ข้ามไปเนื้อหา

วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์
บทภาพยนตร์ชลลดา เตียวสุวรรณ
ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์
อำนวยการสร้างประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์
จิระ มะลิกุล
ยงยุทธ ทองกองทุน
นักแสดงนำ
กำกับภาพสมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล
ตัดต่อดุษณีย์ ผุยหนองโพธิ์
ผู้จัดจำหน่ายGTH
ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น
วันฉาย28 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ความยาว102 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง20 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้วัยอลวน (2519)
รักอุตลุด (2520)
ชื่นชุลมุน (2521)
ต่อจากนี้วัยอลวน 5 (2566)
ข้อมูลจากสยามโซน

วัยอลวน 4 : ตั้ม-โอ๋ รีเทิร์น เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 เป็นเรื่องราวของตั้ม และ โอ๋ สองพระนางจากภาพยนตร์ชื่อดัง "วัยอลวน" ซึ่งเป็นที่นิยมสูงสุดช่วงปี พ.ศ. 2519-21 จากบทประพันธ์ของ บุญญรักษ์ นิลวงศ์ หรือ "บุญรักษ์"

ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ โดยมีเปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับภาคก่อนหน้า เป็นที่ปรึกษา ในภาพยนตร์ภาคนี้ นำเสนอความสัมพันธ์ของตั้ม และโอ๋ ซึ่งแต่งงานกันมาแล้วเกือบสามสิบปี และลูกชายลูกสาวซึ่งกำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่น โดยนำเสนอประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของนักเรียนนักศึกษา การเบี่ยงเบนทางเพศของวัยรุ่น เขียนบทภาพยนตร์โดย ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ และชลลดา เตียวสุวรรณ (เพลงดาบแม่น้ำร้อยสาย)

ในภาคนี้ มีนักแสดงดั้งเดิมมาร่วมแสดงอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ไพโรจน์ สังวริบุตร รับบท ตั้ม, ลลนา สุลาวัลย์ รับบท โอ๋, จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา รับบท อ้อ พี่สาวของโอ๋, พจนีย์ อินทรมานนท์ รับบท คุณนิด กิ๊กเก่าของตั้ม, จีรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รับบท แอ๊ด เพื่อนเก่าของตั้ม รวมทั้ง ชัยรัตน์ เทียบเทียม ซึ่งร้องเพลงประกอบในสามภาคแรก ก็เป็นนักแสดงรับเชิญด้วย

เรื่องย่อ

[แก้]

สามสิบปีผ่านไป ตั้ม โอ๋ ในวัยห้าสิบปี มีลูกสาวกำลังเรียนมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ และลูกชายกำลังเรียนมัธยม 6

ตั้ม, โอ๋, อ้อ และ หนามเตย ขับรถจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เพื่อไปเยี่ยมใบตองโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า เพื่อไปจัดงานวันเกิดเซอร์ไพรซ์ให้ เกิดเรื่องวุ่นๆ เมื่อตั้มพบว่าลูกสาวสุดที่รักเช่าหอพัก ใช้ชีวิตอยู่กับ วิชาญ เพื่อนหนุ่มต่างคณะ และโอ๋พบว่าลูกชายมีพฤติกรรมชอบเพศเดียวกัน ทั้งคู่พยายามปิดบังไม่ให้อีกฝ่ายรู้ เพราะกลัวว่าอีกฝ่ายจะทำใจไม่ได้

ตั้ม แอบไปหา นิด กิ๊กเก่าที่ไปเปิดร้านอาหาร��ี่เชียงใหม่ แต่บอกโอ๋ว่า แวะไปหาแอ๊ด เพื่อนเก่าที่สอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อความแตก โอ๋ก็อาละวาดบ้านแตก เหมือนในหนังภาคก่อน ๆ

นักแสดง

[แก้]

เกร็ดจากภาพยนตร์

[แก้]
  • ฉากแอนิเมชั่นเปิดเรื่อง เล่นดนตรีและร้องสดโดย นิติพงษ์ ห่อนาค ทำเลียนแบบแอนิเมชั่นเปิดเรื่อง ที่ใช้เป็นครั้งแรกใน ชื่นชุลมุน
  • ฉากบ้านตั้ม-โอ๋ ถ่ายทำที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำลองเป็นบ้านไม้สองชั้นในซอยธรรมเกิดทรัพย์ ฝั่งธนบุรี บ้านตั้ม-โอ๋ ในภาคก่อน
  • ใบตอง ขับรถเวสป้าติดป้ายทะเบียน วอว-4 ย่อมาจาก วัยอลวน 4
  • ฉากวิชาญ ไม่ใส่เสื้อผ้าเดินในห้อง ขณะที่ใบตองกำลังพับเสื้อผ้า คล้ายกับในภาพยนตร์ Austin Power
  • ภาพยนตร์ถ่ายทำไปพร้อม ๆ กับเรื่อง เพื่อนสนิท ใช้ฉากบางฉากร่วมกัน และมีตัวละครร่วมกัน คือ ฟุเหยิน (ธนาบดินทร์ ยงสืบชาติ) นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • หนามเตยไม่ได้เป็นเกย์ เพียงแต่มีนิสัยรักสวยรักงามเป็นพิเศษ และมีกะเทยมาชอบ (ในภาพยนตร์ หนามเตยบอกแม่ว่า ชอบกับครูพละรุ่นพี่ และเฉลยความจริงทีหลังว่า ครูพละเป็นผู้หญิง ในเครดิตท้ายเรื่อง)
  • ในวัยอลวน อ้อ (จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นสาวที่เรียบร้อยมาก จนตั้มเคยจีบ ก่อนที่จะมาชอบกับโอ๋ ในภาคนี้กลับเปลี่ยนบุคลิกอย่างสิ้นเชิงเป็นหญิงห้าว เป็นทอม และชอบเพศเดียวกัน
  • ในรักอุตลุด แอ๊ด (จีรศักดิ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา - เป็นน้องชายของจิระวดี) ชอบคุณนิด (พจนีย์ อินทรมานนท์) แต่คุณนิดชอบตั้ม

เพลงประกอบ

[แก้]

เพลงประกอบของภาคนี้ถูกนำมาขับร้องใหม่โดยศิลปินเลือดใหม่ของแกรมมี่ ดังนี้

รางวัล

[แก้]
ปี รายการ รางวัล/สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
พ.ศ. 2549 รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 14 ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ลลนา สุลาวัลย์ ชนะ
พ.ศ. 2549 รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ไพโรจน์ สังวริบุตร เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม ลลนา สุลาวัลย์ เสนอชื่อเข้าชิง
พ.ศ. 2549 รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 3 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม GTH เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม ไพโรจน์ สังวริบุตร เสนอชื่อเข้าชิง
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชลลดา เตียวสุวรรณ , ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์ เสนอชื่อเข้าชิง


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]