วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/การทับศัพท์ภาษาโปแลนด์
หน้าตา
เนื่องจากภาษาโปแลนด์ยังไม่เคยมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์เป็นภาษาไทยมาก่อน หน้านี้จึงเป็นการทับศัพท์ภาษาโปแลนด์สำหรับชื่อเฉพาะต่าง ๆ เพื่อใช้ในสารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย หลักเกณฑ์การทับศัพท์นี้ใช้หลักการแทนเสียงอ่านที่แสดงเป็นสัทอักษรสากล หากมีการอ่านแบบอื่นที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์นี้ก็ควรถอดเสียงให้คล้ายต้นฉบับมากที่สุด
สระ
[แก้]อักษร | สัทอักษร | ไม่มีตัวสะกด | มีตัวสะกด[1] | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
a | /a/ | อา | อั | |
ą | /ɔ̃/ | ออง, ออญ, ออน, ออม | [2] | |
aj | /aj/, /ai/ | ไอ | – | |
ał | /aw/, /au/ | เอา | – | |
e | /ɛ/, /e/ | แอ | แอ | |
ę | /ɛ̃/ | แอง, แอญ, แอน, แอม | [2] | |
ej | /ɛj/, /ɛi/ | แอย์ | – | |
i | /i/, /ʲi/ | อี | อิ | [3] |
ia | /ʲa/ | เอีย | เอีย | [3] |
ie | /ʲɛ/, /ʲe/ | อีแย | อีแย | [3] |
iu | /ʲu/ | อียู | อียุ | [3] |
o | /ɔ/ | ออ | ออ | |
oj | /ɔj/, /ɔi/ | ออย | – | |
ó | /u/ | อู | อุ | |
u | /u/ | อู | อุ | |
uj | /uj/, /ui/ | อุย | – | |
y | /ɨ/ | อือ | อึ |
- หากมีพยัญชนะตามหลังมากกว่าหนึ่ง ให้นับตัวแรกเป็นตัวสะกด
- ขึ้นอยู่กับพยัญชนะตามหลัง ดูอักษรที่เข้ากับสระนาสิกในตารางพยัญชนะ หากตัวถัดไปไม่มีพยัญชนะใช้ -ง
- ยกเว้น ci, dzi, ni, si, zi ถือเป็นพยัญชนะตัวเดียว
- เพิ่มไม้ไต่คู้หรือวรรณยุกต์หากอ่านสับสนหรือตรงกับความหมายไม่พึงประสงค์ในภาษาไทย
พยัญชนะ
[แก้]เสียงไม่ก้อง | เสียงก้อง | อักษรที่เข้ากับ สระนาสิก | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษร | สัทอักษร | แทนด้วย | อักษร | สัทอักษร | แทนด้วย | ||
เสียงนาสิก (ซอนอแรนต์) |
m | /m/ | ม | -ม | |||
n | /n/ | น | -น | ||||
ń, ni | /ɲ/ | ญ | -ญ | ||||
n | /ŋ/ | ง เมื่อตัวถัดไปเป็น k,g,ch,h | -ง | ||||
เสียงเปิด /รัวลิ้น (ซอนอแรนต์) |
j | /j/ | ย | -ญ | |||
r | /r/ | ร | -น | ||||
l | /l/ | ล | -น | ||||
ł | /w/ | ว | -ม | ||||
เสียงกัก (ออบสตรูนต์) |
p | /p/ | ป | b | /b/ | บ | -ม |
t | /t/ | ต | d | /d/ | ด | -น | |
k | /k/ | ก | g | /g/ | ก | -ง | |
เสียง เสียดแทรก (ออบสตรูนต์) |
f | /f/ | ฟ | w | /v/ | ขึ้นต้น ว ลงท้าย ฟ | -ม |
s | /s/ | ขึ้นต้น ซ ลงท้าย ส | z | /z/ | ซ | -น | |
sz | /ʂ/ | ช | ż, rz | /ʐ/ | ช | -ญ | |
