ข้ามไปเนื้อหา

อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเติ้ง เสี่ยวผิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
อสัญกรรมและรัฐพิธีศพของเติ้ง เสี่ยวผิง
วันที่
  • 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (อสัญกรรม)
  • 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (พิธีรำลึก)
  • 2 มีนาคม ค.ศ. 1997 (ลอยอังคาร)
ที่ตั้ง
ผู้เข้าร่วมเจียง เจ๋อหมิน ผู้นำพรรคและรัฐ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทหารและพลเรือนจีน[1]

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 21.08 น. เติ้ง เสี่ยวผิง แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์จีนรุ่นที่สอง ผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน อดีตประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง และประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะติดเชื้อที่ปอดร่วมกับโรคพาร์คินสันระยะสุดท้าย ทำให้ระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สิริอายุ 92 ปี (จันทรคติ 93 ปี)

อาการป่วย

[แก้]

เติ้งไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1994[2] วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1996 เติ้งถูกนำตัวเข้ารักษาที่อาคารใต้ของโรงพยาบาลกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชน ด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ[3] ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1997 CCTV-1 ได้ออกอากาศสารคดีอัตชีวประวัติ "เติ้ง เสี่ยวผิง" (ทั้งหมด 12 ตอน) เติ้งซึ่ง��นขณะนั้นประสบโรคพาร์คินสันระยะลุกลามได้รับชมสารคดีของตนเองทั้ง 12 ตอน ณ ห้องพักของโรงพยาบาล (ในช่วงไว้อาลัยหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเขา CCTV ได้ออกอากาศสารคดีดังกล่าวซ้ำทุกวันหลังรายการซินเหวินเหลัยนปัว)[4]

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 (ตรงกับช่วงก่อนเทศกาลตรุษจีน) เติ้งซึ่งมีอาการทรงตัวขึ้นเล็กน้อย[5] ได้มอบคำอวยพรวันหยุดแก่ประชาชนทั่วประเทศผ่านเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ซึ่งกำลังเข้าเยี่ยมตนอยู่ พร้อมแสดงความหวังว่า ภายใต้การนำของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยมีเจียงเป็นแกนนำ "สองเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ การฟื้นฟูอธิปไตยเหนือฮ่องกง และการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 15 จะสำเร็จในปีนี้"[3] ในเดือนเดียวกัน ผู้นำพรรคและรัฐทุกคนที่เดินทางออกนอกปักกิ่งถูกเรี��กตัวกลับปักกิ่ง[3] วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 ตรงกับวันที่ 9 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน จัว หลิน ภริยาของเติ้ง พร้อมบุตรธิดา ได้เขียนจดหมายถึงเจียงเพื่อถ่ายทอดพินัยกรรมฉบับสุดท้ายของเติ้ง[6][7]

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 ตรงกับวันที่ 13 เดือน 1 ตามปฏิทินจีน เติ้งประสบภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวและต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจอย่างเดียว ในเวลา 21:08 น. ของค่ำวันเดียวกัน คณะแพทย์นำโดย ดร. เถา โช่วฉี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวใจฟู่ไว่ และดร. โหมว ช่านชู รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล 301 ได้ประกาศยุติการรักษา เติ้งจึงถึงแก่อสัญกรรมด้วยอายุ 92 ปี[3]

การประกาศ

[แก้]

ข่าวประชาสัมพันธ์

[แก้]

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลาประมาณ 21.00 น. สำนักงานทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้แจ้งด่วนไปยังศูนย์ข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ให้ส่งผู้สื่อข่าวสองชุดไปยังโรงพยาบาลกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชน (301) ในปักกิ่ง หยาง เหว่ย์กวาง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีนในขณะนั้น พร้อมด้วยซุน ยฺวี่เชิ่ง รองผู้อำนวยการศูนย์ข่าว CCTV ได้เดินทางกลับมายังอาคาร CCTV ถนนฟู่ซิง จากฐานฝึกอบรมในแขวงชุ่นอี้ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นเขตชุ่นอี้) เพื่อรอรับแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ สฺวี กวางชุน รองอธิบดีกรมโฆษณาชวนเชื่อกลาง ผู้รับผิดชอบด้านข่าวสาร ซุน เจียเจิ้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยุ ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ และเถียน ชงหมิง รองรัฐมนตรี อัน จิ่งหลิน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน และจาง เจิ้น-หฺวา ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศจีน ก็ได้เดินทางมายังศูนย์ข่าวชั้นสองของ CCTV เพื่อรอรับคำสั่งเช่นกัน[8]

