ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์จาลุกยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
ราชวงศ์จาลุกยะ

ಚಾಲುಕ್ಯ ರಾಜವಂಶ
ค.ศ. 543ค.ศ. 753
จักรวรรดิจาลุกยะ ค.ศ. 636, ค.ศ. 740
จักรวรรดิจาลุกยะ ค.ศ. 636, ค.ศ. 740
สถานะจักรวรรดิ
(ขึ้นกับจักรวรรดิกทัมพะจนกระทั่งปี ค.ศ. 543)
เมืองหลวงบาดามี
ภาษาทั่วไปกันนาดา, สันสกฤต
ศาสนา
ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 543 - 566
ปุละเกศีที่ 1
• ค.ศ. 746 – 753
กีรติวรมันที่ 2
ประวัติศาสตร์ 
• หลักฐานเก่าที่สุด
ค.ศ. 543
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 543
• สิ้นสุด
ค.ศ. 753
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิกทัมพะ
จักรวรรดิร���ษฏฺรกูฏ
จาลุกยะตะวันออก

ราชวงศ์จาลุกยะ (กันนาดา: ಚಾಲುಕ್ಯರು, อังกฤษ: Chalukya dynasty) คือราชวงศ์อินเดียผู้ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในอินเดียใต้และอินเดียกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12

แม้ว่าความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของราชวงศ์จาลุกยะจะมีด้วยกันหลายทฤษฎีแต่โดยทั่วไปแล้วต่างก็เห็นพ้องกันว่าผู้ก่อตั้งจักรวรรดิที่บาดามีเป็นผู้ที่มาจากบริเวณรัฐกรณาฏกะ[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10] ในช่วงที่มีอำนาจจาลุกยะปกครองแบ่งการปกครองเป็นสามราชวงศ์ที่ต่างกันแต่มีความสัมพันธ์กัน ราชวงศ์แรกที่สุดมีชื่อว่า “บาดามีจาลุกยะ” (Badami Chalukyas) ปกครองจากเมืองหลวงวาตาปี (บาดามีปัจจุบัน) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 บาดามีจาลุกยะเริ่มแสดงตัวเป็นอิสระเมื่อราชอาณาจักรพานาวสี (en:Banavasi) ของราชวงศ์กทัมพะ (en:Kadamba Dynasty) เริ่มเสื่อมโทรมลง และมารุ่งโรจน์ในรัชสมัยของปุละเกศีที่ 2 (en:Pulakesi II) หลังจากที่ปุละเกศีที่ 2 เสด็จสวรรคต จาลุกยะตะวันออก (en:Eastern Chalukyas) ก็แยกตัวเป็นราชอาณาจักรอิสระในเด็คคาน (Deccan) จาลุกยะตะวันออกปกครองจากเมืองหลวง เวงคิ จนกระทั่งถึงจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทางตะวันตกของเด็คคานการเรืองอำนาจของราษฏฺรกูฏ (Rashtrakutas) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 8 ก็ลบอำนาจของบาดามีจาลุกยะก่อนที่จะได้รับการฟื้นฟูโดยจาลุกยะตะวันตก (Western Chalukyas) ผู้เป็นผู้สืบเชื้อสายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 จาลุกยะตะวันตกปกครองจากกัลยานี (ปัจจบีนคือเมืองพสภะกัลยาณ) จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12

การปกครองของราชวงศ์จาลุกยะเป็นการปกครองในยุคที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของอินเดียใต้และเป็นยุคทองของรัฐกรณาฏกะ แนวโน้มทางการเมืองทางตอนใต้ของอินเดียเปลี่ยนจากราชอาณาจักรขนาดเล็กมาเป็นการก่อตั้งจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่เริ่มโดยบาดามีจาลุกยะ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่อินเดียใต้เริ่มรวมดินแดนทั้งภูมิภาคตั้งแต่แม่น้ำกาเวรี (Kaveri) ไปจนถึง แม่น้ำนัมมทา (Narmada) ความรุ่งเรืองของจักรวรรดินำมาซึ่งระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ การค้าขายกับต่างประเทศ และการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "สถาปัตยกรรมจาลุกยะ" วรรณคดีกันนาดาที่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ได้รับการต้อนรับโดยจาลุกยะตะวันตกตามแบบฉบับของเชนและวีรไศวะ (Veerashaiva) เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ก็เป็นการกำเนิดของวรรณคดีเตลูกู (Telugu literature) ภายใต้การอุปถัมภ์ของจาลุกยะตะวันออก

ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. N. Laxminarayana Rao and Dr. S. C. Nandinath have claimed the Chalukyas were Kannadigas (Kannada speakers) and very much the natives of Karnataka (Kamath 2001, p. 57)
  2. The Chalukyas were Kannadigas (D.C.Sircar in Mahajan V.D., 1960, Reprint 2007, Ancient India, Chand and Company, New Delhi, p. 690, ISBN 81-219-0887-6)
  3. Natives of Karnataka (Hans Raj, 2007, Advanced history of India: From earliest times to present times, Part-1, Surgeet publications, New Delhi, p. 339
  4. The Chalukyas hailed from Karnataka (John Keay, 2000, p. 168)
  5. Quote:"They belonged to Karnataka country and their mother tongue was Kannada" (Sen 1999, 360)
  6. The Chalukyas of Badami seem to be of indigenous origin (Kamath 2001, p. 58)
  7. Jayasimha and Ranaraga, the first members of the Chalukya family were possibly employees of the Kadambas in the northern part of the Kadamba Kingdom (Fleet [in Kanarese Dynasties, p. 343] in Moraes, 1931, pp. 51-52)
  8. Pulakesi I must have been an administrative official of the northern Kadamba territory centered in Badami (Moraes 1931, pp. 51-52)
  9. The Chalukya base was Badami and Aihole (Thapar 2003, p. 328)
  10. Inscriptional evidence proves the Chalukyas were native Kannadigas (Karmarkar, 1947, p. 26)

ดูเพิ่ม

[แก้]