ไข้หวัดใหญ่สเปน
ไข้หวัดใหญ่สเปน | |
---|---|
โรค | ไข้หวัดใหญ่ |
สายพันธุ์ไวรัส | H1N1 |
สถานที่ | ทั่วโลก |
รายงานผู้ป่วยรายแรก | สหรัฐ |
วันที่ | มกราคม ค.ศ. 1918 – ธันวาคม ค.ศ. 1920 |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | ประมาณ 500 ล้านคน[1] |
เสียชีวิต | ประมาณ 17–50 ล้านคน |
การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ ค.ศ. 1918 (มกราคม ค.ศ. 1918 – ธันวาคม ค.ศ. 1920 หรือคำรู้จักว่าไข้หวัดใหญ่สเปน) เป็นการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ที่มีผู้เสียชีวิตมากผิดปกติ โดยเป็นโรคระบาดทั่วครั้งแรกจากสองครั้งที่เกี่ยวข้องกับไวรัสไข้หวัดใหญ่เอช1เอ็น1[2] มีผู้ได้รับผลกระทบ 500 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งรวมหมู่เกาะแปซิฟิกห่างไกลและอาร์กติก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 40 ล้านคน ทำให้เป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ[1][3][4][5]
การระบาดของไข้หวัดใหญ่ส่วนมากทำให้เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่อ่อนแออยู่แล้วเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่น ในทางตรงข้าม การระบาดทั่ว ค.ศ. 1918 จะทำให้ผู้ใหญ่ตอนต้นที่เดิมสุขภาพดีเสียชีวิตมาก การวิจัยสมัยใหม่โดยใช้ไวรัสที่นำมาจากศพของผู้เสียชีวิตที่ถูกแช่แข็ง สรุปว่าไวรัสทำให้เสียชีวิตได้จากไซโทไคน์สตอร์ม (คือ ปฏิกิริยามากเกินของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย) ปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของผู้ใหญ่ตอนต้นทำร้ายร่างกาย ขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าของเด็กและผู้ใหญ่วัยกลางคนทำให้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าในกลุ่มเหล่านี้[6]
ข้อมูลประวัติศาสตร์และวิทยาการระบาดไม่เพียงพอระบุแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของการระบาดทั่วนี้[1] การระบาดนี้เกี่ยวพันในการระบาดของเอ็นเซฟาไลติส ลีทาร์จิกา (encephalitis lethargica) ในคริสต์ทศวรรษ 1920[7]
นิรุกติศาสตร์
[แก้]ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะมีชื่อไข้หวัดใหญ่สเปน แต่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และการระบาดวิทยาไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของไข้หวัดใหญ่สเปนได้[1] ที่มาของชื่อ "ไข้ใหญ่หวัดสเปน" เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคระบาดจากฝรั่งเศสไปยังสเปนในเดือนพฤศจิกายน 1918[8][9] ในเวลานั้นสเปนไม่ได้เข้าร่วมสงครามยังคงเป็นกลางไว้ และไม่เคยมีการตรวจพิจารณาสื่อในช่วงสงคราม[10][11] หนังสือพิมพ์จึงมีอิสระที่จะรายงานผลกระทบของโรคระบาด เช่น กษัตริย์อัลฟองโซที่สิบสามป่วยหนัก และเรื่องราวการระบาดอย่างกว้างขวาง ข่าวเหล่านี้สร้างความความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสเปนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง[12]
เกือบหนึ่งศตวรรษหลังจากไข้หวัดใหญ่สเปนระบาดในปี 1918–1920 องค์การอนามัยโลก (WHO) เรียกร้องให้นักวิทยาศาสตร์ หน่วยงานระดับชาติ และสื่อต่าง ๆ ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีในการตั้งชื่อโรคติดเชื้อในมนุษย์ชนิดใหม่ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อประเทศชาติ เศรษฐกิจ และผู้คน[13][14] คำศัพท์สมัยใหม่ที่ใช้เรียกไวรัสนี้ ได้แก่ "การระบาดทั่วของโรคไข้หวัดใหญ่ปี 1918 (1918 influenza pandemic, 1918 flu pandemic)" หรือในรูปแบบต่าง ๆ[15][16][17]
ประวัติ
[แก้]สมมติฐานเกี่ยวกับแหล่งที่มา
[แก้]สหราชอาณาจักร
[แก้]ทฤษฎีของนักวิจัยหลายคนเชื่อว่ากองทหารสหราชอาณาจักรและโรงพยาบาลสนามในเมืองเอตาปล์ (Étaples) ในฝรั่งเศสเป็นจุดกำเนิดของไข้หวัดใหญ่สเปน ทีมนักวิจัยอังกฤษนำโดยจอห์น ออกซ์ฟอร์ด (John Oxford) นักวิทยาไวรัสได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1999[18] ในปลายปี ค.ศ. 1917 นักพยาธิวิทยากองทัพรายงานว่ามีโรคใหม่ที่มีอัตราการตายสูงซึ่งต่อมาพวกเขาได้ยืนยันว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ค่ายและโรงพยาบาลที่แออัดเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการแพร่กระจายของไวรัสระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีด้วยเคมีและจากการโจมตีอื่นๆในสงครามนับพันราย และมีทหารกว่า 100,000 คนผ่านค่ายทุกวัน นอกจากนี้ ยังเป็นบ้านของหมูและสัตว์ปีกซึ่งถูกซื้อเข้ามาเป็นประจำเพื่อเป็นเสบียงอาหารจากหมู่บ้านโดยรอบ ออกซ์ฟอร์ดและทีมของเขาตั้งสมมติฐานว่าไวรัสมีต้นกำเนิดจากนก เกิดการกลายพันธุ์และแพร่ไปยังสุกรที่อาศัยอยู่ใกล้กัน[19][20]
รายงานที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ในวารสารสมาคมการแพทย์จีน (Chinese Medical Association) พบหลักฐานว่า 1918 ไวรัส มีการแพร่กระจายในกองทัพยุโรปเป็นเวลาหลายเดือนและอาจเป็นปีก่อนที่จะมีการระบาดใหญ่ในปี ค.ศ. 1918[21]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
[แก้]ในปี ค.ศ. 2018 การศึกษาสไลด์เนื้อเยื่อและรายงานทางการแพทย์ที่นำโดยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ ไมเคิล โวโรเบย์ (Michael Worobey) พบว่ามีหลักฐานการเกิดโรคจากแคนซัส เนื่องจากมีผู้ป่วยและมีผู้เสียชีวิตน้อยเมื่อเทียบกับสถานการณ์ในนิวยอร์กซิตี้ในช่วงเวลาเดียวกัน จากการศึกษาผ่านวงศ์วานวิวัฒนาการยังพบหลักฐานว่าเชื้อไวรัสน่าจะมีต้นกำเนิดในอเมริกาเหนือแม้ว่าจะไม่ได้ข้อสรุป นอกจากนี้ ฮีแมกกูตินิน ไกลโคโปรตีน (haemagglutinin glycoproteins) ของไวรัสแสดงว่ามันเกิดและอยู่ไกลไปก่อนปี ค.ศ. 1918 และการศึกษาอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าการรวมตัวของยีนส์ของไวรัส H1N1 มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นราว ๆ ปี ค.ศ. 1915[22]
ประเทศจีน
