ข้ามไปเนื้อหา

แฟรงก์ สเตลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
แฟรงค์ สเตลลา
เกิดแฟรงค์ ฟิลิป สเตลลา
12 พฤษภาคม ค.ศ. 1836(1836-05-12)
เมืองมาลเดน, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา
อาชีพจิตรกร, ช่างพิมพ์, ประติมากร, สถาปนิก
สัญชาติอเมริกัน
แนวร่วมในทางวรรณคดีเรขาคณิตนามธรรม(Geometric abstraction), ภาพวาดแนวสีขาวดำ(Monochrome painting)
คู่สมรสบาร์บารา โรส

แฟรงก์ สเตลลา (อังกฤษ: Frank Stella) เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1936 เขาเป็นทั้งจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวอเมริกัน อยู่ในกระแสศิลปะแบบมินิมอล และกระแสภาพหลังนามธรรม (Post-painterly abstraction)

ประวัติ

[แก้]

แฟรงก์ สเตลลา เกิดที่เมืองมาลเดน ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ่อแม่สืบเชื้อสายอิตาเลียน[1] หลังจากนั้นเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สถาบันการศึกษาฟิลลิปส์ ในเมืองแอนโดเวอร์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้เข้าศึกษาสาขาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน จบการศึกษาในปี 1958 และมุ่งเข้าสู่รัฐนิวยอร์กในปีเดียวกันนั้นเอง[2]จึงพบกับดาร์บี้ แบนนาร์ด และ ไมเคิล ฟายด์ เขาศึกษางานและพัฒนาตนเองจากอิทธิพลกระแสลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม (abstract expressionism) ของแจ็คสัน พอลล็อก และฟรานซ์ ไคลน์ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่น่าจับตามองที่สุดของศิลปินชาวอเมริกันจนถึงทุกวันนี้ และถูกประกาศให้เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแนวนามธรรม ที่ไม่ใช่แค่ภาพวาดที่เกี่ยวกับภาพประกอบ หรือเกี่ยวกับจิตวิทยา หรือเชิงอุปมาที่อ้างอิงอยู่ในภาพวาดในศตวรรษที่20นี้[3]

หลังจากย้ายมาอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก เขาเริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้านกระแสงานของศิลปินส่วนใหญ่ที่เป็นลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม (abstract expressionism) และแทนที่ด้วยการเริ่มค้นหาตัวเอง แฟรงก์เชิดชูงานของบาร์เนต นิวแมน และแจสเปอร์ จอห์น เขาเริ่มผลิตผลงานและให้ความสำคัญการภาพวาดในฐานะที่เป็นวัตถุมาก���ว่าการมองภาพวาดเพื่อสื่อแสดงบางสิ่งบางอย่างทางกายภาพ หรือการแสดงอารมณ์ความรู้สึกโดยทั่วไปของศิลปิน

สเตลลาแต่งงานกับบาร์บารา โรส ในปีค.ศ. 1961 ซึ่งเธอเป็นที่รู้จักในวงการศิลปวิจารณ์ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เขาพูดถึงรูปภาพว่า "การระบายสีบนพื้นผิวที่แบนราบไม่มีความหมายอีกต่อไป" สิ่งนี้จะต้องออกไปจากรูปแบบของเทคนิคและการวาดภาพแบบร่างเอาไว้ก่อน งานส่วนใหญ่ของเขาจึงมาจากการใช้ฝีแปรง และบ่อยครั้งก็ใช้ของใช้สามัญภายในบ้านในการวาดรูป

ผลงานชิ้นสำคัญ

[แก้]
งานชิ้นนี้ถูกแขวนลงมาจากเพดานกลางลอบบี้โรมแรม เดอะ ริทซ์-คอร์ลตัน มิลเลเนีย, สิงคโปร์ หนึ่งในผลงาน 4,200 ชิ้นที่ติดตั้งตามโรงแรม

สุนทรียภาพแบบใหม่ที่พบอยู่ในงานที่ชื่อชุดว่า “ภาพวาดสีดำ” (Black Paintings) ซึ่งใช้พื้นเป็นสีดำและแบ่งช่องด้วยเส้นยาวเล็กๆ จำนวนมากลงบนผืนผ้าใบ อย่างงานที่ชื่อว่า "Die Fahne Hoch" (อังกฤษ: The Raised Banner) (1959) สเตลลามุ่งไปที่สัดส่วนของการสร้างงาน ที่อ้างอิงไปถึงงานระบายสีธงชาติของแจสเปอร์ จอห์น งานศิลปะในแนวใหม่ของเขานี้เป็นที่จดจำของสาธารณชนก่อนที่เขาจะมีอายุ 25 ปี

