ประจวบ กีรติบุตร
ประจวบ กีรติบุตร | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2502 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2509 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท ขุนจำนงรักษา |
ถัดไป | พลตำรวจโท ต่อศักดิ์ ยมนาค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กันยายน พ.ศ. 2455 ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (54 ปี) โรงพยาบาลเมโมเรียล นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
คู่สมรส | กระจ่างศรี ไชยเสวี (สมรส 2485) |
บุตร | 4 คน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | |
อาชีพ | ตำรวจ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กรมตำรวจ |
ประจำการ | พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2510 |
ยศ | พลตำรวจโท |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการตำรวจนครบาล |
ผ่านศึก | กบฏบวรเดช สงครามมหาเอเชียบูรพา |
พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร (21 กันยายน พ.ศ. 2455 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510) เป็นตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ และผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นพี่ชายของประเทือง กีรติบุตร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเป็นบิดาของท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ ภริยาของพลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร[1] เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2455 ที่ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ เมืองพระนคร เป็นบุตรของอำมาตย์โท พระพิพิธพัสดุการ (เส็ง กีรติบุตร) กับเหลี่ยม พิพิธพัสดุการ มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน
พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร สมรสกับท่านผู้หญิงกระจ่างศรี กีรติบุตร (สกุลเดิม ไชยเสวี) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 มีบุตรธิดารวม 4 คนคือ
- ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์
- สุวิสาห์ กีรติบุตร
- สุรพิทย์ กีรติบุตร
- จิตระเสน กีรติบุตร
การศึกษา
[แก้]พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร จบการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนประถมวัดทองนพคุณ ในปี พ.ศ. 2463 ต่อมาศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนสุขุมาลลัย, โรงเรียนมัธยมบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2473 ต่อมาได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในปี พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2478 เเละต่อมาได้สอบชิงทุนรัฐบาลและได้ไปเรียนวิชาการตำรวจ ณ ประเทศญี่ปุ่น จนได้รับประกาศนียบัตร และกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2481
การทำงาน
[แก้]พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร รับราชการที่กรมตำรวจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ในตำแหน่งรองสารวัตรสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ และได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ดังนี้[2]
การรับราชการ
[แก้]พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจรัฐตรังกานู (ปฏิบัติราชการในกองข้าหลวงใหญ่ทหารสี่รัฐมาลัย) รองผู้กำกับการตำรวจนครบาลกลาง ประจำกองบังคับการตำรวจนครบาล ผู้กำกับการตำรวจนครบาลที่ 5 รักษาราชการในตำแหน่งรองหัวหน้ากองปกครอง กรมตำรวจ รองผู้บังคับการตำรวจสันติบาล รองผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครใต้ ผู้บังคับการตำรวจนครบาลพ��ะนครเหนือ รักษาราชการในตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลใต้ ผู้ว่าคดีศาลแขวงในจังหวัดพระนครและธนบุรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[3] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และตำแหน่งสุดท้ายก่อนถึงแก่อนิจกรรม คือ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ[4]
ราชการพิเศษ
[แก้]- พ.ศ. 2495 : เป็นนายตำรวจราชสำนักเวร[5][6]
- พ.ศ. 2502 : เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ[7]
- พ.ศ. 2504 : เป็นนายตำรวจราชสำนักพิเศษ[8]
- เป็นคณะกรรมการงานพิเศษ
- เป็นเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ
- เป็นกรรมการฝ่ายอำนวยการของกรมตำรวจ
- เป็นกรรมการวางแผนของกรมตำรวจ
- เป็นกรรมการกลางสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เป็นกรรมการบริหารราชตฤณมัยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- เป็นกรรมการธนาคารทหารไทย
- เป็นกรรมการธนาคารนครหลวงไทย
- เป็นกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2509 : เป็นกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ.....[9]
- พ.ศ. 2502 : เป็นกรรมาธิการการศึกษา การสาธารณสุข และการสาธารณูปการ
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ที่โรงพยาบาลเมโมเรียล นครนิวยอร์ก สหรัฐ ด้วยโรคมะเร็งที่อวัยวะภายในบางส่วนและอาการแทรกซ้อนหลังจากผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดี สิริอายุได้ 54 ปี 272 วัน พิธีพระราชทานเพลิงศพมีขึ้นที่เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[14]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[15]
- พ.ศ. 2486 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[16]
- พ.ศ. 2491 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2498 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[18]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[19]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2505 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (2514). อนุสรณ์เนื่องในพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2514. โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
- ↑ กองบัญชาการตำรวจนครบาล (2514). อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2514. โรงพิมพ์ไทยสัมพันธ์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๘๙, ๑๘ มีนาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๐๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งนายตำรวจราชสำนัก, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๐ ง หน้า ๔๔๓๖, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งนายตำรวจราชสำนัก, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๑ ง หน้า ๒๘๗๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๒๑ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๑ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ....., เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๓๖๔, ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๐๙
- ↑ (2514). ประจวบอนุสรณ์ อนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจโท ประจวบ กีรติบุตร ม.ว.ม., ป.ช., ท.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มีนาคม 2514. ม.ป.พ.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๔๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๓๔๖, ๑๓ กันยายน ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๓, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๖, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๓, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๑๐๐, ๓๐ มีนาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๐๑ ง หน้า ๒๓๕๖, ๑๕ ตุลาคม ๒๕๐๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2510
- ตำรวจชาวไทย
- บุคคลจากเขตสัมพันธวงศ์
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)