[แก้]หนึ่งในไม่กี่ภูมิภาคของโลกที่ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี ค.ศ. 1918 คือสาธารณรัฐจีน ซึ่งอาจจะมีไข้หวัดใหญ่ฤดูเล็กน้อยในปี ค.ศ. 1918 (แม้ว่าจะมีการโต้แย้งเนื่องจากขาดข้อมูลในช่วงยุคสมัยขุนศึกของจีน) ในการศึกษาหลายชิ้นมีเอกสารที่แสดงว่ามีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ในจีนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก[23][24]<[25] สิ่งนี้นำไปสู่การคาดการณ์ว่าไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปี ค.ศ. 1918 มีต้นกำเนิดในประเทศจีน[25][24][26][27] โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ฤดูที่น้อยและอัตราการตายจากไข้หวัดใหญ่ในประเทศจีนที่ต่ำในปี ค.ศ. 1918 อาจจะอธิบายได้ว่าประชากรชาวจีนมีระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะไวรัสไข้หวัดใหญ่แล้ว[28][25][24]
ในปี ค.ศ. 1993 โคลด แฮนนาว (Claude Hannoun) ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ 1918 สถาบันปาสเตอร์ ยืนยันว่าไวรัสรูปแรกน่าจะมาจากประเทศจีนจากนั้นก็กลายพันธุ์ในสหรัฐอเมริกาใกล้กับบอสตันและจากที่นั่นแพร่กระจายไปยังแบร็สต์ ฝรั่งเศส สมรภูมิยุโรป และทั่วโลกโดยมีทหารและลูกเรือฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้แพร่[29]
ในปี ค.ศ. 2014 นักประวัติศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยเมมโมเรียลแห่งนิวฟันด์แลนด์ (Memorial University of Newfoundland) ในเซนต์จอนส์ มาร์ค ฮัมฟรีส์ (Mark Humphries) โต้แย้งว่าการระดมกลุ่มผู้ใช้แรงงานชาวจีนราว 96,000 คน เพื่อทำงานเบื้องหลังแนวรบอังกฤษและฝรั่งเศสอาจเป็นแหล่งที่มาของการระบาด ตามข้อสรุปของเขาในบันทึกที่เพิ่งเปิดเผย เขาพบหลักฐานจดหมายเหตุที่แสดงว่าโรคทางเดินหายใจเกิดขึ้นในภาคเหนือของจีนในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ถูกระบุในปีถัดไปโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจีนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สเปน[30][31]
รายงานที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2016 ในวารสารสมาคมการแพทย์จีน (Chinese Medical Association) ไม่พบหลักฐานว่าเชื้อ 1918 ไวรัสถูกนำเข้าสู่ยุโรปผ่านทหารและคนงานจีนและคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และพบหลักฐานการหมุนเวียนของไวรัสในยุโรปก่อนการระบาดแทน[21] การศึกษาปี ค.ศ. 2016 ชี้ให้เห็นว่าอัตราการตายจากไข้หวัดใหญ่ที่พบในคนงานจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุโรปต่ำ (ประมาณ 1/1000) หมายความว่าการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนในปี ค.ศ. 1918 นั้นไม่ได้เกิดจากคนงานเหล่านั้น[21]
การศึกษาในปี ค.ศ. 2018 ของสไลด์เนื้อเยื่อและรายงานทางการแพทย์นำโดยศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ ไมเคิล โวโรเบย์ (Michael Worobey) พบหลักฐานแย้งที่ว่าโรคนี้แพร่กระจายโดยคนงานชาวจีน โดยสังเกตว่าคนงานที่เข้าสู่ยุโรปผ่านเส้นทางอื่น ๆ ไม่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรค ทำให้พวกเขาไม่ใช่เจ้าบ้าน (host) ต้นกำเนิด[22]
อื่นๆ
[แก้]แฮนนาวพิจารณาสมมติฐานทางเลือกของแหล่งกำเนิด เช่น สเปน, แคนซัส, และแบร็สต์ ซึ่งอาจเป็นไปได้หรือไม่ก็ได้[29] นักวิทยาศาสตร์นโยบาย แอนดรู ไพรซ์ - สมิธ (Andrew Price-Smith) เผยแพร่ข้อมูลจาก หอจดหมายเหตุของออสเตรียที่แสดงว่าไข้หวัดใหญ่เริ่มในประเทศออสเตรียเมื่อต้นปี ค.ศ. 1917[32]
การระบาด
[แก้]เมื่อผู้ติดเชื้อจามหรือไออนุภาคไวรัสมากกว่าครึ่งล้านอนุภาคสามารถแพร่กระจายไปยังบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง[33] ค่ายทหารที่หนาแน่นและการเคลื่อนย้ายทหารจำนวนมากในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการระบาดและเพิ่มอัตราการตาย สงครามได้เพิ่มความร้ายแรงของพลังทำลายของไวรัส มีการคาดการณ์ว่าระบบภูมิคุ้มกันโรคของทหารอ่อนแอลงเนื่องจากการขาดสารอาหาร ความเครียดจากการต่อสู้ และการโจมตีทางเคมี[34][35]
ปัจจัยหลักในการเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกนี้คือการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ระบบการขนส่งสมัยใหม่ทำให้ทหาร กะลาสีและพลเรือนเดินทางได้ง่ายขึ้นและแพร่กระจายโรคได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน[36] อีกประการหนึ่ง คือการโกหกและการปฏิเสธจากรัฐบาลทำให้ประชากรไม่พร้อมที่จะรับมือกับการระบาด[37]
ในสหรัฐอเมริกา โรคนี้ถูกเฝ้าระวังเป็นครั้งแรกในแฮสเค็ลล์เคาท์ตี รัฐแคนซัส ในเดือนมกราคมปี 1918 กระตุ้นให้แพทย์ท้องถิ่นลอร์ลิ่ง มายเนอร์ (Loring Miner) ส่งคำเตือนไปยังวารสารวิชาการด้านการบริการสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา วันที่ 4 มีนาคม 1918 อัลเบิร์ต กิตเชล (Albert Gitchell) หน่วยปรุงอาหาร จากแฮสเค็ลล์เคาท์ตี ถูกรายงานว่าป่วยที่ฟอร์ทไรลีย์ ซึ่งในเวลานั้น อยู่ระหว่างการฝึกของทหารอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เขาเป็นเหยื่อรายแรกที่มีการบันทึกไว้ของไข้หวัดใหญ่[38][39][40] ในวันเดียวกันนั้น ทหาร 522 นายในค่ายถูกรายงานว่าป่วย[41]เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 1918 ไวรัสได้มาถึงควีนส์ นครนิวยอร์ก[36] ความล้มเหลวในการใช้มาตรการป้องกันในเดือนมีนาคม/เมษายนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในภายหลัง[4]
ในเดือนสิงหาคมปี 1918 สายพันธุ์ที่ดุร้ายยิ่งปรากฏขึ้นพร้อมกันในแบร็สต์ ประเทศฝรั่งเศส ในฟรีทาวน์ เซียร์ราลีโอน และในสหรัฐอเมริกา ในเดือนกันยายนที่ อู่ต่อเรือบอสตันและค่ายดีเวนส์ (Camp Devens) (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นฟอร์ตดีเวนส์ (Fort Devens)) ประมาณ 30 ไมล์ทางตะวันตกของบอสตัน ในไม่ช้า หน่วยทหารอื่นๆก็เริ่มเจ็บป่วยเช่นเดียวกับกองทหารที่ถูกส่งไปยังยุโรป[42]
อีกเรื่องที่แปลกคือ เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง (ในซีกโลกเหนือ) ซึ่งโดยปกติแล้วไข้หวัดใหญ่มักจะระบาดในฤดูหนาว[43]
อัตราการตาย
[แก้]ทั่วโลก
[แก้]มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สเปนประมาณ 500 ล้านคนทั่วโลก หรือประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลก[1] ในการประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไข้หวัดใหญ่สเปนได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในโรคระบาดร้ายแรงที่มีผู้เสียชีวิตมากสุดในประวัติศาสตร์[46][47]