ซึ่งในปี ค.ศ.1959 งานต่างๆ ของเขาถูกรวบรวมอยู่ในนิทรรศการ “สามหนุ่มสาวชาวอเมริกัน” (Three Young Americans) อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโมเรียลอัลเลน (The Allen Memorial Art Museum)ในวิทยาลัยโอเบอร์ริน และในปีค.ศ.1960 ในงานนิทรรศการ “ชาวอเมริกันวัยสิบหก” (Sixteen Americans) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum Modern Art) ในรัฐนิวยอร์ก และงานแสดงเดี่ยวของเขาที่แกลลอรี่ลีโอ แคสเตลลิ อีกด้วย[4]

ช่วงปลายปีค.ศ. 1960 และต้นปีค.ศ. 1970

[แก้]
ภาพจิตรกรรมของแฟรงก์ สเตลลา ที่พิมพ์เป็นแสตมป์ในงาน Documenta Kassal

กลางปี ค.ศ.1960 สเตลลาได้ร่วมงานกับช่างพิมพ์มืออาชีพที่ชื่อ เคนเน็ธ ไทเลอร์ ที่พิพิธภัณฑ์หอศิลป์แห่งชาติเจมินี (Gemini G.E.L.) ในรัฐนิวยอร์ก เขาทำงานแนวไม่หรูหรา ขนาดของผ้าใบของเขาจะมีความแตกต่างกับศิลปินที่ทำงานภาพพิมพ์คนอื่นๆ อย่างไรก็ตามช่างพิมพ์ในสมัยนั้นมีความกล้าเสี่ยงกับภาพพิมพ์มาจากกลุ่มหัวก้าวหน้า หรือที่เรียกว่า ลัทธิอาว็อง-การ์ด (Avant-garde)[5] มาแล้ว สเตลลาเริ่มสร้างงานชุดใหม่ที่เรียกว่า "Quathlamba I " (1968) โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ เช่น ภาพพิมพ์หิน ภาพพิมพ์สกรีน การกัดกรด และภาพพิมพ์หินระบบออฟเซต(เป็นเทคนิคที่เขาแนะนำ) ส่งผลกระทบอย่างเข้มข้นต่อศิลปะภาพพิมพ์ในเวลานั้น

ในปี ค.ศ.1970 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum of Modern Art) ในรัฐนิวยอร์ก จัดแสดงงานนิทรรศการที่ผ่านมาของเขา ทำให้เขาเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง ในระหว่างการทำงานตลอดทศวรรษที่ผ่านมา สเตลลาเริ่มคลี่คลายงานของเขามากขึ้น จนกล่าวได้ว่าเขาเป็น "Maximalist" และแนวงานที่ประชดประชันเยาะเย้ยงานจิตรกรรมที่ทำให้เขามีชื่อเสียงในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1960 รูปทรงของผืนผ้าใบถูกลดทอนลง อย่างงานที่ชื่อชุดว่า “รูปหลายเหลี่ยมที่ผิดปกติ” (Eccentric Polygon) ซึ่งองค์ประกอบของภาพภาพตัดแปะที่ถูกแปะลงบนไม้อัด เป็นต้น งานของเขากลายเป็นลักษณะสามมิติมากขึ้น เขาเริ่มทำงานชิ้นใหญ่และลอยตัว แม้จะเป็นแค่ภาพจิตรกรรมแต่ก็ทำได้ดีเทียบเท่ากับงานประติมากรรม

หลังจากเขาสร้างงานด้วยการใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆ ในงานชุดว่า “หมู่บ้านโปแลนด์” (Polish Village) (1973) เขาก็สร้างสรรค์ผลงานที่เหนือระดับขึ้นไปอีก ด้วยการใช้อะลูมิเนียมเป็นแม่แบบของการทำงานจิตรกรรม เช่นเดียวกัน ในช่วงการทำงานราวปี ค.ศ.1970-1980 ผลงานของเขามีความซับซ้อนละเอียดและมีชีวิตชีวา ซึ่งอันที่จริงแล้วงานก่อนหน้านี้ของเขาที่ถูกเรียกว่าเป็นงานในกระแสลัทธิจุลนิยม (Minimalism) กลายเป็นความพิสดารจากรูปทรงของส่วนโค้ง

