การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบบการลงคะแนน |
---|
สถานีย่อยการเมือง |
การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที (อังกฤษ: instant-runoff voting, IRV) หรือเรียก ระบบคะแนนเสียงเผื่อเลือก[1] (alternative vote, AV)[2] ระบบจัดลำดับความชอบ (preferential voting, PV)[3][4] หรือในสหรัฐเรียก การลงคะแนนระบบจัดลำดับตัวเลือก (ranked-choice voting, RCV)[5] แต่ชื่อเหล่านี้อาจใช้เรียกในการลงคะแนนในระบบอื่นด้วย[6][7][8][9] การลงคะแนนระบบนี้ใช้การนับคะแนนเรียงตามลำดับความชอบเพื่อหาผู้ชนะเพียงรายเดียว
ในการลงคะแนนระบบนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้หลายคนตามลำดับความชอบ โดยการนับคะแนนจะนับให้ลำดับแรกก่อน หากมีผู้สมัครในลำดับที่หนึ่งรายใดได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด ผู้สมัครนั้นชนะการเลือกตั้งทันที หากยังไม่มีผู้ใดได้รับเสียงข้างมากเด็ดขาดเป็นลำดับที่หนึ่ง ในรอบถัดไปผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจะตกรอบ โดยในกรณีนี้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงคะแนนให้ผู้สมัครคนที่ตกรอบจะโอนไปให้กับผู้สมัครในลำดับถัดไป โดยกระบวนการนับคะแนนจะทำต่อไปจนกว่าจะได้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด
การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันทีนี้ โดยหลักการแล้วคือการเลือกตั้งแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง (single transferable vote) ที่ใช้เลือกผู้ชนะเพียงคนเดียว โดยวิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีผู้สมัครรายใดชนะการเลือกตั้งแบบไม่มีเสียงข้างมากเด็ดขาดได้ ซึ่งสามารถเกิดได้หากใช้ระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมาก/พหุนิยม (plurality voting) ซึ่งทำให้เกิดภาวะ "เสียงแตก" ได้ในผู้สมัครที่มีนโยบายคล้ายคลึงกัน ซึ่งทำให้เสียงของผู้ลงคะแนนผู้สมัครคนที่คะแนนน้อยสูญไป
การลงคะแนนแบบหลายรอบในทันทีนั้นใช้ในการเลือกตั้งระดับชาติในหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย[10] การเลือกตั้งประธานาธิบดีอินเดีย และการเลือกตั้งประธานาธิบดีไอร์แลนด์[11] เป็นต้น
นิยาม
[แก้]ในการลงคะแนนแบบนี้นำชื่อมาจากการนับบัตรลงคะแนนที่แบ่งเป็นรอบ ๆ จำนวนหลายรอบ คล้ายกับในระบบบัตรลงคะแนนหลายรอบ (exhaustive ballot) ยกเว้นแต่ตัวเลือกที่ผู้ลงคะแนนได้ลงลำดับไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรอบ[12] โดยชื่อเรียกอื่น ๆ ของการลงคะแนนระบบนี้ ได้แก่ การลงคะแนนแบบโอนเสียง การลงคะแนนแบบมีตัวแทน การลงคะแนนแบบจัดลำดับตัวเลือก การลงคะแนนแบบจัดลำดับตัวเลือกที่นั่งเดียว และการลงคะแนนแบบจัดลำดับความชอบ[13]
ในอังกฤษและนิวซีแลนด์เรียกระบบนี้ว่า "การลงคะแนนระบบจัดลำดับตัวแทน"[14][15] ในแคนาดาเรียกว่า "การลงคะแนนระบบจัดลำดับตัวเลือก"[16] ในออสเตรเลียซึ่งใช้การลงคะแนนแบบนี้ในการเลือกตั้งส่วนใหญ่ เรียกว่า "การลงคะแนนระบบจัดลำดับความชอบ" [17] ส่วนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรแฟร์โวตของสหรัฐเรียกว่า "การลงคะแนนระบบจัดลำดับตัวเลือก" สำหรับกรณีหาผู้ชนะเพียงคนเดียว และ "การลงคะแนนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง" สำหรับการหาผู้ชนะมากกว่าหนึ่งคน[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จันทร์อ่อน, พงศ์ศักดิ์. "การออกแบบระบบเลือกตั้ง:คู่มือเล่มใหม่ของ International IDEA" (PDF). สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. p. 114. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021.
- ↑ "Alternative Vote". www.electoral-reform.org.uk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-05-30.
- ↑ "Explainer: What is preferential voting?". SBS News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-05-30.
- ↑ corporateName=Australian Electoral Commission; address=10 Mort Street, Canberra ACT 2600; contact=13 23 26. "Preferential voting". Australian Electoral Commission (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 17 November 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ FairVote.org. "Ranked Choice Voting / Instant Runoff". FairVote. สืบค้นเมื่อ 2019-05-30.
- ↑ Toplak, Jurij (2017). "Preferential Voting: Definition and Classification". Lex Localis – Journal of Local Self-Government. 15 (4): 737–61. doi:10.4335/15.4.737-761(2017).
- ↑ "Ranked-Choice Voting (RCV)". www.opavote.com. สืบค้นเมื่อ 2019-05-30.
For some people, ranked-choice voting means any voting method where voters rank candidates. For these people, ranked-choice voting includes not only instant runoff voting and the single transferable vote, but also Condorcet voting and the Borda count.
- ↑ FairVote.org. "Ranked Choice Voting / Instant Runoff". FairVote. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
Examples of uses of RCV include: Australia (... multi-winner form of it for senate elections); Ireland (... multi-winner form for parliament and many local elections; Malta (multi-winner form for parliament)...
- ↑ Rubel, Alex (2019-05-24). "'Ranked Choice' replaces 'Instant Runoff' as new election format in first Just Community decision this year". The Boiling Point. สืบค้นเมื่อ 2019-05-31.
The ranked choice system ... voters rank each candidate from favorite to least favorite, and the winner is the candidate who was, on average, voted the highest.
- ↑ "Australian Electoral Commission". Aec.gov.au. 23 April 2014. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑ "Ireland Constitution, Article 12(2.3)". International Constitutional Law. 1995. สืบค้นเมื่อ 15 February 2008.
- ↑ "Second Report: Election of a Speaker". House of Commons Select Committee on Procedure. 15 February 2001. สืบค้นเมื่อ 18 February 2008.
- ↑ Cary, David (1 January 2011). "Estimating the Margin of Victory for Instant-runoff Voting". Proceedings of the 2011 Conference on Electronic Voting Technology/Workshop on Trustworthy Elections. EVT/WOTE'11: 3.
- ↑ "BBC News - Alternative vote". bbc.com. British Broadcasting Corporation. 8 February 2012. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
- ↑ "Opinion: OUSA Needs the Alternative Vote". Critic - Te Arohi. Otago, New Zealand: Otago University Students' Association. 30 September 2017. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
- ↑ "What is Ranked Choice Voting?". City of London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-26.
- ↑ "Liberal plan to change federal voting laws may have crossbench support". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 11 December 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ "How RCV Works". FairVote (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-08-17. สืบค้นเมื่อ 2018-08-17.