ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหภาพโซเวียต"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
|||
บรรทัด 181: | บรรทัด 181: | ||
== การล่มสลายของสหภาพโซเวียต == |
== การล่มสลายของสหภาพโซเวียต == |
||
[[ไฟล์:Boris Yeltsin 19 August 1991-1.jpg |thumb|right|250px|[[บอริส เยลซิน]] ยืนท้าทายคณะรัฐประหารอยู่ด้านหน้าทำเนียบขาว วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1991]] |
[[ไฟล์:Boris Yeltsin 19 August 1991-1.jpg |thumb|right|250px|[[บอริส เยลซิน]] ยืนท้าทายคณะรัฐประหารอยู่ด้านหน้าทำเนียบขาว วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ.1991]] |
||
เมื่อ [[มิคาอิล กอร์บาชอฟ]]ได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ.1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย "Law on Cooperatives" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครังใหญ่ที่สุดตั้งแต่ สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อ[[ลัทธิมาร์กซ์]]อย่างสิ้นเชิง ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์เกิดความไม่พอใจกอร์บาชอฟ และในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้เห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐย่อยของ 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ.1991 คือ[[บอริส เยลซิน]] ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3 เปอร์เซนต์(มีการเลือกตั้งในวันที่12 มิถุนายน ค.ศ.1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา"Union of Soviet Sovereign Republics" หรือ "New Union Treaty" ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ.1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1991 มีเนื้อหาโดยรวมคือสหภาพโซเวียตจะถูกแปลงเป็นสหพันธรัฐ โดยแต่ละรัฐจะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้นๆ จนทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงเกิดความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริการจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า "The August Coup" แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่[[เครมลิน]] อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ |
เมื่อ [[มิคาอิล กอร์บาชอฟ]]ได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ.1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย "Law on Cooperatives" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครังใหญ่ที่สุดตั้งแต่ สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อ[[ลัทธิมาร์กซ์]]อย่างสิ้นเชิง ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์เกิดความไม่พอใจกอร์บาชอฟ และในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้เห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐย่อยของ 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ.1991 คือ[[บอริส เยลซิน]] ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3 เปอร์เซนต์(มีการเลือกตั้งในวันที่12 มิถุนายน ค.ศ.1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา"Union of Soviet Sovereign Republics" หรือ "New Union Treaty" ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ.1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1991 มีเนื้อหาโดยรวมคือสหภาพโซเวียตจะถูกแปลงเป็นสหพันธรัฐ โดยแต่ละรัฐจะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้นๆ จนทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงเกิดความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริการจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า "The August Coup" แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่[[เครมลิน]] อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ |
||
== แหล่งข้อมูลอื่น == |
== แหล่งข้อมูลอื่น == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:15, 8 มิถุนายน 2552
สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต อักษรซีริลลิก: Союз Советских Социалистических Республик¹ อักษรโรมัน: Soyuz Sovetskikh Sotsialisticheskikh Respublik¹ โซยุซ โซเวตสคิค โซเซียลิสตีเชสคิค เรสปูบลิค | |
---|---|
พ.ศ. 2465–2534 | |
คำขวัญ: Пролетарии всех стран, соединяйтесь! (ถ่ายตัวอักษร: Proletarii vsekh stran, soedinyaytes!) (แปล: ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลกจงรวมกันเข้า!) | |
สถานะ | สหพันธรัฐ |
เมืองหลวง | มอสโก |
ภาษาทั่วไป | ภาษารัสเซีย (ภาษาราชการโดยพฤตินัย) และอีก 14 ภาษาราชการ |
การปกครอง | สาธารณรัฐสังคมนิยม |
ผู้นำ | |
• 2465-2467 | วลาดิมีร์ เลนิน |
• 2467-2496 | โจเซฟ สตาลิน |
• 2496-2507 | นิกิตา ครุสชอฟ |
• 2507-2525 | เลโอนิด เบรจเนฟ |
• 2525-2526 | ยูริ อันโดรปอฟ |
• 2526-2528 | คอนสตันติน เชียร์เนนโค |
• 2528-2534 | มิคาอิล กอร์บาชอฟ |
ประวัติศาสตร์ | |
• การปฏิวัติเดือนตุลาคม | 23 ต.ค. 2460 |
• ก่อตั้ง | 30 ธ.ค. 2465 พ.ศ. 2465 |
9 พ.ค. 2488 | |
4 ต.ค. 2500 | |
19 ส.ค. 2534 | |
• ล่มสลาย | 25 ธันวาคม 2534 |
พื้นที่ | |
2534 | 22,402,200 ตารางกิโลเมตร (8,649,500 ตารางไมล์) |
ประชากร | |
• 2534 | 293047571 |
สกุลเงิน | รูเบิลโซเวียต (SUR) |
เขตเวลา | UTC+2 to +13 |
รหัสโทรศัพท์ | 7 |
โดเมนบนสุด | .su |
¹ชื่อทางการของสหภาพโซเวียต |
สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษ: The Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)
การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของกลุ่มบอลเชวิค (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) องค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ทำการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมในประเทศที่โซเวียตยึดครองจากฝ่ายนาซีในแนวรบด้านตะวันออก จนเกิดเป็นโลกตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งขั้วมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น
เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อนการล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์และฟินแลนด์ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับมลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย
การก่อกำเนิดสหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน (ผู้นำของสหภาพโซเวียตคนแรก) เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2465 (1917) ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังการหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้หมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1
นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
หลักการในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต
- อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นองค์ประกอบตายตัวในนโยบายต่างประเทศ อาจมีการผ่อนปรนในบางครั้ง ถ้าเห็นว่าผลประโยชน์สำคัญของชาติ (Vital National Interest) นั้นมีความสำคัญกว่า บางครั้งอาจจะต้องชลอเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติโลก
- ยุทธศาสตร์โซเวียต
- ทิศทางปฏิบัติการ เป็นความพยายามเชื่อมต่อปฏิบัติการย่อยๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้ยุทธวิธีมีความเป็นเอกภาพ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อการเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ และบรรลุอุดมการณ์คอมมิวนิสต์
นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตสามารถแบ่งได้เป็น3ยุค คือ
- นโยบายต่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
- นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับตั้งแต่ปี 1945 -1985 สามารถแบ่งได้ดังนี้
- นโยบายต่างประเทศของโซเวียตช่วงก่อนการล่มสลาย
ยุทธศาสตร์โซเวียต
- เป็นศิลปที่มุ่งที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดแก่โซเวียตเท่าที่ทำได้ในสภาวะจำกัด เพื่อรับใช้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ จะแปรเปลี่ยนไปตามขั้นตอน อาจจะรุกไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลังเพื่อรอจังหวะ โดยดำเนินการทั้งยุทธศาสตร์ทางตรง ได้แก่ การใช้กำลัง และยุทธศาสตร์ทางอ้อม เช่นทางจิตวิทยาหรือโฆษณาชวนเชื่อ
- ยุทธศาสตร์ของโซเวียตได้ยึดถือแนวความคิดของเลนิน-สตาลิน ในเรื่อง “ ความสัมพันธ์กำลังรบ”เป็นแนวในการดำเนินการประกอบกับทางเลือกต่างๆในการปฏิบัติซึ่งเรียกว่า ”ยุทธวิธี” ( Tactics) บางครั้งยุทธวิธีอาจสวนทางกับอุดมการณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะเลือกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทนมากกว่า
ประเทศที่แยกตัวจาก สหภาพโซเวียต
สหภาพโซเวียต ล่มสลายเมื่อปี 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็น Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย
วันหยุด
วันที่ | ชื่อ | ชื่อประจำท้องถิ่น | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 มกราคม | วันปีใหม่ | Новый Год | |
7 มกราคม | วันคริสต์มาส | Рождество | วันคริสต์มาสตามนิกายออเทอร์ดอกซ์ ไม่ใช่วันหยุดประจำชาติ ในสหภาพโซเวียด |
23 กุมภาพันธ์ | วันทหารแดง | День Советской Армии и Военно-Морского Флота ("วันกองทหารแห่งโซเวียด") | เพื่อรำลึกการก่อตั้ง กองทัพแดง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1918 ขณะนี้รัสเซียเรียกวันนี้ว่า День Защитника Отечества |
8 มีนาคม | วันสตรีสากล | Международный Женский День | วันหยุดสากลให้แก่ความเท่าเทียมทางเพศแก่สตรี |
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ.1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย "Law on Cooperatives" ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครังใหญ่ที่สุดตั้งแต่ สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งในพรรคคอมมิวนิสต์เกิดความไม่พอใจกอร์บาชอฟ และในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้เห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐย่อยของ 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ.1991 คือบอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3 เปอร์เซนต์(มีการเลือกตั้งในวันที่12 มิถุนายน ค.ศ.1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา"Union of Soviet Sovereign Republics" หรือ "New Union Treaty" ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ.1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ.1991 มีเนื้อหาโดยรวมคือสหภาพโซเวียตจะถูกแปลงเป็นสหพันธรัฐ โดยแต่ละรัฐจะมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้นๆ จนทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงเกิดความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริการจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า "The August Coup" แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์
แหล่งข้อมูลอื่น
- ภาพของสหภาพโซเวียด - แหล่งรวบรวมภาพ แสดงภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในสหภาพโซเวียด
- Impressions of Soviet Russia (ความประทับใจในโซเวียด รัสเซีย) , โดย John Dewey
- แผนที่ของ Western USSR