ch, h | /x/ | ค | ch, h | [ɣ] | ก เมื่อตัวถัดไปเป็น ออบสตรูนต์เสียงก้อง |
-ง | |
ch, h | [ɦ] | ฮ พบได้ในบางสำเนียง | -ง | ||||
เสียงผสม เสียดแทรก /ฐานร่วม (ออบสตรูนต์) |
c | /t͡s/ | ขึ้นต้น ตซ ลงท้าย ตส | dz | /d͡z/ | ดซ | -น |
ć, ci | /t͡ɕ/ | ช | dź, dzi | /d͡ʑ/ | จ | -ญ | |
cz | /t͡ʂ/ | ตช | dż | /d͡ʐ/ | ดช | -ญ | |
ś, si | /ɕ/ | ช | ź, zi | /ʑ/ | ช | -น |
พยัญชนะผสม
[แก้]พยัญชนะผสมคือพยัญชนะที่เขียนหลายตัวติดกัน ซึ่งในภาษาโปแลนด์มีใช้มาก พยัญชนะผสมนี้รวมไปถึงอักษรพยัญชนะที่อยู่ติดกันข้ามคำด้วย เสียงอ่านจะเปลี่ยนไป ซึ่งก็ต้องทับศัพท์ตามเสียงที่เปลี่ยนไปนั้น ตามกฎดังนี้ (อย่างไรก็ตามอักษรที่ใช้แทนอาจเป็นตัวเดิมก็ได้)
- ถ้ามีพยัญชนะออบสตรูนต์หลายตัวติดกัน และพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นเสียงไม่ก้อง พยัญชนะเหล่านั้นจะแปรเป็นเสียงไม่ก้องทั้งหมด
- łódka [ˈwutka] : /d/ → [t] วุตกา
- kawka [ˈkafka] : /v/ → [f] กัฟกา
- ถ้ามีพยัญชนะออบสตรูนต์หลายตัวติดกัน และพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นเสียงก้อง ยกเว้น w และ rz พยัญชนะเหล่านั้นจะแปรเป็นเสียงก้องทั้งหมด
- także [ˈtaɡʐɛ] : /k/ → [ɡ] ตักแช
- jakby [ˈjaɡbɨ] : /k/ → [ɡ] ยักบือ
- ถ้ามีพยัญชนะออบสตรูนต์หลายตัวติดกัน โดยมีพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็น w หรือ rz และตัวก่อนหน้าเป็นเสียงไม่ก้อง พยัญชนะเหล่านั้นจะแปรเป็นเสียงไม่ก้องทั้งหมด
- krzak [kʂak] : /ʐ/ → [ʂ] กชัก
- odtworzyć [ɔtˈtfɔʐɨt͡ɕ] : /d/ → [t] และ /v/ → [f] อ็อตตฟอชึช
- นอกเหนือจากนี้ใช้เสียงเดิม
ตัวอย่าง
[แก้]- Korzybski = กอชึปสกี (มีการเปลี่ยนพยัญชนะผสม)
- Akwizgran = อักฟิซกรัน (มีการเปลี่ยนพยัญชนะผสม)
- Banach = บานัค
- Chojnów = คอยนุฟ
- Czesław Miłosz = ตแชสวัฟ มีวอช
- Elbląg = แอลบล็องก์
- Gdańsk = กดัญสก์
- Gdynia = กดือญา
- Wielkopolska = วีแยลกอปอลสกา
- Henryk Adam Aleksander Pius Sienkiewicz = แคนรึก อาดัม อาแล็กซันแดร์ ปียุส แชงกีแยวิตช์
- Kraków = กรากุฟ
- Krzysztof Penderecki = กชึชตอฟ แปนแดแรตสกี (มีการเปลี่ยนพยัญชนะผสม)
- Kołobrzeg = กอวอปแชก (มีการเปลี่ยนพยัญชนะผสม)
- Legnica = แลกน��ตซา
- Leszek Miller = แลแชก มิลแลร์
- Mazurek Dąbrowskiego = มาซูแร็ก ดอมบรอฟสกีแยกอ (มีการเปลี่ยนพยัญชนะผสม)
- Maciej Płażyński = มาแชย์ ปวาชึญสกี
- Województwo małopolskie = วอแยวุตสตฟอ มาวอปอลสกีแย (มีการเปลี่ยนพยัญชนะผสม)
ยกเว้นบางคำอ่านไม่เหมือนภาษาโปแลนด์เลย
- Chopin = ชอแปน (ทับศัพท์ได้ คอปิน)