แฟรงก์ สเตลลา,โครงการออกแบบรถ บีเอ็มดับบลิว 3.0 CSL ปีค.ศ. 1976

ในปีค.ศ. 1973 เขาเริ่มสร้างสตูดิโอในบ้านของตัวเองที่รัฐนิวยอร์ก และปีค.ศ. 1976 เขาถูกรับมอบหมายโดยบริษัทบีเอ็มดับบลิว (BMW) ให้ลงสีรถยนต์รุ่น BMW 3.0 CSL ในโครงการ BMW Art Car

ช่วงกลางปีค.ศ. 1980 ถึงปัจจุบัน

[แก้]
ผลงานที่ติดอยู่สองข้างของฝาผนังจากผลงานที่ชื่อชุดว่า โมบิ-ดิก นวนิยายชิ้นเอกของเฮอร์แมน เมลวิลล์, โรมแรม เดอะ ริทซ์-คอร์ลตัน มิลเลเนีย, สิงคโปร์

สเตลลาสร้างงานชิ้นใหญ่ตอบสนองลักษณะทั่วไปของนิยายเรื่องโมบิดิก (Moby-Dick) ของเฮอร์แมน เมลวิลล์ ในระหว่างเวลานั้น งานของเขาก็มีความเป็นหนึ่งเดียวกันของลักษณะภาพแบนกว้างขวางกับรูปร่างเส้นที่เหมือนรูปทรงเรขาคณิต มีการเพิ่มมิติของงานจิตรกรรมมากขึ้น ทั้งรูปทรงฝักข้าวโพด เสาเหลี่ยม เส้นโค้งแบบฝรั่งเศส เส้นคลื่น และองค์ประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรม นำมาสร้างสรรค์ในผลงานประเภทงานตัดแปะ (collages) หรือ งานชิ้นต้นแบบ (maquettes) ที่นำมาทำให้ใหญ่ขึ้นและกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยมีผู้ช่วย วัสดุส่วนใหญ่เน้นพวกวัสดุอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ดิจิทัล

ราวปีค.ศ. 1990 สเตลลาเริ่มทำงานประติมากรรมลอยตัว ในพื้นที่สาธารณะ และพัฒนาเป็นโครงการสถาปัตยกรรม เช่นตัวอย่างในปีค.ศ. 1993 เขาออกแบบการตกแต่งทั้งหมดในโครงการโตรอนโตของโรงละครชื่อว่า “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” (Princess Of Wales Theatre) ซึ่งประกอบด้วย ฝาผนังขนาด 1,000 ตารางฟุต ข้อเสนอของเขาในปีค.ศ. 1993 ที่มีต่อพิพิธภัณฑ์คุนสท์ฮัลเลอ และสวนในเมืองเดรสเดน ที่ประเทศเยอรมัน ไม่บรรลุผลสำเร็จ และในปีค.ศ. 1997 เขาออกแบบและควบคุมดูแลติดตั้งผลงาน "Stella Project" ขนาด 5,000 ตารางฟุต กลางโรงหนังและลอบบี้ของโรงอุปรากรมัวร์ส ที่โรงเรียนสอนดนตรีรีเบ็กก้าและจอห์น จูเนียร์ มัวร์ส วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยฮิวสตัน ในรัฐเท็กซัส[6]


งานของสเตลลาถูกรวบรวมไว้ในนิทรรศการศิลปะที่สำคัญๆ เช่นชุดงานที่ชื่อว่า “รูปร่างของผ้าใบ” (The Shaped Canvas) ในปีค.ศ. 1965 และ “ระบบจิตรกรรม” (Systemic Painting) (1966) ที่พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim Museum) และแสดงซ้ำในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ด้วยความมีชื่อเสียงของเขาทำให้สเตลลาถูกเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาบรรยายถึงความสำเร็จ หรือที่เรียกว่าการชุบตัวใหม่ของกระแสงานแนวนามธรรม และจิตรกรรมแบบพิลึกพิสดาร และตีพิมพ์เป็นหนังสือภายใต้หัวข้อ “พื้นที่การทำงาน” (Working Space) โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปีค.ศ. 1986[7]

แฟรงก์ สเตลลา ยังคงทำงานที่รัฐนิวยอร์กจนถึงปัจจุบัน และถูกเรียกว่าเป็นศิลปินหนุ่มไฟแรง ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เขาได้เป็นสมาชิกกลุ่มสมาคมศิลปินเพื่อสิทธิมนุษยชน (Artiste Rights Society)[8] ตีพิมพ์ในบทความหน้าตรงข้ามกับบทความของบรรณาธิการ ในหนังสือพิมพ์ศิลปะ (The Art Newspaper)