การประมาณการในปี 1991 ระบุว่าไวรัสฆ่าคนไประหว่าง 25 และ 39 ล้านคน[3] การประมาณการปี 2005 ระบุจำนวนผู้เสียชีวิตที่ 50 ล้านคน (ประมาณน้อยกว่า 3% ของประชากรโลก) และอาจสูงถึง 100 ล้านคน (มากกว่า 5%)[48][5] อย่างไรก็ตาม มีการประเมินใหม่ในปี 2018 คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตจำนวนประมาณ 17 ล้านคน[49] แม้ว่าจะมีการโต้แย้งกันก็ตาม[50] ในเวลานั้นมีประชากรโลกประมาณ 1.8 ถึง 1.9 พันล้านคน[51] ประมาณการเหล่านี้ มีความสอดคล้องกันคืออยู่ระหว่าง 1 และ 6 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้คร่าชีวิตผู้คนใน 24 สัปดาห์ได้มากกว่า HIV/AIDS ในระยะเวลา 24 ปี[6] อย่างไรก็ตาม อัตราการตายต่อจำนวนประชากรยังน้อยกว่ากาฬมรณะซึ่งระบาดเป็นเวลาหลายร้อยปี[52]
โรคนี้คร่าชีวิตผู้คนไปทั่วโลก มีผู้คนราว 12-17 ล้านคนเสียชีวิตในอินเดียซึ่งประมาณ 5% ของประชากร[53] หรือเสียชีวิตอย่างน้อย 12 ล้านคน[54] ยอดผู้เสียชีวิตในเขตปกครองโดยตรงในอินเดียของอังกฤษประมาณ 13.88 ล้านคน[55]
การประมาณการยอดผู้เสียชีวิตในประเทศจีนมีความหลากหลาย[56][3] เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการขาดการรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพสู่ศูนย์กลางในช่วงเวลานั้น เนื่องจาก���ป็นสมัยขุนศึก การประเมินยอดผู้เสียชีวิตครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นในปี 1991 โดยแพตเตอร์สัน (Patterson) และไพล์ (Pyle) ซึ่งคาดว่า ในประเทศจีนจะมีผู้เสียชีวิตระหว่าง 5 - 9 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปี 1991 ภายหลังถูกวิพากษ์วิจารณ์และติเตียนจากการศึกษาในภายหลังเนื่องจากวิธีการศึกษามีข้อบกพร่อง และการศึกษาครั้งใหม่ที่ได้ตีพิมพ์ ประเมินอัตราการตายที่เกิดขึ้นในประเทศจีนต่ำกว่ามาก[23][57][58] ตัวอย่างเช่น อีจิมะ (Iijima) ในปี 1998 ประมาณการยอดผู้เสียชีวิตในประเทศจีนอยู่ระหว่าง 1 ถึง 1.28 ล้านคนจากข้อมูลที่มีอยู่ในเมืองท่าเรือของจีน[59] ตามบันทึกของวาตารุ อีจิมะ (Wataru Iijima)
"ในการศึกษา 'การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ ค.ศ. 1918' แพตเตอร์สันและไพล์ได้พยายามประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สเปนในประเทศจีนโดยรวม พวกเขาอภิปรายว่าในประเทศจีนมีผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 4.0 ถึง 9.5 ล้านคน แต่ทั้งหมดนี้ อยู่บนพื้นฐานจากการสันนิษฐานว่าอัตราการตายอยู่ที่ 1.0–2.25 เปอร์เซ็นต์ในปี 1918 เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่ยากจนคล้ายกับอินโดนีเซียและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการตายเป็นไปตามนั้น เห็นได้ชัดว่าการศึกษาของพวกเขาไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อมูลสถิติท้องถิ่นของจีน"[60]
การประมาณการยอดผู้เสียชีวิตที่ต่ำของจีนนั้นขึ้นอยู่บนพื้นฐานอัตราการตายที่ต่ำที่พบในเมืองท่าของจีน (ตัวอย่างเช่น ฮ่องกง) และจากการสันนิษฐานว่าการติดต่อสื่อสารที่ไม่ดี ช่วยป้องกันไม่ให้ไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายเข้าไปแผ่นดินใหญ่ของจีน[56] อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์และรายงานที่ทำการไปรษณีย์ร่วมสมัย รวมถึงรายงานจากแพทย์สอนศาสนา แสดงว่าไข้หวัดใหญ่ได้แทรกซึมเข้าไปภายในประเทศจีน และระบาดหนักในบางพื้นที่ในชนบทของจีน[61]
ในญี่ปุ่น มีผู้ป่วย 23 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 390,000 คนตามรายงาน[62] ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย) ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิต 1.5 ล้านคน จากพลเมือง 30 ล้านคน[63] ในตาฮีตี มีประชากรเสียชีวิต 13% ใน 1 เดือน เช่นเดียวกับ ในซามัว 22% ของประชากร 38,000 คนเสียชีวิตในสองเดือน[64]
ในนิวซีแลนด์ ไข้หวัดใหญ่คร่าชีวิตประชากรปาเกฮา (คนขาว) ไปประมาณ 6,400 คนและชาวมาวรี 2,500 คนในหกสัปดาห์ ซึ่งชาวมาวรีมีอัตราการตายเป็นแปดเท่าของชาวปาเกฮา[65][66]
ในอิหร่านมีอัตราการตายสูงมาก: ตามการประมาณการมีผู้เสียชีวิตอยู่ระหว่าง 902,400 ถึง 2,431,000 คน หรือ 8% ถึง 22% ของประชากรทั้งหมด[67]
ในสหรัฐอเมริกา ประมาณ 28% ของประชากร 105 ล้านคนติดเชื้อและ 500,000 ถึง 850,000 คนเสียชีวิต (0.48 ถึง 0.81 เปอร์เซ็นต์ของประชากร)[68] เผ่าชนพื้นเมืองอเมริกันได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ ในพื้นที่สี่มุม (Four Corners) ชนพื้นเมืองอเมริกันมีผู้เสียชีวิตที่บันทึกไว้ 3,293 คน[69] ทั้งชุมชนหมู่บ้านชาวเอสกิโมและชนพื้นเมืองอะแลสกาในดินแดนอะแลสกาได้ล่มจมตายจากไป[70] ในแคนาดาเสียชีวิต 50,000 คน[71]
ในบราซิลมีผู้เสียชีวิต 300,000 คนรวมถึงประธานาธิบดี ร็อดริกส์ อัลเวส (Rodrigues Alves)[72] ในสหราชอาณาจักรมีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ในฝรั่งเศสมีมากกว่า 400,000 คน[73]
ในกานา การระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างน้อย 100,000 คน[74] ตาฟารี มาคอนเนน (สมเด็จพระจักรพรรดิเฮลี เซลาสซี แห่งเอธิโอเปีย) เป็นหนึ่งในชาวเอธิโอเปียคนแรกที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่รอดชีวิตมาได้[75][76] แต่พลเมืองของเขาหลายรายไม่รอด ประมาณการผู้เสียชีวิตในเมืองหลวง อาดดิสอาบาบา อยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 10,000 หรือสูงกว่า[77] ในบริติชโซมาลิแลนด์ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งประเมินว่า 7% ของประชากรพื้นเมืองเสียชีวิต[78]
ในประเทศไทย การระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนคาดว่าเกิดจากทหารอาสาที่เดินทางจากยุโรปกลับมาประเทศไทย[79] โดยเริ่มขึ้นในปลายปี 1918 ที่ภาคใต้ จากข้อมูลในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กรกฎาคม 2462 เล่มที่ 36 หน้า 1193 พบว่ามีผู้ป่วยถึง 2,317,662 คน หรือ 27% ของจำนวนประชากร และเสียชีวิต 80,223 คน[80][81] รวมถึง เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถที่ทรงประชวรจนทิวงคตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่หรือปวดบวม ในปี 1920 ซึ่งคาดว่าเกิดจากไข้หวัดใหญ่สเปน[79]
