ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)

นโยบายนี้อธิบายว่าคุณควรทำอย่างไรหากเกิดข้อพิพาทระหว่างคุณกับผู้เขียนคนอื่น ดูเคล็ดลับเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:มารยาทในวิกิพีเดีย และโปรดระลึกว่า วิกิพีเดียไม่ใช่เรื่องการเอาชนะ

การหลีกเลี่ยงข้อพิพาท

มีหลายวิธีที่ช่วยระงับข้อพิพาทได้อย่างเด็ดขาด ก่อนการใช้กระบวนการอย่างเป็นทางการหรือการแทรกแซงของบุคคลภายนอก ข้อพิพาทหรือความเดือดร้อนควรตอบสนองในขั้นต้นโดยการเข้าหาผู้เขียนที่เกี่ยวข้องและอธิบายสิ่งที่คุณเห็นว่าเป็นเหตุให้คัดค้านและเหตุใดคุณจึงคิดเช่นนั้นโดยสุจริตใจ ซึ่งสามารถทำได้ในหน้าอภิปรายของบทความหรือในหน้าผู้ใช้

มุ่งที่เนื้อหา ไม่ใช่ตัวบุคคล

ขั้นแรกที่สำคัญที่สุดคือการมุ่งให้ความสนใจกับเนื้อหา ไม่ใช่ผู้ร่วมแก้ไข วิกิพีเดียมีรากฐานอยู่บนหลักการแห่งความร่วมมือ และการสันนิษฐานว่าความพยายามของผู้อื่นสุจริตใจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในทุก ๆ สังคม หากคุณพบว่าบทความมีส่วนใดคลาดเคลื่อนหรือไม่เป็นกลาง จงพยายามปรับปรุงตามความสามารถ หากการปรับปรุงนั้นมิอาจทำได้โดยง่ายและคุณไม่เห็นด้วยกับมุมมองที่แสดงในบทความนั้น อย่าเพียงแต่ลบออก แต่ควรปรับสมดุลตามที่คุณเห็นว่าจะทำให้บทความนั้นมีมุมมองที่เป็นกลาง ทั้งนี้ข้อความที่ปราศจากแหล่งอ้างอิงอาจถูกทำเครื่องหมายหรือนำออก จากนโยบายวิกิพีเดียที่ว่าข้อมูลต้องพิสูจน์ยืนยันได้

อธิบายเหตุผลเบื้องหลังการแก้ไขของคุณในคำอธิบายอย่างย่อเสมอ การใช้คำอธิบายอย่างย่อจะทำให้ผู้ร่วมแก้ไขคนอื่น ๆ เข้าใจในสิ่งที่คุณพยายามจะแก้ไข หากการแก้ไขอาจก่อให้เกิดการถกเถียงกัน ก็จงอธิบายว่าเหตุใดคุณจึงแก้ไขและการแก้ไขนั้นทำให้บทความพัฒนาขึ้นอย่างไร หากเหตุผลของคุณซับซ้อน ให้คุณสร้างส่วนใหม่ในหน้าพูดคุยของบทความเพื่ออธิบายและอ้างถึงส่วนนั้นในคำอธิบายอย่างย่อ เพื่อที่หากการแก้ไขของคุณเกิดถูกย้อนกลับ คุณจะยังสามารถอภิปรายการย้อนนั้นกับผู้เขียนคนอื่นในหน้าอภิปรายได้

โดยสรุป โปรดอย่าถือสาพฤติกรรมของผู้อื่น ให้อธิบายด้วยเหตุและผลกับเขา และอย่ายึดมั่นแต่ความคิดของตัวเอง

ใจเย็น ๆ

สถานการณ์ส่วนใหญ่ไม่ใช่กรณีเร่งด่วน ดังนั้นกรุณาให้เวลาทั้งตัวคุณเองและบุคคลอื่นสักพักหนึ่ง หลายครั้งที่การหายใจลึก ๆ แล้วค่อยตัดสินใจจะช่วยได้ อย่ากังวล เพราะคุณสามารถแก้ไขปัญหาทีหลังได้เสมอ โดยคุณสามารถกลับไปดูที่ประวัติการแก้ไขหน้าเมื่อใดก็ได้ เพื่อหารุ่นที่คุณได้ทำไว้ล่าสุดและเปรียบเทียบกับรุ่นปัจจุบันว่ามีสิ่งใดที่คุณจะเพิ่มหรือตัดออกบ้าง

