ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)

รองศาสตราจารย์ ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย (31 ตุลาคม 2516 - ปัจจุบัน) เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2548 โดยมีผลงานวิจัยทางด้านเคมีเชิงฟิสิกส์ ซึ่งเกี่ยวกับการนำหลักการของกลศาสตร์ควอนตัมมาศึกษาสมบัติพื้นฐานของโมเลกุลโดยใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง

ประวัติการศึกษา

[แก้]

รองศาสตราจารย์ ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย หรือ รองศาสตราจารย์ ดร. ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวิบูลย์เสรีวิทยา มัธยมศึกษา จากโรงเรียนทวีธาภิเศก ในระหว่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนเยาวชนไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (สาขาฟิสิกส์) เก็บถาวร 2007-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เมื่อ ปี พ.���. 2533 ที่เมืองโกรนิงเกน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์ ทั้งที่สอบได้คะแนนสูงสุดของมหาวิทยาลัย และสามารถเข้าเรียนแพทย์ได้

จบปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2538 หลังจากนั้นได้บรรจุเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรับทุนพัฒนาอาจารย์จากทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาเคมีทฤษฎี ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศสหราชอาณาจักร จนจบปริญญาเอก เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ "การศึกษาสารประกอบเชิงซ้อนที่ยึดจับกันอย่างอ่อน" (Theoretical studies of weakly bound complexes) โดยมี Professor A.D. Buckingham, F.R.S เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับทุนสนับสนุนจาก German Academic Exchange Services (DAAD) เพื่อเข้าอบรมโครงการ 37th International Seminar on Research and Teaching in Physical Chemistry and Chemical Engineering ณ มหาวิทยาลัย Karlsruhe ประเทศสหพันธรัฐเยอรมัน

ประวัติการทำงาน

[แก้]

ผลงานวิจัย

[แก้]

งานวิจัยของ รศ.ดร. ยุทธนา เกี่ยวข้องกับการประยุกต์การคำนวณเทคนิคทางเคมีควอนตัม เพื่อใช้ศึกษาสมบัติพื้นฐานของโมเลกุลและศึกษาอันตรกิริยาระหว่างโมเลกุล ซึ่งความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติไฟฟ้าและแม่เหล็กของโมเลกุล มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาองค์ความรู้ของระบบโครงสร้างระดับนาโนเมตร ในขณะที่ความเข้าใจเกี่ยวข้องกับอันตรกิริยาระหว่างโมเลกุล ช่วยให้การพัฒนาออกแบบตัวยาและตัวเร่งปฏิกิริยาทางอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีเหตุผลมากขึ้น โดยได้มีการศึกษาถึงผลของสนามไฟฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารโมเลกุลเล็ก เพื่อใช้อธิบายการจัดตัวของโครงสร้างเมื่อเข้าทำปฏิกิริยา ความสัมพันธ์ของโครงสร้างต่อการนำไฟฟ้าในโมเลกุล ผลของสนามแม่เหล็กจากโมเลกุลลักษณะเป็นวงแหวนต่อสมบัติแม่เหล็กของโมเลกุลที่วิ่งลอดผ่าน

งานวิจัยพื้นฐานทางเคมีเกี่ยวข้องกับระเบียบวิธี Density Functional Theory ที่ รศ.ดร. ยุทธนา ศึกษา ได้รับการอ้างถึงในหนังสือวิชาการนานาชาติ 2 เล่ม (Essentials of Computation Chemistry โดย C.J. Cramer และ A Chemist's Guide to Density Functional Chemistry โดย W. Koch & M.C. Holthausen)

เกียรติคุณและรางวัล

[แก้]

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2548

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]