ข้ามไปเนื้อหา

ริชาร์ด เกียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
Richard Gere
เกียร์ ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 2024
เกียร์ ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 2024
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด (1949-08-31) 31 สิงหาคม ค.ศ. 1949 (75 ปี)
Richard Tiffany Gere
คู่สมรส
บุตร3 คน
ปีที่แสดง1973 - ปัจจุบัน
รางวัล
ลูกโลกทองคำBest Actor - Motion Picture Musical or Comedy
2003 Chicago

ริชาร์ด ทิฟฟานี เกียร์ (อังกฤษ: Richard Tiffany Gere) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1949 มีผลงานเป็นที่รู้จักในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ ต่อมาถึง 1990-2000 ผลงานดังเช่น Pretty Woman, Primal Fear, และ Chicagoซึ่งจากเรื่องนี้ทำให้ได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากรางวัลลูกโลกทองคำ

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงแรกและผลงานละครเวที

[แก้]

ริชาร์ด เกียร์ เกิดที่ฟิลาเดลเฟีย ตั้งแต่เขายังเป็นเด็ก เขาสามารถเล่นเครื่องดนตรีได้หลายชนิด ทั้งยังแต่งเพลงให้วงดนตรีของโรงเรียนสมัยมัธยม และได้ทุนนักกีฬายิมนาสติกไปเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ในสาขาปรัชญา แต่เรียนถึงชั้นปีที่ 2 ก็มาเล่นละครเพลงของลอนดอน รับบทนำเป็น แดนนี ซูโก เรื่อง Grease ในปี 1973 และต่อมาได้ก้าวสู่นักแสดงประจำที่โรงละครโพรวินซ์ทาวน์เพลย์เฮาส์ และโรงละครซีแอตเทิล เรเพอร์โตรี เธียเตอร์ ทั้งยังแสดงละครเวทีในนิวยอร์กอีกหลายเรื่อง แสดงเป็น ริชาร์ด ฟารินา ใน Long Time Coming and Long Time Gone หรืออย่างละครเวทีสองเรื่อง Back Bog Beast Bait และ Killers Head ของผู้กำกับฯ แซม เชพเพิร์ด

หลังจากแสดงในละครบรอดเวย์ร็อกโอเปร่าเรื่อง Soon และในละครฟาร์ซอังกฤษฉบับงานสร้างนิวยอร์กอย่าง Habeus Corpus ก็มีผลงานการแสดงของเขาใน A Midsummer Nights Dream ที่ลินคอล์น เซ็นเตอร์ และใน The Taming of the Shrew ฉบับงานสร้างของโรงละครลอนดอน ยัง วิก เธียเตอร์ เขาได้กลับคืนสู่ละครบรอดเวย์อีกครั้งในปี 1980 ในเรื่อง Bent รับบทเป็นนักโทษเกย์ในเรือนจำ ซึ่งทำให้เกียร์คว้ารางวัลเธียเตอร์ เวิลด์ อวอร์ด

วงการภาพยนตร์

[แก้]

ใน 1978 เกียร์ เริ่มมีผลงานภาพยนตร์ ในภาพยนตร์เรื่อง Days of Heaven จากเรื่องนี้เองทำให้เขาได้รับตุ๊กตาทองของอิตาลีมาครอง ผลงานต่อมาก็เช่น Looking for Mr. Goodbar ร่วมแสดงกับ ไดแอน คีตัน, Blood Brothers, ภาพยนตร์เรื่อง Yanks ของผู้กำกับฯ จอห์น ชเลซิงเกอร์ และ American Gigolo และภาพยนตร์ทำเงินในปี 1982 เรื่อง An Officer and a Gentleman รวมไปถึงต่อ ๆ มาอย่าง Breathless, Beyond the Limit, The Cotton Club, Power, No Mercy พร้อมด้วย Miles From Home

ปี 1990 เกียร์ แสดงในภาพยนตร์เรื่อง Infernal Affairs ซึ่งได้รับการกล่าวขานอย่างมากกับบท ตำรวจเลว และต่อมาแสดงใน ภาพยนตร์ที่ครองตำแหน่งรายได้สูงสุดมาหลายปีอย่าง Pretty Woman ที่ร่วมแสดงกับ จูเลีย โรเบิร์ตส์ ปีถัดมา เกียร์แวะไปเป็นแขกรับเชิญใน Rhapsody in August ภาพยนตร์ของผู้กำกับฯชาวญี่ปุ่น อากิระ คุโรซาวา นอกจากนี้ ยังแสดงใน Red Corner โดยผู้กำกับฯ จอน อาฟเนต และรับบทในภาพยนตร์รีเมกของยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์สเรื่อง The Jackal โดยผู้กำกับฯ ไมเคิล เคตัน โจนส์ รวมทั้งยังเป็นนักแสดงคนแรกที่ตกลงแสดงในภาพยนตร์ของเอชบีโอ เรื่อง And The Band Played On ซึ่งดัดแปลงมาจากหนังสือของ แรนดี ชิลต์ซ ว่าด้วยเรื่องของห้าปีแรกที่โรคเอดส์บุกอเมริกา โดยเกียร์รับบทเป็นนักออกแบบท่าเต้นตามเรื่องราวในหนังสือ

และในปี 2000 กลับมาอีกครั้งกับภาพยนตร์ทำรายได้ เรื่อง Run Away Bride ที่กลับมาทำงานร่วมอีกครั้งทั้งผู้กำกับฯ แกรี มาร์แชล และนักแสดงร่วมอย่าง จูเลีย โรเบิร์ตส์ และต่อมาได้แสดงในภาพยนตร์โดยผู้กำกับฯ โรเบิร์ต อัลต์แมน เรื่อง Dr. T and The Women รับบทเป็นสูตินรีแพทย์ โดยแสดงร่วมกับ เฮเลน ฮันท์, ลิฟ ไทเลอร์, ฟาร์ราห์ ฟอว์เซตต์ และ เคต ฮัดสัน