หลังได้รับข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของเติ้งในเวลาประมาณ 23:00 น. ของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 ยฺหวี ผินไห่ ผู้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ฮ่องกงคอมมิวนิเคชันส์ (CTN) ได้เรียกเจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการช่อง CTN จงเทียน กลับมาปฏิบัติงานด่วน[9][10]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 01.04 น. เครือข่ายข่าวเคเบิลสหรัฐ (ซีเอ็นเอ็น) ได้เผยแพร่ "ข่าวที่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเติ้ง เสี่ยวผิง ได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว"[11]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 02:00 น. สำนักข่าวซินหัวได้เผยแพร่ข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของเติ้งอย่างเป็นทางการ ในเวลาเดียวกัน CCTV-1 และ CCTV-4 ได้ออกอากาศ "ข่าวสำคัญ" อย่างเร่งด่วนโดยมีผู้ประกาศข่าว หลัว จิง และสฺวี ลี่ รายงาน "จดหมายถึงพรรค กองทัพ และประชาชนทุกเชื้อชาติในประเทศ"[8] "รายชื่อสมาชิกคณะกรรมการจัดพิธีศพของสหายเติ้ง เสี่ยวผิง" และประกาศฉบับที่ 1 ของคณะกรรมการจัดพิธีศพ ในช่วงเช้า เวลา 06:00 น. รายการข่าวเช้าของ CCTV-1 ได้มีการรายงานเอกสารดังกล่าว โดยมีผู้ประกาศข่าวคือหลัว จิง และหลี่ รุ่ยอิง ในวันเดียวกันนั้น ทั้งรายการ "ข่าวชั่วโมง" (ในช่วงเวลาต่าง ๆ) "ข่าว 30 นาที" "ซินเหวินเลียนปัว" และ "ข่าวภาคค่ำ" ต่างก็รายงานข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 02:42 น. รอยเตอร์สได้รายงานข่าวการถึงแก่อสัญกรรมของเติ้ง

ฌาปนกิจ

[แก้]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เจียง เจ๋อหมิน, หลี่ เผิง, เฉียว ฉือ, หลี่ รุ่ยหวน, จู หรงจี, หลิว หฺวาชิง, หู จิ่นเทา, หรง อี้เหริน และผู้นำพรรคและรัฐคนอื่น ๆ ได้เข้าไปแสดงความเคารพต่อศพของเติ้งที่โรงพยาบาลกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชน และได้เคลื่อนศพไปยัง สุสานปฏิวัติปาเป่าชานเพื่อทำพิธีฌาปนกิจ มีประชาชนกว่า 100,000 คนยืนรอส่งอยู่สองข้างทาง[12]

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 09:34 น. มีการเคลื่อนย้ายร่างของเติ้งไปยังสุสานปฏิวัติปาเป่าชานเพื่อทำการฌาปนกิจจากโรงพยาบาลกลาง กองทัพปลดปล่อยประชาชนไปยังถนนปาเป่าชาน ถนนฟู่ซิง ถึงถนนฉือจิ่งลาน ประชาชนนับล้านคนได้รวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพ นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้พิมพ์ป้ายที่มีข้อความว่า "สวัสดีอีกครั้ง เสี่ยวผิง" และเป็นนักศึกษาจากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง นี้เองที่ถือป้าย "สวัสดี เสี่ยวผิง" ในขบวนแห่วันชาติใน ค.ศ. 1984[13][14]

พิธีรำลึก

[แก้]

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 10.00 น. คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะกรรมาธิการแห่งชาติสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน และคณะกรรมการการทหารส่วน ได้ร่วมกันจัดพิธีรำลึกถึงสหายเติ้ง เสี่ยวผิง ณ มหาศาลาประชาชน หลี่ เผิง นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ประกาศเริ่มพิธี และเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ได้กล่าวสดุดี ผู้เข้าร่วมพิธีร่วมร้องเพลงแองเตอร์นาซิอองนาลในตอนท้าย[15] พร้อมกันนั้น ทุกช่องของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน และทุกความถี่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศจีน ได้ถ่ายทอดสดพิธีรำลึกถึงสหายเติ้ง เสี่ยวผิง (โดยมีสถานีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่นถ่ายทอดพร้อมกัน) และในค่ำคืนวันนั้น ซินเหวินเหลียนปัวได้รายงานข่าวที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน

ลอยอังคาร

[แก้]

วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1997 อัฐิของเติ้งได้ถูกนำไปลอยอังคารตามความประสงค์ของเขา โดยมีหู จิ่นเทา เวิน เจียเป่า และจัว หลิน ภริยาร่วมเป็นสักขีพยาน นอกจากนี้ กระจกตาของเขายังได้บริจาคให้แก่ผู้ที่ต้องการอีกด้วย[16]

ปฏิกิริยา

[แก้]

จีน

[แก้]

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 07:01 น. ระหว่างพิธีเชิญธงชาติที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง ได้มีการลดธงลงครึ่งเสาเพื่อไว้อาลัยแก่เติ้ง[6] เนื่องจากเทศกาลตรุษจีนในปี ค.ศ. 1997 ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นเวลาสองวันหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเติ้ง ประชาชนจึงงดกิจกรรมที่วางแผนไว้ทั้งหมดในวันดังกล่าว

ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 สถานีวิทยุและโทรทัศน์เกือบทั้งหมดในประเทศรวมถึงช่องต่าง ๆ ของ CCTV ได้ยุติการออกอากาศรายการบันเทิงทุกประเภท สถานีวิทยุและโทรทัศน์ท้องถิ่นบางแห่งถึงกับออกอากาศเสียงของ CNR-1 และรายการโทรทัศน์ของ CCTV-1 ตลอดทั้งวัน ในช่วงการไว้ทุกข์หลังการถึงแก่อสัญกรรมของเติ้ง CCTV-1 ได้จัดให้มีการออกอากาศสารคดีอัตชีวประวัติเรื่อง "เติ้ง เสี่ยวผิง" ซ้ำทุกวันหลังรายการซินเหวินเหลียนปัว กระทั่งวันที่ 2 มีนาคม (วันที่โปรยอัฐิของเติ้งลงสู่ทะเล) สถานีโทรทัศน์และวิทยุขนาดใหญ่จึงค่อย ๆ กลับมาออกอากาศตามปกติ

การประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 24 ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 8 ซึ่งเดิมกำหนดไว้ระหว่างวันที่ 19– 25 กุมภาพันธ์[17] นั้นได้เลื่อนก่อนกำหนดเป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์[18] ประธานาธิบดีฌอร์ฌึ ซังไปยู แห่งโปรตุเกส มีกำหนดการเยือนจีนระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม[19][20] แต่จะไม่มีพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการเนื่องจากประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงการไว้ทุกข์[21]

ไต้หวัน

[แก้]

หวัง เหลาหย่าง อดีตสมาชิกอาวุโสของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ต่อมาเป็นประธานคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์ไต้หวัน) มีความประสงค์เดินทางไปกรุงปักกิ่งเพื่อแสดงความเคารพต่อเติ้ง แต่ขณะเปลี่ยนเครื่องที่ท่าอากาศยานมาเก๊า เชาก็ได้รับแจ้งจากรัฐบาลของหลี่ เติงฮุยว่าไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ ท้ายที่สุดเขาจึงต้องแสดงความอาลัยจากระยะไกล ณ ที่นั่น[22]

บริติชฮ่องกง

[แก้]

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 เวลา 10:00 น. (ขณะที่พิธีรำลึกถึงเติ้ง เสี่ยวผิงกำลังดำเนินอยู่) ขบวนรถไฟที่เข้าและออกจากสถานีฮงฮม ส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟเกาลูน–กวางตุ้ง ในฮ่องกง ได้ส่งเสียงหวีดเป็นเวลา 3 นาทีเพื่อแสดงความอาลัย