ในปี ค.ศ. 2009 แฟรงก์ สเตลลาได้รับเหรียญรางวัลแห่งชาติสาขาศิลปะ โดยประธานาธิบดีบารัค โอบามา[9]

ในปี ค.ศ. 2011 แฟรงก์ สเตลลา ได้รับรางวัลความสำเร็จในชีวิต (the Lifetime Achievement Award) ในสาขาประติมากรรมร่วมสมัย จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะศูนย์ประติมากรรมนานาชาติวอล์ฟสบุร์ก (the International Sculpture CenterKunstmuseum Wolfsburg)

และภายในปี ค.ศ. 2012 ผลงานย้อนหลังของแฟรงก์ สเตลลา ถูกนำมาแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะวอล์ฟสบุร์ก (The Kunstmuseum Wolfsburg)[10]

งานของเขาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะของอเมริกัน นับตั้งแต่ค.ศ. 1970 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ แฟรงก์ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีระบบสัญลักษณ์แตกต่างผลงานแบบศิลปะอเมริกัน ผลงานที่สเตลลานั้น ได้นำเสนอออกสู่สายตาสาธารณชน เช่นภาพที่มีชื่อว่า “ภาพวาดสีดำ” (Black Painting) ได้ปรากฏตัวครั้งแรก ผู้คนได้มองภาพนี้จากหลากหลายแห่งหน จะเห็นได้ว่า ภาพนี้ไม่มีรูปแบบอิทธิพลศิลปะเก่าเหลืออยู่เลย และแสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธสิ่งที่มีมาก่อนหน้า[11] กระแสภาพนี้ของสเตลลาในปีต่อมา มีการแพร่หลายอย่างมาก โดยเกิดจากการกระจายผลงานคัดลอกภาพออกไป ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ว่าภาพหรืองานศิลปะไม่จำเป็นต้องมีหนึ่งเดียวชิ้นเดียวในโลก แต่ความคิดสร้างสรรค์ผลงานต่างหากที่เป็นส่วนสำคัญของศิลปะ

และในช่วงนั้นเอง ศิลปะนามธรรมที่พบเห็นบ่อยๆ นั้นมีความแคบทั้งรูปแบบและขอบเขตทางความคิดที่จำกัด แต่งานของสเตลลานั้นมีความหลากหลายทำให้เกิดความตื่นตาตื่นใจต่อสายตาที่พบเห็น การประสบการณ์ความสำเร็จของเขานั้น มาจากการที่เขากล้าจะเสี่ยงในวิธีการวาดภาพแบบใหม่ มีความกล้าหาญที่จะลงมือทำ และมีอดทนต่อความล้มเหลวที่ผ่านมา งานของเขามีความหลากหลาย มันเป็นอะไรที่มากกว่ารูปแบบหรือเทคนิควิธีการทำงาน เนื่องจากผลงานของเขาครอบคลุมถึงความรู้สึกเมื่อเห็นผลงานกระทบสายตาอย่างยิ่งใหญ่

บทสัมภาษณ์

[แก้]
  • Heti, Sheila (November 2008/December). "'I'm All in Favor of the Shifty Artist'". The Believer. 6 (9): 40–46. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Frank Stella Biography, Art, and Analysis of Works". The Art Story. Retrieved 2012-05-25.
  2. (http://www.artnet.com/artists/frank-stella/)
  3. Birmingham Museum of Art (2010). Birmingham Museum of Art : guide to the collection. [Birmingham, Ala]: Birmingham Museum of Art. p. 236. ISBN 978-1-904832-77-5.
  4. (http://www.artnet.com/artists/frank-stella/)
  5. William S.Rubin, Frank Stella, (The Museum of Modern Art : New York ,1970 ) 7.
  6. "Home". Music.uh.edu. 2012-04-25. Retrieved 2012-05-25.
  7. Frank Stella, Working Space (Cambridge: Harvard University Press, 1986), ISBN 0-674-95961-2. Listing at Harvard University Press website.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-26. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
  10. Rhodes, David (November 2012). "Frank Stella: The Retrospective, Works 1958-2012". The Brooklyn Rail.
  11. William S.Rubin, Frank Stella, (The Museum of Modern Art : New York ,1970 ),149.

อ้างอิงเพิ่มเติม