จักรพรรดินีอะเลคซันดรา เฟโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย
จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระฉายาลักษณ์โดย บอสซัมและอักกีแยร์ ในปี 1908 | |||||
จักรพรรดินีแห่งรัสเซีย | |||||
ดำรงพระยศ | 26 พฤศจิกายน 1894 – 15 มีนาคม 1917 | ||||
ราชาภิเษก | 26 พฤษภาคม 1896 | ||||
พระราชสมภพ | เจ้าหญิงอาลิกซ์แห่งเฮ็สเซินและโดยไรน์ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1872 [ตามปฎิทินเก่า: 25 พฤษภาคม] พระราชวังใหม่, ดาร์มชตัท, แกรนด์ดัชชีเฮ็สเซิน, จักรวรรดิเยอรมัน | ||||
สวรรคต | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 พระตำหนักอิวาเคียฟ, เยคาเตรินบุร์ก, สาธารณรัฐโซเวียตรัสเซีย | (46 ปี)||||
ฝังพระศพ | 17 กรกฎาคม 1998 มหาวิหารปีเตอร์และพอล, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, สหพันธรัฐรัสเซีย | ||||
คู่อภิเษก | จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (สมรส 1894; 1918) | ||||
พระราชบุตร | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | เฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท | ||||
พระราชบิดา | ลูทวิชที่ 4 แกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซินและโดยไรน์ | ||||
พระราชมารดา | เจ้าหญิงอลิซแห่งสหราชอาณาจักร | ||||
ศาสนา | รัสเซียออร์ทอดอกซ์ ก่อนหน้า ลูเทอแรน | ||||
ลายพระอภิไธย |
นักบุญอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย | |
---|---|
นักบุญ, ผู้รับพระทรมาน, ซารีทซา | |
นับถือ ใน | นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ |
การประกาศเป็นนักบุญ |
|
สักการสถานหลัก | อาสนวิหารแม่พระโลหิต, เยคาเติร์นบุร์ก, ประเทศรัสเซีย |
วันฉลอง | 17 กรกฎาคม |
จักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนา พระอิสริยยศเดิมคือ เจ้าหญิงอาลิกซ์แห่งเฮ็สเซินและริมไรน์ (6 มิถุนายน [ตามปฎิทินเก่า: 25 พฤษภาคม] ค.ศ. 1872 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918) เป็นจักรพรรดินีองค์สุดท้ายของรัสเซียทรงเป็นพระมเหสีในจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียจากการอภิเษกสมรสในวันที่ 26 พฤศจิกายน [ตามปฎิทินเก่า: 14 พฤศจิกายน] ค.ศ. 1894 จนกระทั่งสละราชสมบัติในวันที่ 15 มีนาคม [ตามปฎิทินเก่า: 2 มีนาคม] ค.ศ. 1917 ทรงเป็นพระราชนัดดาที่ทรงโปรดในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เป็นหนึ่งในผู้ที่เป็นพาหะของโรคเฮโมฟีเลียและในเรื่องการสนับสนุนการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จของจักรวรรดิรัสเซีย มิตรภาพในด้านลบกับกริกอรี รัสปูติน ผู้ลึกลับชาวรัสเซีย ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อพระชนม์ชีพของพระองค์ด้วย
ชีวิตในวัยเยาว์
[แก้]เจ้าหญิงอาลิกซ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1872 ณ เมืองดาร์มชตัท ในแกรนด์ดัชชีเฮ็สเซินและโดยไรน์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐหนึ่งในจักรวรรดิเยอรมัน พระชนกของพระองค์คือ ลูทวิชที่ 4 แกรนด์ดยุกแห่งเฮ็สเซิน และพระชนนีคือ เจ้าหญิงอลิซแห่งสหราชอาณาจักร พระราชธิดาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียและเจ้าชายอัลเบิร์ต พระองค์ทรงเข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมปีเดียวกัน ตามพิธีกรรมของนิกายลูเธอรันและทรงได้รับการขนานพระนามตามพระภคินีและพระขนิษฐาทั้งหมดของพระชนนี ซึ่งบางพระนามได้แปลงเป็นภาษาเยอรมัน โดยมีพ่อและแม่ทูนหัวดังนี้ เจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ซาเรวิชแห่งรัสเซีย ซาเรฟนาแห่งรัสเซีย เจ้าหญิงเบียทริซแห่งสหราชอาณาจักร ดัชเชสแห่งแคมบริดจ์ และเจ้าหญิงพระชายาแห่งเฮ็สเซิน
การอภิเษกสมรส
