จิงโจ้ต้นไม้
จิงโจ้ต้นไม้[1] | |
---|---|
จิงโจ้ต้นไม้กูดเฟลโลว (D. goodfellowi) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
ชั้นฐาน: | Marsupialia |
อันดับ: | Diprotodontia |
วงศ์: | Macropodidae |
วงศ์ย่อย: | Macropodinae |
สกุล: | Dendrolagus Müller, 1840 |
ชนิดต้นแบบ | |
Dendrolagus ursinus Müller, 1840 | |
ชนิด | |
|
จิงโจ้ต้นไม้ (อังกฤษ: Tree-kangaroo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกแมคโครพอด ในวงศ์แมคโครโพดิดี (Macropodidae) เช่นเดียวกับจิงโจ้[1]
จิงโจ้ต้นไม้วิวัฒนาการมาจากไซโนเดลฟิส สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรูปร่างคล้ายหนู พบซากฟอสซิลที่จีน อายุราว 125 ล้านปีก่อน เช่นเดียวกับจิงโจ้หรือสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องอื่น ๆ แต่แทนที่จะมาใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดิน แต่จิงโจ้ต้นไม้กลับขึ้นไปใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ เหมือนกับไซโนเดลฟิส และวิวัฒนาการร่างกายให้เข้ากับการใช้ชีวิตบนต้นไม้ เชื่อกันว่าจิงโจ้ที่หากินบนพื้นดินหรือวอลลาบี ก็วิวัฒนาการมาจากจิงโจ้ต้นไม้อีกที[2]
จิงโจ้ต้นไม้ มีรูปร่างคล้ายกับลิงโลกใหม่หรือลีเมอร์มากกว่าจะเหมือนจิงโจ้หรือสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องทั่วไป มีหางยาวเอาไว้ถ่วงน้ำหนักขณะทรงตัวบนต้นไม้ มีอุ้งตีนที่อ่อนนุ่มและเล็บตีนหน้าแหลมยาวแข็งแรงใช้ในการเกาะเกี่ยวต้นไม้ จิงโจ้ต้นไม้สามารถกระโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่งได้อย่างคล่องแคล่ว ได้ไกลถึง 30 ฟุต และสามารถกระโดดขึ้นต้นไม้ที่สูงกว่าถึง 60 ฟุตได้อย่างสบาย ๆ รวมถึงการกระโดดลงมาในแนวดิ่งด้วย แต่ในพื้นราบจะไม่คล่องแคล่วเท่า
จิงโจ้ต้นไม้กินใบไม้, เปลือกไม้ และแมลงเล็ก ๆ เป็นอาหาร แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกครั้งละตัว ลูกอ่อนอาศัยอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องของแม่จนอายุ 10 เดือน จึงออกมาหากินข้างนอก[3]
จิงโจ้ต้นไม้ พบกระจายพันธุ์ในป่าทึบของนิวกินี และออสเตรเลียทิศตะวันออกเฉียงเหนือแถบรัฐควีนส์แลนด์ และยังพบได้ในเกาะต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน เช่น เกาะซูลาเวซี มีขนาดประมาณ 14–77 เ���นติเมตร (16–30 นิ้ว) ความยาวหาง 40–87 เซนติเมตร (16–34 นิ้ว) น้ำหนักมากกว่า 14.5 กิโลกรัม (32 ปอนด์) ขึ้นไป ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย
จิงโจ้ต้นไม้ที่มีอายุยาวนานที่สุดในโลก มีชื่อว่า "แพ็ตตี" อาศัยอยู่ในสวนสัตว์ไมอามี ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 มีอายุถึง 27 ปี 2 เดือน 12 วัน โดยให้ลูกมาแล้วทั้งหมด 4 รุ่น[4]
การจำแนก
[แก้]จิงโจ้ต้นไม้ถูกจัดอยู่ในสกุล Dendrolagus แบ่งออกได้เป็น 12 ชนิด[5] บางชนิดเป็นสัตว์ที่หายากและเพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้[6]
- Dendrolagus bennettianus De Vis, 1886 – จิงโจ้ต้นไม้เบนเน็ตต์
- Dendrolagus dorianus Ramsay, 1883 – จิงโจ้ต้นไม้โดเรีย
- Dendrolagus goodfellowi Thomas, 1908 – จิงโจ้ต้นไม้กูดเฟลโลว
- Dendrolagus inustus Müller, 1840 – จิงโจ้ต้นไม้กริซแลดซ์
- Dendrolagus lumholtzi Collett, 1884 – จิงโจ้ต้นไม้ลุมโฮลซ์
- Dendrolagus matschiei Forster & Rothschild, 1907 – จิงโจ้ต้นไม้แม็ทซชี
- Dendrolagus mbaiso Flannery, Boeadi & Szalay, 1995 – ดินกิโซ่
- Dendrolagus pulcherrimus Flannery, 1993 – จิงโจ้ต้นไม้ขนคลุมสีทอง
- Dendrolagus scottae Flannery & Seri, 1990 – เทนคิล
- Dendrolagus spadix Troughton & Le Souef, 1936 – จิงโจ้ต้นไม้ที่ราบต่ำ
- Dendrolagus stellarum Flannery & Seri, 1990 – จิงโจ้ต้นไม้เสรี
- Dendrolagus ursinus (Temminck, 1836) – จิงโจ้ต้นไม้เออร์ซิน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 59–61. ISBN 0-801-88221-4.
- ↑ Australia. "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2555
- ↑ คอลัมน์: สิงสาราสัตว์: จิงโจ้ต้นไม้
- ↑ "สวนสัตว์ไมอามี ประกาศเจ้าแพ็ตตี้ เป็นจิงโจ้ที่อายุยืนสุดในโลก". ช่อง 7. 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 2015-10-17.[ลิงก์เสีย]
- ↑ จาก itis.gov
- ↑ "The Lost World:". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-19. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dendrolagus ที่วิกิสปีชีส์