ต่างประเทศ

[แก้]

องค์กรระหว่างประเทศ

[แก้]

อื่น ๆ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "邓小平同志追悼大会". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-17. สืบค้นเมื่อ 2020-03-05. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. "激情与宁静:邓小平的最后五年 (2)". 南方周末. 2007-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 张悦 (2007-02-08). "十年前,那个令人悲伤的夜晚". 南方周末. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  4. "胡锦涛圆满结束拉美之行". 人民日报. 1997-01-26. p. 3.
  5. "解放军总医院:怀念"老南楼"灯光". 人民日报. 1997-02-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  6. 6.0 6.1 "捐献角膜和遗体——邓小平的临终时刻与身后事". 东方网. 2004-08-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  7. "邓小平同志的家属致江总书记并党中央的信". 新华社. 1997-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  8. 8.0 8.1 ""再复制一个罗京不那么容易" 专访中央电视台副台长孙玉胜". 南方周末. 2009-06-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  9. "CTN中天频道陈庆源回忆十年前那夜的新闻大战". 南方都市报. 2007-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  10. "曹景行:独家率先披露邓小平去世消息前后". 凤凰网. 2007-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  11. "Unconfirmed reports: Deng Xiaoping has died". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-27. สืบค้นเมื่อ 2023-08-27. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  12. "党和国家领导人同首都群众送别邓小平同志". 人民网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-13. สืบค้นเมื่อ 2020-03-20. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  13. "长街洒泪 万众同悲". 人民日报. 1997-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-25. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  14. "小平,我们永远爱您——首都十多万群众挥泪送小平". 人民日报. 1997-02-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-07-25. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  15. "邓小平同志追悼大会在北京隆重举行". 人民日報. 1997-02-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-13. สืบค้นเมื่อ 2017-02-25. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  16. "捐献角膜和遗体——邓小平的临终时刻与身后事". 新浪. 2004-08-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  17. "人大常委会委员长会议举行 乔石主持决定2月19日至25日召开人大常委会第二十四次会议". 人民日报. 1997-02-14. p. 1.
  18. "人大常委会第二十四次会议闭会 乔石主持会议通过合伙企业法和若干决定等". 人民日报. 1997-02-24. p. 4.
  19. "葡萄牙总统将访华". 人民日报. 1997-02-07. p. 1. 葡萄牙共和国总统若尔热·费尔南多·布兰科·德·桑帕约将于二月二十三日至三月二日对中国进行国事访问
  20. "葡萄牙总统抵京". 人民日报. 1997-02-24. p. 4.
  21. "江主席与葡萄牙总统会谈 双方对澳门问题的顺利解决满怀信心". 人民日报. 1997-02-25. p. 4.
  22. 環球時報 (2008-08-04). "台湾共产党主席:不懂马列,但很敬佩邓小平". 中新网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-21. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  23. 谭一青 (2004). 《军事家邓小平:我真正的专业是打仗》 (ภาษาจีนตัวย่อ). 北京: 中國青年出版社. ISBN 978-7-5006-5432-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  24. 赵晓光、刘杰 (2001). 《邓小平的三落三起》 (ภาษาจีนตัวย่อ). 瀋陽: 辽宁人民出版社. ISBN 978-7-205-04689-7.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. 杨继绳 (1998). 《邓小平时代: 中国改革开放二十年纪实》 (ภาษาจีนตัวย่อ). 中央编译出版社. ISBN 978-7-80109-306-6.
  26. United Nations (2007-02-27). "SECURITY COUNCIL 6327" (ภาษาอังกฤษ). United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-11. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  27. 《中国大学人文启思录》编委会, บ.ก. (1998). 《中国大学人文启思录》 (ภาษาจีนตัวย่อ). Vol. 第二卷. 华中科技大学出版社. ISBN 9787560916781.
  28. 羅石賢 (1994). 《鄧小平政海爭雄錄》 (ภาษาจีนตัวเต็ม). 香港: 利文出版社. ISBN 9627766291.