ยอดผู้เสียชีวิตจำนวนมากนี้ เป็นผลมาจากอัตราการติดเชื้อที่สูงถึง 50% และความรุนแรงของอาการ ซึ่งคาดว่าเกิดจากพายุไซโตไคน์[3] อาการของโรคในปี 1918 นั้นผิดปกติ อาการแรกเริ่มทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาดเป็น ไข้เด็งกี, อหิวาตกโรค, หรือ ไข้รากสาดน้อย ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งเขียนว่า "หนึ่งในอาการที่เด่นชัดของภาวะแทรกซ้อนคือเลือดออกจากเยื่อเมือก โดยเฉพาะจากจมูก กระเพาะอาหาร และลำไส้ การมีเลือดออกจากหูและจุดเลือดออกในผิวหนังก็เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน"[48] สาเหตุหลักของการเสียชีวิตเกิดจากปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย[82][83][84] ซึ่งเป็นการติดเชื้อทุติยภูมิร่วมกับไข้หวัดใหญ่ ไวรัสยังฆ่าคนโดยตรงโดยทำให้เกิดอาการตกเลือดและอาการบวมน้ำในปอด[84]
รูปแบบของการเสียชีวิต
[แก้]ในภาวะระบาดทั่ว ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ในปี 1918–1919 99% ของการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปี และเกือบครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตเป็นผู้มีอายุ 20 ถึง 40 ปี ซึ่งคาดว่าผู้สูงอายุอาจมีการป้องกันกันบางส่วนที่เกิดจากการสัมผัสกับการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในปี 1889–1890 หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย"[85] ในปี 1920 ในอัตราการตายในหมู่คนที่อายุต่ำกว่า 65 ปีได้ลดลงจากหกเท่าเหลือครึ่งหนึ่งของอัตราการตายของคนที่อายุมากกว่า 65 ปี แต่ 92% ของการเสียชีวิตยังคงเกิดขึ้นในคนที่อายุต่ำกว่า 65 ปี[86] นี่เป็นเรื่องผิดปกติอย่างยิ่ง เนื่องจากไข้หวัดใหญ่มักเป็นอันตรายถึงคนที่อ่อนแอ เช่น ทารกที่มีอายุต่ำกว่าสองปี คนชราที่อายุมากกว่า 70 ปี และผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ตามข้อมูลของนักประวัติศาสตร์ จอห์น เอ็ม. แบร์รี (John M. Barry) กลุ่มเสี่ยงที่สุดที่จะเสียชีวิตคือหญิงตั้งครรภ์ เขารายงานว่าในการศึกษาสิบสามชิ้นของผู้หญิงที่เข้ารับการรักษาในช่วงของการระบาดมีอัตราการตายอยู่ระหว่าง 23% ถึง 71%[87] หญิงตั้งครรภ์ที่รอดชีวิตเมื่อคลอดบุตร หนึ่งในสี่ (26%) จะสูญเสียบุตรไป[88]
จากการวิเคราะห์สมัยใหม่แสดงให้เห็นว่าไวรัสมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต เพราะมันก่อให้เกิดพายุไซโตไคน์ (ปฏิกิริยารุนแรงเกินไปของระบบภูมิคุ้มกัน) ซึ่งจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของคนหนุ่มสาว[89] นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ทำการกู้คืนไวรัสจากร่างของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกแช่แข็งไว้แล้วนำเอาสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์ของสัตว์ สัตว์เหล่านี้ประสบกับความทุกข์ทรมานจากการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตด้วยพายุไซโตไคน์ มีการตั้งสมมุติฐานว่าปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่รุนแรงของคนหนุ่มสาวได้เป็นตัวการในการทำลายร่างกาย ในขณะที่ในเด็กและผู้ใหญ่วัยกลางคนมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่อ่อนกว่า ส่งผลให้เสียชีวิตน้อยกว่าในกลุ่มเหล่านั้น[6][90]
ในกรณีที่อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว การเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากโรคปอดบวม โดยมีอาการปอดแข็งตัวร่วมกับการติดเชื้อไวรัส ในกรณีที่อาการป่วยค่อยเป็นค่อยไปจะเป็นปอดอักเสบจากแบคทีเรียทุติยภูมิและอาจกระทบถึงระบบประสาทซึ่งนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตในบางกรณี การเสียชีวิตบางส่วนเกิดจากการขาดสารอาหาร
การตายระลอกสอง
[แก้]การระบาดทั่วระลอกที่สองในปี 1918 นั้นร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตมากยิ่งกว่าครั้งแรก การระบาดรอบแรกนั้นคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ขณะที่ผู้ที่ยังเด็ก ผู้มีสุขภาพแข็งแรงหายป่วยได้ง่าย เดือนสิงหาคม เมื่อการระบาดระลอกที่สองเริ่มขึ้นในฝรั่งเศส เซียร์ราลีโอน และสหรัฐอเมริกา[91] ไวรัสได้กลายพันธุ์ในสายพันธุ์ที่อันตรายกว่าเดิมมาก ตุลาคม 1918 เป็นเดือนที่มีอัตราการตายสูงที่สุดของการระบาด[92]
ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นนี้มีสาเหตุมาจากสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[93] ในการดำรงชีวิตของพลเรือน การคัดเลือกโดยธรรมชาติสนับสนุนไวรัสสายพันธุ์อ่อน ผู้ที่ป่วยหนักพักรักษาตัวอยู่บ้าน ไวรัสสายพันธุ์อ่อนก็ดำรงวงจรชีวิต และแพร่กระจายสายพันธุ์อ่อนต่อไป ในสนามเพลาะ การคัดเลือกโดยธรรมชาติกลับตรงกันข้าม ทหารที่มีไวรัสสายพันธุ์อ่อนอยู่ในที่ที่พวกเขาอยู่ ในขณะที่ผู้ป่วยหนักถูกส่งตัวโดยรถไฟที่มีคนหนาแน่นไปโรงพยาบาลสนามที่มีผู้คนหนาแน่น และกระจายเชื้อไวรัสร้ายแรงออกไป การระบาดระลอกสองเริ่มขึ้น และไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ดังนั้น ผลที่สุดก็คือ ในช่วงการระบาดทั่ว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความสนใจเมื่อไวรัสมาถึงสถานที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ทางสังคม (มองหาไวรัสสายพันธุ์ร้ายแรง)[94]
ความจริงที่ว่าคนส่วนใหญ่ที่หายจากการติดเชื้อจากการระบาดรอบแรกได้มีภูมิคุ้มกัน แสดงให้เห็นว่ามันจะต้องเป็นไข้หวัดสายพันธุ์เดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในโคเปนเฮเกนซึ่งมีอัตราการตายรวมกันเพียง 0.29% (0.02% ในรอบแรกและ 0.27% ในรอบที่สอง) เพราะได้รับเชื้อจากการระบาดรอบแรกที่อันตรายน้อยกว่า[95] สำหรับอัตราการตายของประชากรในการระบาดรอบที่สองที่มากกว่านั้น เกิดจากกลุ่มเสี่ยง เช่น ทหารในสนามเพลาะ[96]
ระลอกที่สามปี 1919 และระลอกที่สี่ปี 1920
[แก้]ในเดือนมกราคม 1919 ไข้หวัดใหญ่สเปนระลอกที่สามได้ระบาดที่ออสเตรเลีย จากนั้นก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกาจนถึงเดือนมิถุนายนปี 1919[97][98][99] ประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบได้แก่ สเปน, เซอร์เบีย, เม็กซิโก และบริเตนใหญ่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน[100] แม้การระบาดระลอกสามจะรุนแรงน้อยกว่าระลอกที่สอง แต่ก็ยังมีผู้เสียชีวิตมากกว่าระลอกแรก
ในฤดูใบไม้ผลิปี 1920 มีการระบาดเล็ก ๆ เกิดขึ้นเป็นระลอกที่สี่[101] ในพื้นที่โดดเดี่ยวประกอบด้วย มหานครนิวยอร์ก [102] สหราชอาณาจักร, ออสเตรีย, สแกนดิเนเวีย และบางเกาะในหมู่เกาะอเมริกาใต้[103] มีอัตราการตายต่ำมาก
ชุมชนที่ถูกทำลาย
[แก้]พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย
[แก้]แอสไพรินเป็นพิษ
[แก้]ในปี 2009 ในบทความที่ตีพิมพ์ใน Clinical Infectious Diseases (วารสารโรคติดเชื้อทางคลินิก) คาเรน สตาร์โค (Karen Starko) เสนอว่าแอสไพรินเป็นพิษมีส่วนสำคัญต่อการเสียชีวิต บนพื้นฐานจากรายงานการชันสูตรพลิกศพผู้ที่เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ในช่วงเวลา "death spike" ครั้งใหญ่ในเดือนตุลาคม 1918 ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานหลังจากแพทย์ทหารของกองทัพสหรัฐและ Journal of the American Medical Association แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินปริมาณมากขนาด 8 ถึง 31 กรัมต่อวันเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ยาปริมาณนี้ทำให้ผู้ป่วย 33% เกิดอาหารหายใจเร็วกว่าปกติ และผู้ป่วย 3% เกิดอาการปอดบวมน้ำ[104]
สตาร์โกยังตั้งข้อสังเกตว่าการเสียชีวิตจำนวนมากในช่วงแรกแสดงให้เห็นว่าปอดมีน้ำหรือมีน้ำเลือดซึมซ่าน ในขณะที่ผู้เสียชีวิตในช่วงปลายแสดงอาการปอดอักเสบจากแบคทีเรีย เธอกล่าวว่าเหตุการณ์แอสไพรินเป็นพิษเป็นเพราะ "พายุมหาประลัย" ของเหตุการณ์สิทธิบัตรยาแอสไพรินของไบเออร์หมดอายุ หลายบริษัทรีบวิ่งเข้าไปทำกำไรและเพิ่มอุปทาน ซึ่งเกิดขึ้นใกล้เคียงกับเหตุการณ์ไข้หวัดใหญ่สเปน และอาการของแอสไพรินเป็นพิษยังไม่เป็นที่รู้จักในเวลานั้น[104]
สมมติฐานอัตราการตายทั่วโลกที่สูงนั้นเกิดจากแอสไพรินเป็นพิษนี้ถูกตั้งคำถามในจดหมายถึงวารสารที่ตีพิมพ์ในเดือนเมษายน 2010 โดย แอนดรูว์ นอยเมอร์ (Andrew Noymer) และ เดซี่ แคาร์รออน (Daisy Carreon) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ และ นีล จอห์นสัน (Niall Johnson) คณะกรรมาธิการความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลสุขภาพออสเตรเลีย พวกเขาตั้งคำถามถึงทฤษฎีการใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางของแอสไพริน เนื่องจากอัตราการตายสูงในประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ที่มีแอสไพรินน้อยหรือไม่มีการเข้าถึงเลย เมื่อเทียบกับอัตราการตายในบางสถานที่ที่แอสไพรินมีมากมาย[105]
พวกเขาสรุปว่า "การตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับซาลิไซลิก (แอสไพริน) เป็นพิษ เป็นเรื่องยากที่จะสนับสนุนซึ่งคำอธิบายปฐมภูมิสำหรับความรุนแรงที่ผิดปกติของการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่ในปี 1918–1919"[105] สตาร์โกตอบโต้โดยกล่าวว่ามีหลักฐานโดยเรื่องเล่าของการใช้แอสไพรินในประเทศอินเดีย และเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ถ้าการใช้แอสไพรินเกินกำหนดไม่ได้มีส่วนทำให้อัตราการตายในอินเดียสูง แต่มันคงเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอัตราการตายที่สูง ในพื้นที่ที่ปัจจัยรุนแรงอื่นๆที่มีอยู่ในอินเดียมีบทบาทน้อย[106]
จุดสิ้นสุดของการระบาด
[แก้]หลังจากการระบาดรุนแรงรอบที่สองในช่วงปลายปี 1918 ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงอย่างฉับพลัน แทบจะไม่ผู้ป่วยเลยหลังจากผ่านจุดระบาดสูงสุดในคลื่นลูกที่สอง[6] ตัวอย่างเช่นในฟิลาเดลเฟีย มีผู้เสียชีวิต 4,597 รายเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ในวันที่ 16 ตุลาคม แต่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนไข้หวัดใหญ่กลับหายตัวไปจากเมืองอย่างไร้ร่องรอย คำอธิบายหนึ่งสำหรับการลดลงอย่างรวดเร็วของโรคนี้คือ แพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการป้องกันและรักษาโรคปอดบวมที่พัฒนาขึ้นหลังจากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตาม จอห์น แบร์รี่ (John Barry) ระบุไว้ในหนังสือ The Great Influenza: The Epic Story of the Deadliest Plague In History ของเขาว่า นักวิจัยไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนคำอธิบายนี้[89] ยังมีบางกรณีที่ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตในมีนาคม 1919 ผู้เล่นคนหนึ่งในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศถ้วยสแตนลีย์ 1919 ได้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สเปน
อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเชื้อ 1918 ไวรัส ได้กลายพันธุ์อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีความร้ายแรงน้อยลง นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วไปกับไวรัสไข้หวัดใหญ่กล่าวคือ มีแนวโน้มว่าไวรัสก่อโรคจะมีความร้ายแรงน้อยลงตามกาลเวลา เนื่องจากโฮสต์ของสายพันธุ์ที่อันตรายกว่ามีแนวโน้มที่จะตายจากไปจนหมด[89]
ผลกระทบระยะยาว
[แก้]จากการศึกษาปี 2006 ใน Journal of Political Economy (วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง) พบว่า "เด็���ในครรภ์ระหว่างการระบาดทั่วจะมีความสำเร็จทางการศึกษาลดลง, อัตราความพิการทางร่างกายเพิ่มขึ้น, รายได้ลดลง, สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตกต่ำ, และได้รับเงินโอนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นอื่น"[107] จากการศึกษาปี 2018 พบว่าการระบาดใหญ่ลดความสำเร็จทางการศึกษาในประชากร[108]
ไข้หวัดใหญ่มีความเชื่อมโยงกับการระบาดของสมองอักเสบแบบไม่เคลื่อนไหวในคริสต์ทศวรรษที่ 1920[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Taubenberger & Morens 2006.
