การทำสมาธิแบบพ้นโลก
การทำสมาธิแบบพ้นโลก[1] (อังกฤษ: Transcendental Meditation; TM) เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำสมาธิมนตร์แบบไร้เสียง ที่ได้รับการสนับสนุนโดยขบวนการการทำสมาธิแบบพ้นโลก[2][3] มหรรษิ มเหศ โยคี เป็นผู้คิดค้นวิธีนี้ขึ้นในอินเดียในช่วงลกาวทศวรรษ 1950 ผู้สนับสนุนวิธี TM อ้างว่าการทำสมาธิแบบนี้สนับสนุนให้เกิดการรู้ตน, คลายความเครียด และเข้าถึงส��าวะแห่งการมีสติในระดับที่สูงกว่า[4] ไปจนถึงคุณประโยชน์ทางกายภาพ เช่น ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและความดันเลือดสูง[5]
มหรรษิได้สร้างวิธีการทำสมาธิแบบ TM ขึ้นบนพื้นฐานของคำสอนจากสวามี พรหมานันทะ สรัสวดี (รู้จักในชื่อ "คุรุเทพ") ผู้เป็นคุรุของมหรรษิ มหรรษิได้สั่งสอนวิธีการทำสมาธินี้แก่ผู้คนหลายพันคนทั่วโลกผ่านการเดินทางไปสอนทั่วโลกในรูป "เวิลด์ทัวร์" ในปี 1958 ถึง 1965[6][7] การทำสมาธิแบบ TM กลาย��าเป็นที่นิยมมากขึ้นในทศวรรษ 1960s ถึง 1970s เนื่องจากมหรรษิได้เปลี่ยนวิธีการสอนไปเป๋นแบบเชิงเทคนิกมากขึ้น และเนื่องมาจากว่าวิธีการทำสมาธิปบบนี้ได้ถูกนำไปปฏิบัติโดยเซเลบบริตีจำนวนมาก โดยเฉพาะสมาชิกของวงเดอะบีเทิลส์ และ เดอะบีชบอยส์
เทคนิกการทำ TM ประกอบด้วยการใช้การขานเสียงที่เรียกว่ามนตร์อย่างเงียบ ๆ ปฏิบัตินาน 15-20 นาที วันละสองครั้ง วิธีการทำเช่นนี้จะต้องสอนโดยผู้ฝึกสอนที่ได้รับการรับรองผ่านคอร์สที่มีมาตรฐานซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่างกันไปในแต่ละประเทศ ข้อมูลทางการขององค์กรอ้างว่าการทำสมาธิเช่นนี้เป็นวิธีการผ่อนคลายที่ไม่ใช่ทางศาสนา, เป็นการลดความเครียด และเป็นการพัฒนาตนเอง ในขณะที่มีการวิจารณ์ไว้ว่าการทำสมาธิแบบนี้เป็นทั้งวิธีทางศาสนา[8] และไม่ใช่เชิงศาสนา ประเด็นว่า TM เป็นวิธีปฏิบัติทางศาสนาหรือไม่นี้เป็นที่พูดคุยกันเป็นพิเศษในบรรดานักวิชาการไปจนถึงศาลของรัฐนิวเจอร์ซี[7][9][10] ศาลอุทธรณ์เขตสามของสหรัฐ สนับสนุนการตัดสินจากศาลสหรัฐให้ TM "โดยธรรมชาติ" เป็น "เชิงศาสนา" ("religious in nature") ทำให้ไม่สามารถนำมาสอนในโรงเรียนรัฐได้[11][12]
ในผลการศึกษาปี 2015 พบว่า TM อาจช่วยลดความดันเลือดได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม รวมถึงแนวโน้มว่าความดันเลือดอาจลดลงหากปฏิบัติ TM เป็นระยะเวลานาน เทียบเท่ากับการปรับวิถีชีวิตอื่น ๆ อย่างไรก็ตามมีการค้นพบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดการศึกษาหลายชิ้นที่ขัดกันเอง และยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีอคติในงานวิจัย ทำให้การศึกษาเกี่ยวกับผลของ TM ต่อการลดความดันเบือดยังคงต้องศึกษาเพิ่มเติมอยู่โดยเฉพาะจากนักวิจัยที่ไม่มีอคติ[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างคำแปลจาก ธนพงศ์ พุทธิวนิช (2022-06-22). "ตามรอย "เดอะบีเทิลส์" (The Beatles) ไปฝึกทำสมาธิ-หาความรู้ที่อินเดีย วงได้อะไรบ้าง?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 2022-11-26.
