แอร์ทอัพเฟิล
ลูกโลกเบไฮม์ * | |
---|---|
ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก | |
ลูกโลกแอร์ทอัพเฟิล | |
ที่เก็บรักษา | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเยอรมนี |
ประเทศ | เยอรมนี |
ภูมิภาค ** | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
อ้างอิง | [1] |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2023/2566 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
แอร์ทอัพเฟิล (เยอรมัน: Erdapfel, ออกเสียง: [ˈeːɐ̯tˌʔapfl̩] ; แปลว่า แอปเปิลโลก) เป็นลูกโลกที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมาร์ทีน เบไฮม์ นักทำแผนที่และพ่อค้าผ้าชาวเยอรมนี ระหว่าง ค.ศ. 1490–1492 จากการว่าจ้างของศาลากลางเมืองเนือร์นแบร์ค ทำจากไม้ลินินอัดเป็นสองซีก เสริมด้วยไม้ และวางทับด้วยแผนที่ที่วาดโดยกระดาษโดยเกออร์ค กล็อคเคินโดน และเป็นลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน[1]
ลูกโลกแอร์ทอัพเฟิลแสดงแผนที่ยูเรเชียขนาดใหญ่และมหาสมุทรที่ว่างเปล่าระหว่างทวีปยุโรปและเอเชีย แต่ไม่ปรากฎทวีปอเมริกา (เนื่องจากคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสยังเดินทางกลับมาไม่ถึงสเปน) ตัวแผนที่ปรากฎข้อความสื่อถึงชื่อสถานที่ราว 2,000 แห่ง สัญลักษณ์การทำแผนที่มากกว่า 200 รายการ และคำจารึกจำนวนมากที่อธิบายถึงความรู้ทั่วไปจากช่วง ค.ศ. 1500 จึงเป็นตัวแทนที่โดดเด่นของทั้งยุคเก่าและยุคใหม่ ที่สะท้อนถึงความรู้ของผู้คนเกี่ยวกับภูมิประวัติศาสตร์ในยุคก่อนและเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สะท้อนพัฒนาการของแลกเปลี่ยนความคิดระดับโลกที่เป็นพลวัต[2]
แอร์ทอัพเฟิลจัดแสดงอยู่ในห้องรับรองในศาลากลางเมืองเนือร์นแบร์คตั้งแต่แรกประดิษฐ์จนถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก่อนที่ครอบครัวเบไฮม์จะนำไปเก็บรักษาไว้เองในเวลาต่อมา ใน ค.ศ. 1907 ได้มีการนำไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเยอรมนี (Germanisches Nationalmuseum) ในเมืองเนือร์นแบร์ค และใน ค.ศ. 1992 ได้มีการนำไปที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเวียนนาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาด้วยความละเอียดสูงตามโครงการลูกโลกเบไฮม์ดิจิทัล[3]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนแอร์ทอัพเฟิลเป็นความทรงจำแห่งโลกของประเทศเยอรมนี ในนาม "ลูกโลกเบไฮม์" (Behaim-Globus)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Der Behaim-Globus in Nürnberg" (ภาษาเยอรมัน). Bayern-online.
- ↑ Behaim Globe
- ↑ Lionel Dorffner: Der digitale Behaim-Globus – Visualisierung und Vermessung des historisch wertvollen Originals, in: Cartographica Helvetica 14/1996.
- ↑ "UNESCO-Weltdokumentenerbe Behaim-Globus". Deutsche UNESCO-Kommission (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 18 May 2023.