- ↑ Institut Pasteur. La Grippe Espagnole de 1918 (Powerpoint presentation in French).
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Patterson & Pyle 1991.
- ↑ 4.0 4.1 Billings 1997.
- ↑ 5.0 5.1 Johnson & Mueller 2002.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Barry 2004.
- ↑ 7.0 7.1 Vilensky, Foley & Gilman 2007.
- ↑ Porras-Gallo & Davis 2014.
- ↑ Galvin 2007.
- ↑ "Spanish flu facts". Channel 4 News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2010.
- ↑ Anderson, Susan (29 สิงหาคม 2006). "Analysis of Spanish flu cases in 1918–1920 suggests transfusions might help in bird flu pandemic". American College of Physicians. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2011.
- ↑ Barry 2004, p. 171.
- ↑ Harvey, Josephine (18 มีนาคม 2020). "Yes, Viruses Used To Be Named After Places. Here's Why They Aren't Anymore". สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2020.
- ↑ "WHO issues best practices for naming new human infectious diseases". World Health Organization. 8 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2020.
- ↑ "Pandemic influenza: an evolving challenge". World Health Organization. 22 พฤษภาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2020.
- ↑ "Influenza pandemic of 1918–19". Encyclopaedia Britannica. 4 มีนาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2020.
- ↑ Chodosh, Sara (18 มีนาคม 2020). "What the 1918 flu pandemic can teach us about COVID-19, in four charts". PopSci. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2020.
- ↑ "EU Research Profile on Dr. John Oxford". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009.
- ↑ Connor, Steve (8 มกราคม 2000). "Flu epidemic traced to Great War transit camp". The Guardian. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009.
- ↑ Oxford JS, Lambkin R, Sefton A, Daniels R, Elliot A, Brown R, Gill D (มกราคม 2005). "A hypothesis: The conjunction of soldiers, gas, pigs, ducks, geese, and horses in northern France during the Great War provided the conditions for the emergence of the "Spanish" influenza pandemic of 1918–1919" (PDF). Vaccine. 23 (7): 940–945. doi:10.1016/j.vaccine.2004.06.035. PMID 15603896. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2020.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Shanks GD (มกราคม 2016). "No evidence of 1918 influenza pandemic origin in Chinese laborers/soldiers in France". Journal of the Chinese Medical Association. 79 (1): 46–48. doi:10.1016/j.jcma.2015.08.009. PMID 26542935.
- ↑ 22.0 22.1 Michael Worobey; Jim Cox; Douglas Gill. "The origins of the great pandemic". Evolution, Medicine, and Public Health. 2019 (1): 18–25.
- ↑ 23.0 23.1 Killingray, David; Phillips, Howard (2003). The Spanish Influenza Pandemic of 1918–1919: New Perspectives (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-134-56640-2.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Langford, Christopher (กันยายน 2005). "Did the 1918-19 Influenza Pandemic Originate in China?". Population and Development Review. 31 (3): 473–505. doi:10.1111/j.1728-4457.2005.00080.x. JSTOR 3401475.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Cheng, K.F. (กรกฎาคม 2007). "What happened in China during the 1918 influenza pandemic?". International Journal of Infectious Diseases. 11 (4): 360–364. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2020.
- ↑ Klein, Christopher. "China Epicenter of 1918 Flu Pandemic, Historian Says". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2020.
- ↑ Vergano, Dan. "1918 Flu Pandemic That Killed 50 Million Originated in China, Historians Say". National Geographic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2020.
- ↑ Saunders-Hastings, Patrick R.; Krewski, Daniel (6 ธันวาคม 2016). "Reviewing the History of Pandemic Influenza: Understanding Patterns of Emergence and Transmission". Pathogens. 5 (4): 66. doi:10.3390/pathogens5040066. ISSN 2076-0817. PMC 5198166. PMID 27929449.
- ↑ 29.0 29.1 Hannoun, Claude (1993). "La Grippe". Documents de la Conférence de l'Institut Pasteur. La Grippe Espagnole de 1918. Ed Techniques Encyclopédie Médico-Chirurgicale (EMC), Maladies infectieuses.
- ↑ Humphries 2014.
- ↑ Vergano, Dan (24 มกราคม 2014). "1918 Flu Pandemic That Killed 50 Million Originated in China, Historians Say". National Geographic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2014. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ Price-Smith 2008.
- ↑ Sherman IW (2007). Twelve diseases that changed our world. Washington, DC: ASM Press. p. 161. ISBN 978-1-55581-466-3.
- ↑ Qureshi 2016, p. 42.
- ↑ Ewald 1994.
- ↑ 36.0 36.1 "Spanish flu strikes during World War I". 14 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2013.
- ↑ Illing, Sean (20 มีนาคม 2020). "The most important lesson of the 1918 influenza pandemic: Tell the damn truth". Vox (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2020.
John M. Barry : The government lied. They lied about everything. We were at war and they lied because they didn’t want to upend the war effort. You had public health leaders telling people this was just the ordinary flu by another name. They simply didn’t tell the people the truth about what was happening.
- ↑ Barry JM (January 2004). "The site of origin of the 1918 influenza pandemic and its public health implications". Journal of Translational Medicine. 2 (1): 3. doi:10.1186/1479-5876-2-3. PMC 340389. PMID 14733617.
- ↑ Bynum B (14 มีนาคม 2009). "Stories of an influenza pandemic" (PDF). The Lancet. 373 (9667): 885–886. doi:10.1016/s0140-6736(09)60530-4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2018.
- ↑ Rego Barry, Rebecca (13 พฤศจิกายน 2018). "Exhuming the Flu". Distillations. Science History Institute. 4 (3): 40–43. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "1918 Flu (Spanish flu epidemic)". Avian Bird Flu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2008.
- ↑ Byerly CR (เมษายน 2010). "The U.S. military and the influenza pandemic of 1918-1919". Public Health Rep. 125 (Suppl 3): 82–91. PMC 2862337. PMID 20568570.
- ↑ "Key Facts about Swine Influenza". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2009.
- ↑ Taubenberger & Morens 2006, pp. 15–22.
- ↑ CDC 2009.
- ↑ "Ten things you need to know about pandemic influenza (update of 14 October 2005)" (PDF). Weekly Epidemiological Record (Relevé Épidémiologique Hebdomadaire). 80 (49–50): 428–431. 9 ธันวาคม 2005. PMID 16372665.
- ↑ Jilani, TN; Jamil, RT; Siddiqui, AH (14 ธันวาคม 2019). "H1N1 Influenza (Swine Flu)". NCBI. PMID 30020613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2020.
- ↑ 48.0 48.1 Knobler 2005.
- ↑ P. Spreeuwenberg; และคณะ (1 December 2018). "Reassessing the Global Mortality Burden of the 1918 Influenza Pandemic". American Journal of Epidemiology. 187 (12): 2561–2567. doi:10.1093/aje/kwy191. PMID 30202996.