มองสถานการณ์ในระยะยาว คุณอาจกลับมาแก้ไขบทความในจุดที่คุณต้องการได้ทันเวลา เมื่อปัญหาแต่ก่อนหมดไปแล้ว และคู่กรณีก็อาจปรับปรุงบทความโดยที่ไม่สนใจข้อพิพาทเก่า ๆ อีกเลย ในช่วงนั้นเองบทความที่เป็นข้อพิพาทจะวิวัฒนาขึ้น และหากเกิดข้อพิพาทขึ้นอีก ผู้เขียนคนอื่นอาจสนใจและมีมุมมองต่อข้อพิพาทต่างกัน

กรณีเช่นนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณมีปัญหากับผู้ใช้ใหม่ เนื่องจากการควบคุมอารมณ์นี้จะทำให้ผู้ใช้ใหม่เข้าใจในนโยบายและวัฒนธรรมของวิกิพีเดีย เปลี่ยนความสนใจไปยังบทความอื่นที่ซึ่งคุณสามารถนำพาให้เกิดความก้าวหน้าในเชิงก่อได้

พูดคุยกับผู้ใช้อื่น ๆ

หากมีการพูดคุยถึงประเด็นใด ๆ ก็ตาม อย่าลืมเรื่องการรักษาความสงบเยือกเย็น หากคุณเผชิญกับพฤติกรรมหยาบคายหรือไม่เหมาะสม อย่าใช้วิธีการทำนองเดียวกันเพื่อตอบโต้ ใคร่ครวญทัศนะของผู้เขียนคนอื่นด้วย และยืดมั่นว่าบุคคลเหล่านี้กระทำการโดยสุจริตใจ กระทั่งมีข้อพิสูจน์โดยชัดแจ้งว่าไม่เป็นเช่นนั้น จากนั้น คุณค่อยพิจารณาใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทโดยให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนด้วย

การพูดคุยกับผู้อื่นมิใช่ระเบียบพิธีรีตอง หากเป็นความจำเป็นเพื่อให้ทุกสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น การไม่อภิปรายจะทำให้ผู้อื่นไม่เข้าใจจุดยืนของคุณ และอาจทำให้การระงับข้อพิพาทในระดับสูงขึ้นไปไม่มีประสิทธิผล ในทางกลับกัน การอภิปรายที่ต่อเนื่องและการเจรจาอย่างจริงจังระหว่างคู่กรณี แม้อาจไม่ประสบผลสำเร็จโดยทันทีหรือกระทั่งล้มเหลวโดยสิ้นเชิงก็ตาม เป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังพยายามหาทางระงับปัญหานั้นแล้ว

นอกจากนี้ ลองพิจารณาเจรจาให้ได้ซึ่งข้อยุติ ไม่ว่าจะเป็นการประนีประนอมหรือการระงับข้อพิพาทชั่วคราว การกระทำดังกล่าวนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญหากคุณต้องการเชิญชวนควา���เห็นจากผู้อื่น เพราะจะทำให้ผู้อื่นพิจารณาประเด็นปัญหาได้อย่างยุติธรรม โดยปราศจากความสับสนของการแก้ไขที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

การมองหาคำแนะนำเบื้องต้นและการตอบรับเพื่อระงับข้อพิพาท

หากขั้นตอนที่ผ่านมาไม่อาจระงับข้อพิพาทได้ ลองรายงานไปยังป้ายประกาศการระงับข้อพิพาทซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาเนื้อหาและพฤติกรรมเล็กน้อยได้ ป้ายประกาศนี้มิได้ถูกออกแบบมาเพื่อนำข้อพิพาทที่มีอยู่เดิมให้หวนกลับคืนมาอีก ความจำเป็นในอันที่จะต้องอภิปรายโดยสงบและมีอารยะนั้นเป็นสิ่งสำคัญ

หากคุณต้องการความเห็นจากบุคคลที่เป็นกลางในข้อพิพาทที่มีคู่กรณีเพียงสองคน อาจหันไปพึ่ง วิกิพีเดีย:ความเห็นที่สาม

ระงับข้อพิพาทด้านเนื้อหา

หากขั้นตอนที่ผ่านมาไม่อาจระงับข้อพิพาทได้เช่นเดิม และข้อพิพาทนั้นถูกระบุว่าเป็นปัญหาด้านเนื้อหา คุณอาจลองใช้วิธีการดังด้านล่างนี้ ข้อพิพาทนี้มักเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยเฉพาะในบทความ (หรือเนื้อหาที่เสนอไว้ในบทความ) เข้ากับนโยบายวิกิพีเดียหรือไม่

การไกล่เกลี่ยอย่างไม่เป็นทางการ

หากข้อพิพาทเริ่มกลิ้งกลอกมากขึ้น อาจมีประโยชน์ในการร้องขอผู้ที่มีความใจเย็นเพื่อตรวจสอบและช่วยเหลือ บางครั้ง ผู้เขียนผู้ให้ความเห็นที่สามหรือตอบรับคำร้องขอความเห็นอาจเต็มใจช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้ หากเขาได้รับการร้องขอ