[แก้]ซาเรวิชนิโคลัส ได้เสด็จประพาสเมืองดาร์มชตัท พร้อมกับพระราชชนก และพระราชชนนี ได้ทรงพบเจ้าหญิงอาลิกซ์และเกิดความรัก แต่จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 และจักรพรรดินีมารีเยียไม่ทรงเห็นด้วยกับการอภิเษกสมรสนี้ มกุฎราชกุมารนิโคลัสจึงทรงสรุปสถานการณ์ไว้ดังนี้ "เราอยากเดินไปสู่จุดหมายหนึ่ง แต่มันก็เห็นชัดว่าแม่อยากจะให้เราเดินไปอีกทาง ความฝันของเราคือวันหนึ่งจะแต่งงานกับอาลิกซ์" ทั้งจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 และจักรพรรดินีมารีเยีนทรงมองว่าเจ้าหญิงอาลิกซ์ทรงขี้อายและแปลกประหลาดในบางครั้ง ทั้งสองพระองค์ยังทรงกังวลว่าเจ้าหญิงวัยดรุณีพระองค์นี้ขาดคุณสมบัติคู่ควรในการเป็นจักรพรรดินีแห่งรัสเซียอีกด้วย พระราชชนกและพระราชชนนีของมกุฎราชกุมารนิโคลัสทรงรู้จักกับเจ้าหญิงอาลิกซ์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงมีความรู้สึกว่าเจ้าหญิงทรงมีอารมณ์รุนแรงผิดปกติและไม่เต็มบาท ทั้งสองพระองค์ทรงยอมให้มกุฎราชกุมารอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอาลิกซ์อย่างลังเลพระทัย ทั้งสองได้ทรงสู่ขอเจ้าหญิงจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เนื่องจากพระราชชนกและพระราชชนนีของเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์แล้ว พิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นที่ ประเทศอังกฤษ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นประธานในพิธี โดยพระราชพิธีถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่
ชีวิตหลังการอภิเษกสมรส และ ตำแหน่งจักรพรรดินีแห่งรัสเซีย
[แก้]หลังมาอยู่ในรัสเซียได้ไม่นาน พระนางรู้สึกว่าตัวเองเป็นรอง เพราะพระนางพูดสำเนียงรัสเซียไม่ค่อยได้และชอบติดสำเนียงเยอรมัน ไม่เหมือนเจ้าหญิงแด็กมาร์ พระชนนีของซาเรวิ��นิโคลัส ที่ทรงพูดสำเนียงรัสเซียได้อย่างคล่องแคล่ว แม้ว่าพระนางเป็นชาวเดนมาร์ก และในงานเลี้ยงเจ้าหญิงดัมาร์จะแต่งตัวให้ดูดีกว่าใครในงาน ทำให้เจ้าหญิงอาลิกซ์ไม่ค่อยพอใจนัก หลังจากนั้นพระพลานามัยของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 เริ่มอ่อนแอลง
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 ณ พระราชวังลิวาเดีย ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 49 พรรษา มกุฎราชกุมารนิโคลัส มกุฎราชกุมารีอาลิกซ์ และจักรพรรดินีมารีเยียได้ทรงเข้าเฝ้าจนวินาทีสุดท้าย เมื่อพระองค์หมดลมหายใจ จักรพรรดินีมารีเยียทรงล้มลง เจ้าหญิงอาลิกซ์ได้ประคองพระนางไว้ หลังการเสด็จสวรรคต ได้ทำพิธีราชาภิเษก มกุฎราชกุมารนิโคลัส เป็นจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ปกครองรัสเซียสืบไป มกุฎราชกุมารีอาลิกซ์ได้รับพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดินีอเล็กซานดรา เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย หรือ ซารีนาอเล็กซานดรา ส่วนจักรพรรดินีมาเรียได้ทรงเลื่อนพระอิสริยยศ เป็นจักรพรรดินีมาเรีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ครอบครัว
[แก้]เจ้าหญิงอาลิกซ์มีพระโอรสและพระธิดากับจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ดังนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Weir, Alison (2011). British's Royal Families: The Complete Genealogy (reprint ed.). Random House. p. 307. ISBN 978–0099539735.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)
ก่อนหน้า | จักรพรรดินีอะเลคซันดรา เฟโอโดรอฟนา แห่งรัสเซีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มาเรีย เฟโอโดรอฟนา (ดักมาร์แห่งเดนมาร์ก) | จักรพรรดินีแห่งรัสเซีย (1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1917) |
ราชาธิปไตยล่มสลาย การปฏิวัติรัสเซีย |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2415
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2461
- จักรพรรดินีรัสเซีย
- พระราชนัดดาในพระราชินีวิกตอเรีย
- ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ-โรมานอฟ
- บุคคลจากดาร์มชตัท
- ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยอาวุธปืน
- ตระกูลเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท
- ดัชเชสแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ
- แกรนด์ดัชเชสแห่งรัสเซีย
- แกรนด์ดัชเชสแห่งฟินแลนด์
- จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย