ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอภูซาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
อำเภอภูซาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phu Sang
รูป วนอุทยานแห่งชาติภูซาง (น้ำตกภูซาง) ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
รูป วนอุทยานแห่งชาติภูซาง (น้ำตกภูซาง) ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
คำขวัญ: 
ประตูสู่หลวงพระบาง ยางพาราชั้นเลิศ
แหล่งกำเนิดน้ำตกอุ่น หวานละมุนน้ำอ้อยสบบง
สูงส่งถิ่นพระธาตุ ตลาดชายแดนไทย-ลาว
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอภูซาง
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอภูซาง
พิกัด: 19°36′0″N 100°19′24″E / 19.60000°N 100.32333°E / 19.60000; 100.32333
ประเทศ ไทย
จังหวัดพะเยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด199.37 ตร.กม. (76.98 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด32,419 คน
 • ความหนาแน่น162.60 คน/ตร.กม. (421.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 56110
รหัสภูมิศาสตร์5608
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอภูซาง ตำบลป่าสัก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา 56110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูซาง (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติภูซาง และยังเป็น 1 ใน 2 อำเภอของจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศลาว มีสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ น้ำอ้อยสบบง ที่มีการเพาะปลูกและแปรรูปในชุมชน

น้ำตกภูซาง หรืออีกชื่อเรียกที่เรียกกันว่า น้ำตกอุ่นภูซาง ตั้งอยู่ใน อุทยานแห่งชาติภูซาง ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
น้ำตกภูซาง จัดว่าเป็นน้ำตกน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวในไทย เพราะน้ำจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 35 - 36  องศา และใสปราศจากกลิ่นกำมะถัน บริเวณใต้น้ำตกเป็นแอ่งน้ำใสสีเขียวมรกต

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอภูซางมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ภาพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ได้ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้“ ควรพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และฝายทดน้ำตามลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่ลาว เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรในหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน และฤดูแล้ง อีกทั้งให้มีน้ำไว้เพื่อการอุปโภค – บริโภค ตลอดไปด้วย ”

ประวัติ

[แก้]

อำเภอภูซาง เป็นเมืองโบราณที่ค้นพบหลักฐานจากพงศวดารโยนก ว่าเมืองเชียงแรง เป็นเมืองเก่าที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 900 ปี เป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรภูกามยาว เป็นเมืองที่เกิดขึ้นพร้อมกับเมืองลอ เมืองเทิง เมืองคอบ เมืองออย  เมืองปง เมืองเชียงคำ ฯลฯ ต่อมาใน พ.ศ. 2473 ได้มีการจัดตั้งระเบียบการปกครองใหม่เป็นเจ้าเมืองข้าหลวง และได้ตราพระราชบัญญัติมณฑลพายัพ ในปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ได้ยุบตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเสียหมด เมืองต่างๆ จึงมีฐานะเป็นอำเภอ เมืองเชียงแรงจึงขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอเชียงคำ

จนกระทั่งทางทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองบางส่วนของอำเภอเชียงคำ ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูซาง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอภูซาง ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]