- ↑ Chandra, Siddharth; Christensen, Julia (2 March 2019). "Re: "reassessing the Global Mortality Burden of the 1918 Influenza Pandemic"". Am. J. Epid. 188 (7): 1404–1406. doi:10.1093/aje/kwz044. PMID 30824934. and response Spreeuwenberg, Peter; Kroneman, Madelon; Paget, John (2 มีนาคม 2019). "The Authors Reply" (PDF). Am. J. Epid. 188 (7): 1405–1406. doi:10.1093/aje/kwz041. PMID 30824908. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2020.
- ↑ "Historical Estimates of World Population". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2013.
- ↑ Robinson Meyer (29 เมษายน 2016). "Human extinction isn't that unlikely". The Atlantic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ Mayor, S. (2000). "Flu experts warn of need for pandemic plans". British Medical Journal. 321 (7265): 852. doi:10.1136/bmj.321.7265.852. PMC 1118673. PMID 11021855.
- ↑ David Arnold, "Dearth and the Modern Empire: The 1918–19 Influenza Epidemic in India," Transactions of the Royal Historical Society 29 (2019): 181-200.
- ↑ Chandra, Kuljanin & Wray 2012.
- ↑ 56.0 56.1 Iijima, W. (2003). "Spanish influenza in China, 1918–1920: a preliminary probe". ใน Phillips, H.; Killingray, D. (บ.ก.). The Spanish Flu Pandemic of 1918: New Perspectives. London and New York: Routledge. pp. 101–109.
- ↑ Iijima, Wataru (1998). The Spanish influenza in China, 1918–1920 (ภาษาอังกฤษ). OCLC 46987588.
- ↑ Langford, Christopher (2005). "Did the 1918–19 Influenza Pandemic Originate in China?". Population and Development Review (ภาษาอังกฤษ). 31 (3): 473–505. doi:10.1111/j.1728-4457.2005.00080.x. ISSN 1728-4457.
- ↑ Iijima, Wataru (1998). The Spanish influenza in China, 1918-1920. Spanish 'Flu 1918-1998: Reflections on the Influenza Pandemic of 1918 after 80 Years. Cape Town, South Africa.
- ↑ Killingray, David; Phillips, Howard (2003). The Spanish Influenza Pandemic of 1918–1919: New Perspectives (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-134-56640-2.
- ↑ Spinney, Laura (2017). Pale rider – The Spanish flu of 1918 and how it changed the world. pp. 167–169. ISBN 978-1-910702-37-6.
- ↑ "Spanish Influenza in Japanese Armed Forces, 1918–1920". Centers for Disease Control and Prevention (CDC).
- ↑ Emmy Fitri (28 ตุลาคม 2009). "Looking Through Indonesia's History For Answers to Swine Flu". The Jakarta Globe. University of Indonesia, School of History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ Kohn 2007.
- ↑ "1918 flu centenary: How to survive a pandemic" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2019.
- ↑ Rice, Geoffrey; Bryder, Linda. Black November: the 1918 influenza pandemic in New Zealand (Second, revised and enlarged ed.). Christchurch, N.Z. ISBN 978-1927145913. OCLC 960210402.
- ↑ Afkhami 2003; Afkhami 2012.
- ↑ The Great Pandemic: The United States in 1918–1919, U.S. Department of Health & Human Services.
- ↑ "Flu Epidemic Hit Utah Hard in 1918, 1919". 28 มีนาคม 1995. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012.
- ↑ "The Great Pandemic of 1918: State by State". 5 มีนาคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009.
- ↑ "A deadly virus rages throughout Canada at the end of the First World War". CBC History.
- ↑ "A gripe espanhola no Brasil – Elísio Augusto de Medeiros e Silva, empresário, escritor e membro da AEILIJ" (ภาษาโปรตุเกส). Jornal de Hoje. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2014.
- ↑ "The "bird flu" that killed 40 million". BBC News. 19 ตุลาคม 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2009.
- ↑ Hays 1998.
- ↑ Marcus, Harold (1996). Haile Sellassie I: The formative years, 1892–1936. Trenton, NJ: Red Sea Press. pp. 36ff.
- ↑ Pankhurst 1991, pp. 48f.
- ↑ Pankhurst 1991, p. 63.
- ↑ Pankhurst 1991, pp. 51ff.
- ↑ 79.0 79.1 กรกิจ ดิษฐาน (19 มีนาคม 2020). "วันที่โรคระบาดบุกสยาม เกิดอะไรขึ้นเมื่อคนไทย2ล้านคนติดเชื้อ". โพสต์ทูเดย์.
- ↑ "ย้อนตำนาน "ไข้หวัดสเปน" ฆ่าคนไทย 8หมื่นคน". ฐานเศรษฐกิจ. 3 เมษายน 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-10. สืบค้นเมื่อ 2023-07-10 – โดยทาง Thai.ac.
- ↑ 3 นาทีคดีดัง : 102 ปี “ไข้หวัดสเปน” ฆ่าคนไทย 8 หมื่น ทั่วโลก 50 ล้าน!, ไทยรัฐออนไลน์, 24 เม.ย. 2563
- ↑ Morris, Denise E.; Cleary, David W.; Clarke, Stuart C. (2017). "Secondary Bacterial Infections Associated with Influenza Pandemics". Frontiers in Microbiology. 8. doi:10.3389/fmicb.2017.01041. ISSN 1664-302X.
- ↑ "Bacterial Pneumonia Caused Most Deaths in 1918 Influenza Pandemic". National Institutes of Health. 23 กันยายน 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2016.
- ↑ 84.0 84.1 Taubenberger et al. 2001, pp. 1829–1839.
- ↑ Hanssen, Olav. Undersøkelser over influenzaens optræden specielt i Bergen 1918–1922. Bg. 1923. 66 s. ill. (Haukeland sykehus. Med. avd. Arb. 2) (Klaus Hanssens fond. Skr. 3)
- ↑ Simonsen et al. 1998.
- ↑ Payne MS, Bayatibojakhi S (2014). "Exploring preterm birth as a polymicrobial disease: an overview of the uterine microbiome". Frontiers in Immunology. 5: 595. doi:10.3389/fimmu.2014.00595. PMC 4245917. PMID 25505898.
- ↑ Barry 2004, p. 239.
- ↑ 89.0 89.1 89.2 Barry 2004b.
- ↑ "1918 Death Certificate for 10-year-old girl who died as a consequence of influenza in Lares, Puerto Rico".
- ↑ Science and Technology Committee (16 ธันวาคม 2005). Pandemic Influenza (PDF) (Report). Report of Session 2005–2006. Vol. 4th. UK House of Lords. HL Paper 88. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009.
- ↑ Influenza 1918 episode (TV production). American Experience season 10. PBS. 1997–1998.
- ↑ Gladwell 1997, p. 55.
- ↑ Gladwell 1997, p. 63.
- ↑ Fogarty International Center. "Summer Flu Outbreak of 1918 May Have Provided Partial Protection Against Lethal Fall Pandemic". Fic.nih.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012.
- ↑ Gladwell 1997, p. 56.
- ↑ Why the Second Wave of the 1918 Spanish Flu Was So Deadly History.com - Retrieved 8 May 2020
- ↑ Radusin, Milorad (2012). "The Spanish Flu – Part II: the second and third wave". Vojnosanitetski pregled. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2020.
- ↑ "1918 Pandemic Influenza: Three Waves". Centers for Disease Control and Prevention. 11 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2020.
- ↑ Najera RF (2 มกราคม 2019). "Influenza in 1919 and 100 Years Later". College of Physicians of Philadelphia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2020.
