแดนสหภาพชัมมูและกัศมีร์แห่งนี้ จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยจะต้องกักตัวภายในสถานที่พักจนกว่าจะพบผลตรวจเป็นลบ[11] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 21 กรกฎาคม คณะกรรมการมณเทียรศรีอมรนาถสั่งระงับการแสวงบุญ เนื่องจากการระบาดที่หนักขึ้น หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อในดินแดนสหภาพแห่งนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Amarnathji Yatra - a journey into faith". Official Web Site of Jammu and Kashmir Tourism. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2006. สืบค้นเมื่อ 15 June 2006.
- ↑ "New shrine on Amarnath route". The Hindu. Chennai, India. 30 May 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2007. สืบค้นเมื่อ 15 November 2006.
- ↑ "The pilgrimage to Amarnath". BBC News. 6 August 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2012. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
- ↑ "Stalactites and Stalagmites - Cave, Water, Caves, and Growth - JRank Articles". Science.jrank.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-04-15.
- ↑ "lingam". Encyclopædia Britannica. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2015. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
- ↑ Ortner, Jon, "On the road again" เก็บถาวร 17 ตุลาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. PDN Gallery.
- ↑ "Amarnath Yatra: In Search Of Salvation". Shriamarnathyatra.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2013.
- ↑ Mohini Qasba Raina (2013). Kashur The Kashmiri Speaking People. Partridge Publishing Singapore. p. 327. ISBN 978-1-4828-9945-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2018.
- ↑ "Coronavirus outbreak: Uncertainty over Amarnath yatra as SASB release announcing decision to cancel pilgrimage withdrawn". 22 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
- ↑ "Decision on Amarnath Yatra after review of Covid-19 situation: J&K LG Murmu". Business Standard India. 26 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
- ↑ "Amarnath Yatra 2020: J&K administration allows 500 pilgrims per day". India Today. 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 July 2020.
- ↑ "Amarnath Yatra cancelled due to spike in coronavirus infections". Hindustan Times. 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 22 July 2020.