ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรัพย์สิน"
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม) ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 93: | บรรทัดที่ 93: | ||
}} |
}} |
||
{{ทรัพย์สิน}} |
{{ทรัพย์สิน}} |
||
[[หมวดหมู่:ทรัพย์สิน]] |
|||
{{nobots}} |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 01:56, 12 มีนาคม 2556
กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน[1] (law of property) เป็นกฎหมายหมู่สำคัญหมู่หนึ่งในกฎหมายแพ่ง ในระบบการศึกษาของประเทศไทย กฎหมายลักษณะทรัพย์สินมักศึกษาถัดจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล กฎหมายลักษณะหนี้ และกฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา ตามลำดับ ทว่า แม้ศึกษาแยกกันเป็นวิชา ๆ แต่กฎหมายเหล่านี้สัมพันธ์กันอยู่โดยสภาพ แยกใช้ขาดจากกันมิได้
บุคคลทุกคน ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว ย่อมมี "กองทรัพย์สิน" (estate) เป็นของตนเอง กองทรัพย์สินนี้เป็นที่รวมบรรดานิติสัมพันธ์ของบุคคลนั้นซึ่งมีค่ามีสิน นิติสัมพันธ์เหล่านี้ได้แก่ ทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้อง และหนี้[2]
แต่ละคนมีกองทรัพย์สินของตนเพียงกองเดียวเท่านั้น[3] และบุคคลไม่อาจแยกจากกองทรัพย์สินตนได้จนกว่าสิ้นสภาพบุคคล สำหรับบุคคลธรรมดานั้น เมื่อสิ้นสภาพบุคคล กองทรัพย์สินของเขาจะเปลี่ยนไปเรียก "กองมรดก" (estate) และตกทอดแก่ทายาทหรือผู้อื่นต่อไป[4]
กฎหมายลักษณะทรัพย์สินนั้นมีหัวใจเป็นการกำหนดเจ้าของทรัพย์สินและขอบเขตของความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตำรานี้แบ่งศึกษากฎหมายลักษณะทรัพย์สินตามลำดับดังนี้
บทที่ 1 ลักษณะทั่วไปของทรัพย์สิน
บทที่ 2 ประเภทของทรัพย์สิน
บทที่ 3 ส่วนประกอบของทรัพย์สิน
บทที่ 4 ทรัพยสิทธิ
รายละเอียดของแต่ละบทปรากฏอยู่ในกล่องท้ายหน้านี้แล้ว
เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก
ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น
เชิงอรรถ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]อ้างอิง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ภาษาไทย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- กฎหมายดีดี. (2555). คำพิพากษาศาลฎีกา (ปี 2512 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
- "กฎหมายลักษณะอาญา". (2451, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 25, ฉบับพิเศษ). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 1 มกราคม 2556). หน้า 206.
- ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549). พจนานุกรมกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9742883653.
- ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2540). กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
- บัญญัติ สุชีวะ. (2555). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา. ISBN 978-616-7425-37-5.
- ประมูล สุวรรณศร. (2525). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-4 ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
- ประภาศน์ อวยชัย. (2536). ข้อโต้แย้งจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามกฎหมายอาญา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.
- พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล). (2502). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2. กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา.
- "พระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก 115". (2439, 15 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 13, แผ่นที่ 33). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 1 มกราคม 2556). หน้า 367.
- มานิตย์ จุมปา. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 978-974-03-2300-6.
- ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
- ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2534, กันยายน). ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1. กรุงเทพฯ: มปท.
- เสนีย์ ปราโมช. (2521). กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
- สำนักงานศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). คำพิพากษาศาลฎีกา (ปี 2530 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
- หยุด แสงอุทัย. (2523). กฎหมายอาญา ภาค 2-3. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภาษาต่างประเทศ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- Bruce Ziff. (2006). Principles of Property Law. (4th edition). Toronto: Thomson Carswell. ISBN 0-459-55339-9.
- Department of Revenue, Rehabilitation and Disaster Management, Government of Punjab. (n.d.). The Indian Penal Code, 1860. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- Gotthold Julius Rudolph Sohm. (2002). The Institutes of Roman Law. (James C. Ledlie, translated). New Jersey: Gorgias Press. ISBN 1-59333-006-5.
- Kamol Sandhikshetrin. (2007). The Civil and Commercial Code, Books I-VI, and Glossary. (8th edition). Bangkok: Nitibannakan. ISBN 978-974-44-7349-3.
- Kemal Baslar. (1998). The Concept of the Common Heritage of Mankind in International Law. The Hague: Kluwer Law International. ISBN 90-411-0505-0.
- Langenscheidt Translation Service.
- (2011). Bürgerliches Gesetzbuch. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- (2011). German Civil Code. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- (2011). German Criminal Code. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- Legifrance.
- (2005). Code pénal. [En ligne]. (Accédé: 1 Janvier 2013).
- (2005). French Penal Code. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- (2006). French Civil Code. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- Masao Tokichi. (1908, December). "The New Penal Code of Siam". The Yale Law Journal, (Vol. 18, No. 2). [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
- Ministry of Justice of Japan. (2011). The Japanese Civil Code. [Online]. Available: <Parts 1-3 and Parts 4-5>. (Accessed: 13 December 2012).
- The Penal Code for the Kingdom of Siam (Draft Version). (1908). Bangkok: The A.P. Mission Press. [Online]. (Accessed: 1 January 2013).
ขึ้น |