- ประเภท : Adventure / Drama
- ผู้กำกับ : วิจิตร คุณาวุฒิ
- บทประพันธ์ :
- บทภาพยนตร์ : วิจิตร คุณาวุฒิ
- ผู้ถ่ายภาพ : แสวง ดิษยวรรธนะ
- เพลงประกอบ : ฉลอง ปราณี ประชาชน
- ผู้ให้เสียงพากย์ : พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง)
- อำนวยการสร้าง :
- บริษัทผู้สร้าง : แหลมทองภาพยนตร์
- วันที่เข้าฉาย : 29 มีนาคม 2504 ฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง-ศาลาเฉลิมบุรี
- ระบบถ่ายทำ : ภาพยนตร์สี 16 มม. ให้เสียงพากย์สด
เรื่องย่อ[]
สาวสวยจากเมืองกรุงหนีความผิดไปยังดินแดนไกลปืนเที่ยง ด้วยตั้งใจมาพึ่งใบบุญคุณอา ระหว่างทางเธอกลับถูกโจรป่าจับไปพร้อมหมอหนุ่มซึ่งโดยสารรถมาด้วยกัน ความจริงมา���ปิดเผยว่าหัวหน้าโจรนั้นมุ่งจับหมอหนุ่มมาเพื่อให้ช่วยรักษาเมียรักที่กำลังป่วยหนัก ระหว่างนั้นทั้งสาวเมืองกรุงและหมอหนุ่มก็ช่วยกันหาลู่ทางหลบหนี โดยมีเมียขุนโจรที่อยากหนีเช่นกันคอยช่วยอีกแรง เมื่อสบโอกาสทั้งสามจึงพากันหนีไป ทิ้งให้ขุนโจรเดือดดาลและออกตามหาแทบพลิกแผ่นดิน
นักแสดง[]
นักแสดง | รับบทเป็น |
---|---|
ประจวบ ฤกษ์ยามดี | โจร |
อดุลย์ ดุลยรัตน์ | |
เยาวลักษณ์ มณีเดช | |
พงษ์ลดา พิมลพรรณ | เมียโจร |
ชนินทร์ นฤปกรณ์ | |
สังวรณ์ พราหมณ์พันธุ์ | |
เมฆ มโนรถ | |
รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง | |
อุษา อัจฉรานิมิต |
Image Gallery & วีดีโอ[]
เกร็ด[]
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ วิจิตร คุณาวุฒิ ลงทุนสร้างด้วยตนเอง เป็นผลงานการสร้างของ แหลมทองภาพยนตร์
- ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในการประกวดตุ๊กตาทองเมื่อปี 2504 ถือเป็นรางวัลแรกของ วิจิตร คุณาวุฒิ ที่ภายหลังสามารถคว้ารางวัลนี้ได้อีกมากมายจนได้รับฉายาว่า "เศรษฐีตุ๊กตาทอง"
- วิจิตร คุณาวุฒิ ได้นำภาพยนตร์เรื่องนี้นำมาสร้างอีกครั้งในปี 2515 โดยเติมเนื้อเรื่อง เติมตัวละครและเติมเพลงเข้าไป แต่เปลี่ยนชื่อหนังเป็นเรื่อง หัวใจป่า (2515)
- ภาพยนตร์เรื่องนี้เคยนำกลับมาฉายทางช่อง 9 ในรายการเทศกาลภาพยนตร์ไทยคลาสสิค แต่ด้วยรายการมีเวลาเพียง 1 ชั่วโมง จึงต้องตัดหนังให้เหลือแค่ 45 นาที ก่อนฉายก็จะมีการแนะนำหนังและการฉายก็ใช้การพากย์สดๆ โดย สมพงษ์ วงศ์รักไทย-จุรี โอศิริ-พวงเล็ก
- ในปี พ.ศ. 2555 ภาพยนตร์ได้รับคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2555 เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทยของหอภาพยนตร์ ในบรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ไทยในยุคที่เรียกว่า 16 มม. วิจิตร คุณาวุฒิ นับว่าเป็นผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเฉพาะในด้านความตั้งใจที่จะสร้างผลงานที่มีคุณภาพและคุณค่าทางศิลปะ ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองเมื่อปี 2503 จำนวน 3 รางวัล
รางวัล และอนุสรณ์[]
- รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ. 2503
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- นักแสดงสมทบ��ายยอดเยี่ยม (ประจวบ ฤกษ์ยามดี)
- เพลงประกอบยอดเยี่ยม (ฉลอง ปราณี ประชาชน)
- โครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- มรดกภาพยนตร์ของชาติ ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2555)