การทำสมาธิแบบ TM (TRANSCENDENTAL MEDITATION) เป็นการฝึกจิตสำหรับผู้แสวงหาความหลุดพ้นหรือการฝึกสมาธิแบบพ้นโลก
- ↑ "Transcendental Meditation". Britannica Online Encyclopedia.
- ↑ Dalton, Rex (8 July 1993). "Sharp HealthCare announces an unorthodox, holistic institute". The San Diego Union – Tribune. p. B.4.5.1.
TM is a movement led by Maharishi Mehesh Yogi, ...
- ↑ Mason, L (Feb 1997). "Electrophysiological correlates of higher states of consciousness during sleep in long-term practitioners of the Transcendental Meditation program". Sleep. 20 (2): 102–110. doi:10.1093/sleep/20.2.102. PMID 9143069.
- ↑ Heritage, Stuart (March 2014). "Transcendental meditation: does it work?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2 March 2021.
- ↑ Dawson, Lorne (2003). Cults and New Religious Movements. Hoboken, New Jersey: Blackwell Publishing. p. 54. ISBN 9781405143493.
- ↑ 7.0 7.1 Cowan, Douglas E.; Bromley, David G. (2007). Cults and New Religions: A Brief History (Blackwell Brief Histories of Religion). Wiley-Blackwell. pp. 48–71. ISBN 978-1-4051-6128-2.
- ↑ Siegel, Aryeh (2018). Transcendental Deception: Behind the TM Curtain. Los Angeles, CA: Janreg Press. ISBN 978-0-9996615-0-5.
- ↑ Calo, Zachary (2008). "Chapter 4: The Internationalization of Church-State Issues". ใน Duncan, Ann; Jones, Steven (บ.ก.). Church-State Issues in America Today. Westport, Connecticut: Praeger. p. 159. ISBN 978-0-275-99368-9.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Ashman, Allan (Jan 1978). "What's New in the Law". American Bar Association Journal. 64: 144.
- ↑ "Malnak v. Yogi". Leagle. 1979. สืบค้นเมื่อ 19 May 2017.
- ↑ Bette Novit Evans (9 November 2000). Interpreting the Free Exercise of Religion: The Constitution and American Pluralism. Univ of North Carolina Press. p. 65. ISBN 978-0-8078-6134-9.
Proponents of the program denied that Transcendental Meditation was a religion; the Third Circuit concluded that it was.
- ↑ Bai, Z; Chang, J; Chen, C; Li, P; Yang, K; Chi, I (12 February 2015). "Investigating the effect of transcendental meditation on blood pressure: a systematic review and meta-analysis". Journal of Human Hypertension. 29 (11): 653–62. doi:10.1038/jhh.2015.6. PMID 25673114. S2CID 22261.
- ↑ Ooi, Soo Liang; Giovino, Melisa; Pak, Sok Chean (2017). "Transcendental meditation for lowering blood pressure: An overview of systematic reviews and meta-analyses". Complementary Therapies in Medicine. 34: 26–34. doi:10.1016/j.ctim.2017.07.008. PMID 28917372.
บรรณานุกรม
[แก้]- Reddy, Kumuda; Egenes, Linda (2002), Conquering Chronic Disease Through Maharishi Vedic Medicine, New York: Lantern Books, p. 10, ISBN 978-1-930051-55-3
- Sharma, Hari (1995), "Maharishi Ayur-VedaAn Ancient Health Paradigm in a Modern World", Alternative and Complementary Therapies, 1 (6): 364, doi:10.1089/act.1995.1.364
- Wallace, Robert Keith (1993), The physiology of consciousness, Fairfield, Iowa: Maharishi International University Press, pp. 64–66, ISBN 978-0-923569-02-0
- Wujastyk, Dominik (2003). The Roots of Ayurveda: Selections from Sanskrit Medical Writings. London, New York, etc.: Penguin. ISBN 978-0-14-044824-5.
- Wujastyk, Dagmar; Smith, Frederick M. (2008). Modern and global Ayurveda: Pluralism and Paradigms. Albany: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-7489-1.