  • วันที่ 23 มกราคม 2481 รวมพื้นที่ตำบลเชียงแรง ตำบลสบบง ตำบลปง ตำบลวังเค็ม ตำบลบ้านแวน กับหมู่บ้านที่ 1-9,17 (ในขณะนั้น) ของตำบลในเวียง หมู่บ้านที่ 1-4 (ในขณะนั้น) ของตำบลไชยพรม และตำบลหย่วน จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลหย่วน กับรวมตำบลดอนคาว ตำบลป่าสัก ตำบลทุ่งกล้วย จัดตั้งเป็น ตำบลทุ่งกล้วย[3]
  • วันที่ 12 พ��ศจิกายน 2483 แยกหมู่บ้านที่ 53-61 (ในขณะนั้น) ของตำบลหย่วน และพื้นที่หมู่ 9-20 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งกล้วย ตั้งเป็น ตำบลเชียงแรง กับแยกพื้นที่หมู่ 1-8 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งกล้วย และพื้นที่หมู่ 43-52 (ในขณะนั้น) ของตำบลหย่วน ตั้งเป็น ตำบลสบบง กับแยกพื้นที่หมู่ 30-35 (ในขณะนั้น) ของตำบลหย่วน และพื้นที่หมู่ 21-32 (ในขณะนั้น) ของตำบลทุ่งกล้วย ตั้งเป็น ตำบลเจดีย์คำ[4] และยุบพื้นที่ตำบลทุ่งกล้วย เนื่องจากไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบลอยู่ต่อไป
  • วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลภูซาง แยกออกจากตำบลเชียงแรง[5]
  • วันที่ 10 กรกฎาคม 2516 ตั้งตำบลทุ่งกล้วย แยกออกจากตำบลสบบง[6]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา[7]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลสบบง ในท้องที่บางส่วนของตำบลสบบง[8]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2527 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านนาหนุน (ในขณะนั้น) ของตำบลเชียงแรง ไปตั้งเป็นหมู่ 14 ของตำบลภูซาง[9]
  • วันที่ 12 กันยายน 2538 ตั้งตำบลป่าสัก แยกออกจากตำบลภูซาง[10]
  • วันที่ 30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลเชียงแรง สภาตำบลภูซาง และสภาตำบลทุ่งกล้วย เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงแรง องค์การบริหารส่วนตำบลภูซาง และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกล้วย[11]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลภูซาง ตำบลป่าสัก ตำบลทุ่งกล้วย ตำบลเชียงแรง และตำบลสบบง อำเภอเชียงคำ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูซาง[1] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเชียงคำ
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2541 กำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอภูซาง โดยกำหนดให้ตำบลเชียงแรง ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ตำบลภูซาง ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 9 หมู่บ้าน ตำบลสบบง ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 10 หมู่บ้าน ตำบลป่าสัก ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และตำบลทุ่งกล้วย ให้มีเขตการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลสบบง เป็น เทศบาลตำบลสบบง[13] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2542 ยกฐานะสภาตำบลป่าสัก เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก[14]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 กำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติภูซาง[15] ให้ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ณ พื้นที่หมู่ 8 ตำบลภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง
  • วันที่ 4 มิถุนายน 2545 แยกพื้นที่หมู่ 1 บ้านก๊อน้อย ตำบลทุ่งกล้วย มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 12 บ้านใหม่รุ่งทวี และแยกพื้นที่หมู่ 4 บ้านป่าสัก ตำบลป่าสัก มาตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ หมู่ 9 บ้านข่วงแก้ว[16]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลสบบง รวมกับเทศบาลตำบลสบบง[17]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ เป็น อำเภอภูซาง[2]
  • วันที่ 30 มิถุนายน 2554 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่ 11 บ้านป่าสัก ตำบลสบบง เป็น หมู่ 11 บ้านใหม่ดอนตัน[18]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2561 เปิดจุดผ่านแดนถาวรระหว่างบ้านฮวก ตำบลภูซาง จังหวัดพะเยา ประเทศไทย และบ้านปางมอน เมืองคอบ แขวงไซยะบุลี (ไชยบุรี) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว[19] โดยยกระดับจากจุดผ่อนปรนบ้านฮวก (เดิม)
ตลาดชายแดนบ้านฮวก เป็นตลาดนัดที่เปิดทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกเดือน โดยจะมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งส่วนมากจะเป็นชาวเขาเผ่าม้ง จาก สปป.ลาว และพ่อค้าชาวไทย (เผ่าม้ง) ต่างนำเอาสินค้ามีทั้งเสื้อผ้า อาหาร พืชผลทางการเกษตร และสินค้าอื่นๆ นำมาวางขาย
วัดทุ่งกล้วยมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย มีความสูง 3 เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูน เป็นพระประธานในวิหาร นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปไม้สักทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร พระสิงห์สอง เป็นพระพุทธรูปเนื้อเงิน มีความสูงประมาณ 1 ฟุต มีอายุหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งพระสิงห์สองนี้มีมาก่อนที่จะสร้างวัดขึ้นมาแล้ว

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอภูซางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 59 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[20]
1. ภูซาง Phu Sang 13 2,520 6,263
2. ป่าสัก Pa Sak 10 1,841 4,170
3. ทุ่งกล้วย Thung Kluai 12 2,956 8,047
4. เชียงแรง Chiang Raeng 12 2,252 5,845
5. สบบง Sop Bong 12 3,455 7,985

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอภูซางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสบบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบบงทั้งตำบล (สุขาภิบาลสบบงเดิม)[8][13][17]
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูซาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูซางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าสักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกล้วย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งกล้วยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงแรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงแรงทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
  • อุทยานแห่งชาติภูซาง ตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[15]เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น อยู่ในเขตอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นแนวเขตยาวประมาณ 30 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 178,049 ไร่ เป็นถิ่นอาศัยของ "เต่าปูลู" ซึ่งเป็นเต่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ สถานที่ท่องเที่ยวเด่นคือ น้ำตกภูซาง ซึ่งเป็นน้ำตกที่เป็นน้ำอุ่นอุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส น้ำใสไม่มีกลิ่นกำมะถัน
  • พระธาตุภูซาง เป็นพระธาตุเก่าแก่ตั้งอยู่บนยอดดอย พระธาตุแห่งนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวเหนือฝั่งล้านนาตะวันออก สันนิษฐานว่าสร้างประมาณ ปี พ.ศ. 1800 ตามประวัติเล่าว่า ผู้ค้นพบคนแรกชื่อ “นายก้อน” เป็นชาวจังหวัดน่าน อพยพเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2390 ได้เข้ามาบุกเบิกถางป่าเพื่อทำไร่เกษตรกรรม บริเวณเชิงดอย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระธาตุ โดยที่ไม่ทราบว่ามีองค์พระธาตุตั้งอยู่ ในขณะที่กำลังถางป่าอยู่นั้น พบว่ามีใบพลูเลื้อยพันอยู่กับต้นซาง จึงคิดจะเก็บมาเคี้ยวกินกับหมาก ระหว่างที่เก็บใบพลูก็บังเอิญพบองค์พระธาตุตั้งอยู่บนสันดอย ท่ามกลางป่าไม้ที่ปกคลุมอยู่ จึงเข้าไปกราบไหว้ และเรียกชื่อพระธาตุนั้นว่า “ปูซาง”
  • ด่านผ่านแดนถาวรบ้านฮวก เดิมมีฐานะเป็น "จุดผ่อนปรนบ้านฮวก" ด่านชายแดนบ้านฮวก-กิ่วหก อ.ภูซาง จ.พะเยา มีอาณาเขตติดกับแขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ได้มีการทำข้อตกลงระหว่างจังหวัดพะเยากับแขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ณ จุดผ่อนปรนชายแดนไทย–สปป.ลาว โดยกำหนดให้ด่านบ้านฮวก ให้เป็น “ด่านผ่อนปรน” เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2536 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักทางด้านมนุษยธรรม และเพื่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับท้องถิ่นระหว่างชาวภูซางและแขวงไชยะบุรี โดยอนุญาตให้ประชาชนทั้งสองประเทศสัญจรไปมาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างกัน  ซึ่งกำหนดระเบียบการสัญจรไปมา ประเภทสินค้าที่สามารถติดต่อซื้อขาย ระยะเวลาเปิดปิดจุดผ่อนปรน มาตรการควบคุมการเดินทางเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และมีหน่วยงาน 2 ส่วนที่สำคัญในการกำกับดูแล ได้แก่ ศูนย์อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ศอป.ปค.) อำเภอภูซางประจำอยู่ มีหน้ารับผิดชอบดูแลการเข้าออกของประชาชนภายใต้การดูแลของฝ่ายกิจการพิเศษที่ทำการปกครองอำเภอภูซางซึ่งมีนายอำเภอภูซางเป็นผู้ดูแล และศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงรา�� ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการนำเข้าสินค้าผ่านเข้า-ออกบริเวณจุดผ่านแดน ด้วยสถานการณ์ด้านความมั่นคง การขยายตัวทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของสองฝั่ง จึงมีความพยามผลักดันด่านผ่อนปรนบ้านฮวกให้เป็น “ด่านถาวร” เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยความพยายามของคนในพื้นที่และธุรกิจทั้งสองฝ่าย ทำให้มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้ประกาศให้จุดผ่อนปรนบ้านฮวกเป็น “จุดผ่านด่านถาวร” สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว ครั้งที่ 21 ที่แขวงจำปาสัก เมื่อต้นปี 2561 และจากการประชุมครม.สัญจรกลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 โดยยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่ง การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเข้าด้วยกัน[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูซาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07. วันที่ 24 สิงหาคม 2550
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3449–3457. วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2483
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57 (0 ง): 2773–2778. วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอพาน กิ่งอำเภอป่าแดด และกิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (83 ง): 2451–2463. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2513
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพะเยาและอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (81 ง): 2099–2103. วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
  7. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (69 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
  8. 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสบบง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (167 ง): 3858–3859. วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2526
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (95 ง): 2262–2267. วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2527
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเชียงคำและอำเภอจุน จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (73 ง): 37–45. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2538
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 93 ง): 373–387. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2541
  13. 13.0 13.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  15. 15.0 15.1 "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าน้ำหงาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลตับเต่า ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย และป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหย่วน และป่าน้ำลาว ในท้องที่ตำบลภูซาง ตำบลทุ่งกล้วย กิ่งอำเภอภูซาง อำเภอเชียงคำ และตำบลร่มเย็น ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (98 ก): 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
  16. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน (งวดที่ ๑)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (45 ง): 142–172. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-03-18. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2545
  17. 17.0 17.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 10–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
  18. "ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (92 ง): 210. วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  19. 19.0 19.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านฮวก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 135 (ตอนพิเศษ 253 ง): 18. วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561
  20. ประชากรรายหมู่บ้าน-ตำบล ในเขตอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง