พิชัย มงคลวิรกุล
พิชัย มงคลวิรกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2493 |
เสียชีวิต | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 (47 ปี) |
คู่สมรส | จิระรัตน์ มงคลวิรกุล |
พิชัย มงคลวิรกุล (8 มกราคม พ.ศ. 2493 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สังข์ทอง ศรีธเรศ)
ประวัติ
[แก้]พิชัย เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2493 จบการศึกษา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) จากประเทศฟิลิปปินส์ สมรสกับนางจิระรัตน์ มงคลวิรกุล
งานการเมือง
[แก้]พิชัย เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 10 มกรา[1] ต่อมาได้ย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับสมาชิกในกลุ่ม 10 มกรา และจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อ พรรคประชาชน[2] และลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส.อีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จากนั้นในปี พ.ศ. 2535 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 และสมัยที่ 5 และในปี พ.ศ. 2539 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สังข์ทอง ศรีธเรศ)[3]
พิชัย ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บทเรียนสอนไม่จำ 32ปี กลุ่ม "10 มกรา" คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ "คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 1138/2539 เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายปัญญา จินตะเวช, นายพิชัย มงคลวิรกุล, นายทรงศักดิ์ ทองศรี, นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- บุคคลจากจังหวัดกาฬสินธุ์
- วิศวกรชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- พรรคชาติไทย
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคความหวังใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.