- ↑ Erkoreka, Anton (30 พฤศจิกายน 2009). "Origins of the Spanish Influenza pandemic (1918–1920) and its relation to the First World War". Journal of Molecular and Genetic Medicine : An International Journal of Biomedical Research. National Institutes of Health. 3 (2): 190–94. doi:10.4172/1747-0862.1000033. PMC 2805838. PMID 20076789.
- ↑ Yang W, Petkova E, Shaman J (มีนาคม 2014). "The 1918 influenza pandemic in New York City: age-specific timing, mortality, and transmission dynamics". Influenza and Other Respiratory Viruses. National Institutes of Health. 8 (2): 177–88. doi:10.1111/irv.12217. PMC 4082668. PMID 24299150.
- ↑ "How the 1918 flu pandemic rolled on for years: a snapshot from 1920". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2020.
- ↑ 104.0 104.1 Starko 2009.
- ↑ 105.0 105.1 Noymer, Carreon & Johnson 2010.
- ↑ Starko 2010.
- ↑ Almond, Douglas (1 August 2006). "Is the 1918 Influenza Pandemic Over? Long‐Term Effects of In Utero Influenza Exposure in the Post‐1940 U.S. Population". Journal of Political Economy. 114 (4): 672–712. doi:10.1086/507154. ISSN 0022-3808.
- ↑ Beach, Brian; Ferrie, Joseph P.; Saavedra, Martin H. (มิถุนายน 2018). "Fetal shock or selection? The 1918 influenza pandemic and human capital development". NBER Working Paper (24725). doi:10.3386/w24725. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2018.
บรรณานุกรม
[แก้]- Afkhami A (2003). "Compromised constitutions: the Iranian experience with the 1918 influenza pandemic". Bulletin of the History of Medicine. 77 (2): 367–92. doi:10.1353/bhm.2003.0049. PMID 12955964. S2CID 37523219. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2017. – Open access material by the Psychiatry and Behavioral Sciences at Health Sciences Research Commons.
- Afkhami A (29 มีนาคม 2012) [15 December 2004]. "Influenza". ใน Yarshater E (บ.ก.). Encyclopædia Iranica. Fasc. 2. Vol. XIII (Online ed.). New York City: Bibliotheca Persica Press. pp. 140–43. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2017.
- Barry JM (2004). The Great Influenza: The Epic Story of the Greatest Plague in History. Viking Penguin. ISBN 978-0-670-89473-4.
- Barry JM (มกราคม 2004b). "The site of origin of the 1918 influenza pandemic and its public health implications". Journal of Translational Medicine. 2 (1): 3. doi:10.1186/1479-5876-2-3. PMC 340389. PMID 14733617.
- Billings M (1997). "The 1918 Influenza Pandemic". Virology at Stanford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009.
- CDC (2009). "1918 Influenza: the Mother of All Pandemics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2009.
- Chandra S, Kuljanin G, Wray J (สิงหาคม 2012). "Mortality from the influenza pandemic of 1918–1919: the case of India". Demography. 49 (3): 857–65. doi:10.1007/s13524-012-0116-x. PMID 22661303. S2CID 39247719.
- Ewald PW (1994). Evolution of infectious disease. OUP. ISBN 978-0-19-506058-4.
- Galvin J (31 กรกฎาคม 2007). "Spanish Flu Pandemic: 1918". Popular Mechanics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2011.
- Gladwell M (29 กันยายน 1997). "The Dead Zone". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2020.
- Hays JN (1998). The Burdens of Disease: Epidemics and Human Response in Western History. p. 274. ISBN 978-0-8135-2528-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2020 – โดยทาง Google Books.
- Humphries MO (2014). "Paths of Infection: The First World War and the Origins of the 1918 Influenza Pandemic". War in History. 21 (1): 55–81. doi:10.1177/0968344513504525. S2CID 159563767.
- Johnson NP, Mueller J (2002). "Updating the accounts: global mortality of the 1918–1920 "Spanish" influenza pandemic". Bulletin of the History of Medicine. 76 (1): 105–15. doi:10.1353/bhm.2002.0022. PMID 11875246. S2CID 22974230.
- Knobler S, Mack A, Mahmoud A, Lemon S, บ.ก. (2005). "1: The Story of Influenza". The Threat of Pandemic Influenza: Are We Ready? Workshop Summary (2005). Washington, DC: The National Academies Press. pp. 60–61. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2019.
- Kohn GC (2007). Encyclopedia of plague and pestilence: from ancient times to the present (3rd ed.). Infobase Publishing. p. 363. ISBN 978-0-8160-6935-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2015 – โดยทาง Google Books.
- Noymer A, Carreon D, Johnson N (เมษายน 2010). "Questioning the salicylates and influenza pandemic mortality hypothesis in 1918–1919". Clinical Infectious Diseases. 50 (8): 1203, author reply 1203. doi:10.1086/651472. PMID 20233050.
- Pankhurst R (1991). An Introduction to the Medical History of Ethiopia. Trenton: Red Sea Press. ISBN 978-0-932415-45-5.
- Patterson KD, Pyle GF (1991). "The geography and mortality of the 1918 influenza pandemic". Bulletin of the History of Medicine. 65 (1): 4–21. PMID 2021692.
- Porras-Gallo M, Davis RA, บ.ก. (2014). "The Spanish Influenza Pandemic of 1918–1919: Perspectives from the Iberian Peninsula and the Americas". Rochester Studies in Medical History. Vol. 30. University of Rochester Press. ISBN 978-1-58046-496-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2020 – โดยทาง Google Books.
- Price-Smith AT (2008). Contagion and Chaos. Cambridge, MA: MIT Press. ISBN 978-0-262-66203-1.
- Qureshi AI (2016). Ebola Virus Disease: From Origin to Outbreak. Academic Press. ISBN 978-0-12-804242-7 – โดยทาง Google Books.
- Simonsen L, Clarke MJ, Schonberger LB, Arden NH, Cox NJ, Fukuda K (กรกฎาคม 1998). "Pandemic versus epidemic influenza mortality: a pattern of changing age distribution". The Journal of Infectious Diseases. 178 (1): 53–60. CiteSeerX 10.1.1.327.2581. doi:10.1086/515616. JSTOR 30114117. PMID 9652423.
- Starko KM (พฤศจิกายน 2009). "Salicylates and pandemic influenza mortality, 1918-1919 pharmacology, pathology, and historic evidence". Clinical Infectious Diseases. 49 (9): 1405–10. doi:10.1086/606060. PMID 19788357. ("summary". Infectious Diseases Society of America. ScienceDaily. 3 October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2021.
- Starko KM (2010). "Reply to Noymer et al". Clinical Infectious Diseases. 50 (8): 1203–04. doi:10.1086/651473.
- Taubenberger JK, Reid AH, Janczewski TA, Fanning TG (ธันวาคม 2001). "Integrating historical, clinical and molecular genetic data in order to explain the origin and virulence of the 1918 Spanish influenza virus". Philosophical Transactions of the Royal Society of London. Series B, Biological Sciences. 356 (1416): 1829–39. doi:10.1098/rstb.2001.1020. PMC 1088558. PMID 11779381.
- Taubenberger JK, Morens DM (มกราคม 2006). "1918 Influenza: the mother of all pandemics". Emerging Infectious Diseases. 12 (1): 15–22. doi:10.3201/eid1201.050979. PMC 3291398. PMID 16494711.
- Vilensky JA, Foley P, Gilman S (สิงหาคม 2007). "Children and encephalitis lethargica: a historical review". Pediatric Neurology. 37 (2): 79–84. doi:10.1016/j.pediatrneurol.2007.04.012. PMID 17675021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]