นอกจากผลงานการแสดง เกียร์ยังเป็นนักเปียโนและนักแต่งเพลงฝีมือดี มีผลงานบนถนนดนตรีเล็ก ๆ น้อย ๆ มากมาย รวมไปถึงใหญ่ ๆ อย่างงานดูแลการทำดนตรีในอัลบั้มให้กับ Final Analysis, Mr.Jones และ Summersby

ปี 2001 เกียร์แสดงในภาพยนตร์ของฟ็อกซ์ เซิร์ชไลท์ เรื่อง Unfaithful กำกับโดย เอเดรียน ลิน ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์อย่างมาก มี ไดแอน เลน และ โอลิวิเย มาร์ติเนซ ร่วมแสดง มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สามีภรรยาคู่หนึ่งในเขตรอบนอกนครนิวยอร์ก ที่ชีวิตคู่ของสามีภรรยากำลังจะจบลงภรรยาปันใจให้ชู้รัก และยังมีผลงานแนวไซโคธริลเลอร์ของโซนี พิคเจอร์สเรื่อง Mothman Prophecies ประกบ เดบรา เมสซิง ต่อมาช่วงคริสต์มาสปี 2002 เขาได้แสดงในภาพยนตร์ระดับออสการ์อย่าง Chicago โดยรับบทเป็น บิลลี ฟลินน์ ซึ่งเขาก็ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แสดงร่วมกับนักแสดงอย่าง แคเธอรีน ซีตา โจนส์ ในบท เวลมา และ เรเน่ เซลล์เวเกอร์ ในบท ร็อกซี ฮาร์ต

ปี 2004 เกียร์ร่วมแสดงกับ ซูซาน ซาแรนดอน และ เจนนิเฟอร์ โลเปซ ในโรแมนติกคอมเมดีเรื่องดัง Shall We Dance? และต่อมาในปี 2005 เกียร์แสดงในภาพยนตร์เรื่อง Bee Season ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนิยายขายดีในชื่อเดียวกัน

ปี 2009 เกียร์ได้ทุ่มทุนสร้างภาพยนตร์และนำแสดงเองในเรื่อง Hachiko: A Dog's Story โดยเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงสุดประทับใจของชาวญี่ปุ่น ด้วยความจงรักภักดีของสุนัขพันธุ์อากิตะ ชื่อฮาชิโกะ ที่มารอคอยเจ้าของที่สถานีรถไฟชิบูย่าทุกวัน นานนับเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยที่ไม่รู้เลยว่าเจ้าของได้เสียชีวิตไปแล้ว ทำให้ประชาชนทั่วญี่ปุ่นต่างซาบซึ้งกับความรักอันบริสุทธิ์ที่สุนัขจะมีให้แก่มนุษย์ที่เป็นเจ้าของได้อย่างสุดหัวใจ จนถูกสร้างขึ้นเป็นอนุสาวรีย์ตั้งโดดเด่นอยู่ที่ประตูทางเข้าสถานีรถไฟชิบูย่าจวบจนทุกวันนี้ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายในปี 2010

งานอื่นและงานการกุศล

[แก้]
ริชาร์ด เกียร์ และทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่

เกียร์เป็นผู้ศึกษาธรรมกับองค์ดาไลลามะ ตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา เขาได้เดินทางทั่วชมพูทวีป ทั้งอินเดีย เนปาล และทิเบต เลยไปจนถึง มองโกเลีย และจีน ทั้งยังทำหน้าที่เป็นช่างภาพในที่ที่เขาไป จนในปี1997 จึงตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มแรกชื่อ PILGRIM โดยสำนักพิมพ์ลิตเติล บราวน์ แอนด์ คัมปะนี พร้อมด้วยคำนำจากทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ นำเสนอเรื่องราวบนเส้นทางพุทธศาสนาของเขา ที่เขาเดินทางไปกว่า 25 ปี

ทางด้านงานเพื่อสังคม เขายังเป็นกระบอกเสียงในเรื่องสิทธิมนุษยชน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนตระหนักถึงเรื่องน่าสะเทือนใจที่เกิดขึ้นก���บทิเบตภายใต้การถือครองของจีน เขายังได้ก่อตั้งมูลนิธิ เกียร์ เฟาน์เดชั่น ซึ่งคอยสนับสนุนโครงการสุขศึกษา โครงการสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ รวมไปถึงให้ความสำคัญในการประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนรับรู้ถึงภัยต่าง ๆ ที่กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าดั้งเดิมของทิเบต และยังคอยให้ความช่วยเหลือองค์ดาไลลามะ ช่วยเหลือชุมชนทิเบตพลัดถิ่น และเกียร์ยังเป็นประธานก่อตั้งองค์กรทิเบต เฮาส์ในนิวยอร์ก ในปี 1987 และออกจากองค์กรในปี 1991 เพื่อมาเป็นสมาชิกในคณะกรรมการผู้กำกับภาพยนตร์แห่งชาติรณรงค์เพื่อทิเบต และยังได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการในปี 1996 และออกแถลงในฐานะตัวแทนของทิเบตต่อหน้าสภาสูงของประเทศต่าง ๆ ทั้งยังเข้าร่วมประชุมทางด้านสิทธิมนุษยชน แถลงต่อหน้ารัฐสภาของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป รวมไปถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศและคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ อีกมากมาย

อ้างอิง

[แก้]