การไกล่เกลี่ยอย่างเป็นทางการ

การไกล่เกลี่ยเป็นกระบวนการโดยสมัครใจอันซึ่งบุคคลที่เป็นกลางทำงานร่วมกับคู่กรณีในการระงับข้อพิพาท ผู้ไกล่เกลี่ยช่วยชี้แนะคู่กรณีให้บรรลุความตกลงที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ เมื่อร้องขอการไกล่เกลี่ยอย่างเป็นทางการ เตรียมแสดงให้เห็นว่าคุณได้พยายามระงับข้อพิพาทโดยใช้ขั้นตอนข้างต้นแล้ว และคู่กรณีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนั้นตกลงเข้ารับการไกล่เกลี่ย การไกล่เกลี่ยไม่อาจเกิดขึ้นได้หากทุกฝ่ายไม่พร้อมใจเข้ารับ การไกล่เกลี่ยนั้นสำหรับข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหาบทความเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้

ระงับข้อพิพาทด้านพฤติกรรมผู้ใช้

หากข้อพิพาทนั้นถูกระบุว่าเป็นข้อพิพาทอันเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้ใช้ อาจลองระงับด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งตามด้านล่างนี้ ข้อพิพาทนั้นมักเกี่ยวข้องกับการร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำของผู้ใช้ (เช่น วิธีการแก้ไขของผู้ใช้คนนั้น หรือความคิดเห็นที่ผู้ใช้คนนั้นใช้ระหว่างการอภิปรายในหน้าอภิปราย)

ถึงที่สุด: การอนุญาโตตุลาการ

หากคุณได้ดำเนินหนทางอื่นทั้งหมดในการระงับข้อพิพาทแล้ว และข้อพิพาทนั้นมิได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของบทความ คุณอาจร้องขอการอนุญาโตตุลาการได้ เตรียมพร้อมที่จะแสดงว่าคุณได้พยายามระงับข้อพิพาทโดยวิธีอื่นแล้ว การอนุญาโตตุลาการแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยตรงที่คณะอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาคดีและมีคำตัดสิน แท���ที่จะเป็นเพียงการช่วยเหลือให้คู่กรณีบรรลุความตกลงได้ หากมีคำตัดสินออกมาจากอนุญาโตตุลาการ คุณจะถูกคาดหวังว่าจะยอมปฏิบัติตามผลคำตัดสินนั้น หากคดีนั้นเกี่ยวข้องกับความประพฤติมิชอบร้ายแรงของผู้ใช้ การอนุญาโตตุลาการอาจนำมาซึ่งผลหนักหลายอย่าง ตั้งแต่การห้ามคนหนึ่งมิให้แก้ไขอย่างสมบูรณ์ ดังที่ระบุไว้ในนโยบายการอนุญาโตตุลาการ หมายเหตุว่าการอนุญาโตตุลาการนั้นปกติใช้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้ ขณะที่การไกล่เกลี่ยนั้นปกติใช้ระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหาบทความ

กรณีเร่งด่วน

ในบางกรณีที่เร่งด่วนมาก ๆ หรือกรณีกระบวนการยุติข้อพิพาทไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ สามารถนำกรณีดังกล่าวไปที่หน้าต่อไปนี้ได้

โปรดทราบว่า การแจ้งผู้ดูแลระบบมิใช่สำหรับแจ้งประเด็นว่าด้วยการขัดกันแห่งเนื้อหา หรือพฤติกรรมของผู้ใช้โดยตรง หากรายงานไม่ถูกที่ อาจถูกลบออกและอาจต้องรายงานซ้ำในที่ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้ดูแลระบบมีอำนาจจำกัดในการรับมือผู้ใช้ที่กระทำการไม่เหมาะสม จึงไม่ใช่กรรมการตัดสินข้อพิพาทแต่อย่างใด

โปรดระวัง

ในบางกรณีผู้ใช้อาจนำการยุติข้อพิพาทไปใช้เพื่ออ้างความชอบธรรมในการกระทำการอันไม่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผลที่เกิดขึ้นนั้นย่อมจะไม่เป็นผลดี กระบวนการยุติข้อพิพาทดังกล่าวนี้มีขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนร่วมกันเขียนสารานุกรม มิใช่เพื่อเอาชนะในประเด็นส่วนตัวหรือการเมือง

การระงับข้อพิพาท เป็นหน้านโยบาย วิธีใช้ หรือหน้าโครงการของวิกิพีเดียที่ยังเป็นโครง
หน้าวิธีใช้ และหน้าโครงการของวิกิพีเดียภาษาไทย อาจต่างกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานนโยบายเดียวกัน