ข้ามไปเนื้อหา

มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก The Legend of the Condor Heroes (1983 TV series))
มังกรหยก
The Legend of the Condor Heroes 1983
ปกดีวีดี
ประเภทกำลังภายใน
เขียนโดยกิมย้ง (original story)
เฉิน กิวหยิง
เฉิง หว่าบิว
เหง่ยคัง
กำกับโดยหวังเทียนหลิน
ตู้ ฉีฟง
อู๋ ยัตฟาน
เหล่า สียัก
เสี่ยว หินไฟ
ชิง เสี่ยวถัง (กำกับฉากต่อสู้)
แสดงนำหวง เย่อหัว
อง เหม่ยหลิง
เหมียว เฉียวเหว่ย
หยาง พ่านพ่าน
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องโจเซฟ กู่
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด1. Tit Huet Dam Sum (鐵血丹心)
2. Yat Sang Yau Yi Yi (一生有意義)
3. Sai Kan Chi Chung Nei Ho (世間始終你好)
ขับร้องโดย "หลอเหวิน" และ "เจินหนี"
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับกวางตุ้ง
จำนวนตอน60 (uncut) 59 (cut)
การผลิ��
ผู้อำนวยการสร้าง"หวังเทียนหลิน"
สถานที่ถ่ายทำฮ่องกง
ความยาวตอน42 นาที/ตอน
บริษัทผู้ผลิตTVB
ออกอากาศ
เครือข่ายTVB Jade
ออกอากาศ21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 (1983-02-21) –
22 กรกฎาคม ค.ศ. 1983 (1983-07-22)
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
มังกรหยก ภาค 2 ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย

"มังกรหยก ภาค1 (1983) " (อังกฤษ: The Legend of conder heroes) หรือ "มังกรหยก ตอน กำเนิดก๊วยเจ๋ง" ของนักเขียนชื่อดัง กิมย้ง, เป็นงานสร้างของช่องทีวีบี โดยภาคแรกได้ถูกสร้างแบ่งออกเป็น 3 ภาคแยกย่อยด้วยกัน เป็นละครเวอร์ชั่นแรกที่สร้างตรงตามบทประพันธ์ฉบับกิมย้งที่แก้ไขแล้ว โดยแม่ของเอี้ยคังเป็น มกเนี่ยมชือ เวอร์ชันนี้ประสบความสำเร็จทั่วโลก โดยมีผู้ชมทั่วโลกมากกว่า 356,163,000 คนในขณะนั้น กลายเป็นหนึ่งในสิบละครที่มีเรตติ้งสูงสุดในโลกแห่ง ศตวรรษที่ 20 นอกจากจะประสบความสำเร็จสูงสุดทั่วโลกแล้ว ยังสร้างสถิติในฮ่องกงยังกลายเป็น มังกรหยก ภาค 1 (ก๊วยเจ๋ง) งานสร้างของฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในจีนมากที่สุดมาจนถึงทุกวันนี้และยังเป็นละครที่มีการฉายรีรันในจีนหลายครั้ง นำแสดงโดย หวง เย่อหัว, องเหม่ยหลิง, เหมียวเฉียวเหว่ย และ หยาง พ่านพ่าน เป็นเวอร์ชันที่ได้รับยกย่องว่า "คลาสสิกที่สุด" และ "ประสบความสำเร็จมากที่สุด" เท่าที่มีการสร้างมาในแง่ของละครที่ทรงอิทธิพล อีกทั้งยังทำเรตติ้งความนิยมเฉลี่ยต่อตอนของทั้งสามภาคย่อยสูงถึง 65 จุดเปิด และยังได้เรตติ้งคนดูที่สูงถึง 99% ในฮ่องกงและ 90% ในจีน (ซึ่งสามารถทำลายเรตติ้งเวอร์ชันของภาค 1 ในยุค 70 ที่มีดาราสาว หมีเซียะ รับบทอึ้งย้ง ลงได้สำเร็จ และยังทุบเรตติ้งสูงสุดของละคร เรื่อง "บ้านแตก 家變 1977" ที่นำแสดงโดย วังหมิงฉวน ที่เคยทำ%สถิติสูงสุดไว้ที่ 95%) ส่งให้มังกรหยกชุดนี้กลายเป็นละครชุดที่มีเรตติ้งสูงที่สุดทั้งในเกาะฮ่องกงและจีน, มีการนำไปออกอากาศที่ไต้หวันทางช่องที่สี่ และได้รับความนิยมจากชาวไต้หวันมากเช่นกัน อีกทั้งยังคว้ารางวัลหนึ่งในสามอันดับแรกของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงที่สุดทั่วทุกมุมโลก โดยมียอดผู้ชมดูสดผ่านทีวีครั้งแรกทั่วโลกมากกว่า 356 ล้านคน[1]ทุกวันนี้ยังเป็นละครฮ่องกงที่ออกอากาศรีรันซ้ำมากที่สุดในจีน[2][3]และยังมีคะแนน 92% ใน douban ซึ่งสูงกว่างานสร้าง มังกรหยก ในทุกเวอร์ชัน

"มังกรหยก ภาค 1" เวอร์ชันปี 1983 ซึ่งสร้างเรตติ้งสูงถึง 99% ในฮ่องกงของปีนั้นและเมื่อนำไปฉายในจีน ก็ทำเรตติ้งสูงสุด 90% ถือได้ว่าเป็นละครชุดคลาสสิกที่ประสบความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ละครชุดฮ่องกงและจีน อีกทั้งสื่อในมาเลเซียและสิงคโปร์ได้คัดเลือกละครทีวีจีนคลาสสิก 100 เรื่องในศตวรรษที่ 20 และละครมังกรหยกชุดนี้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสิบอันดับแรก[4][5]

ความสำเร็จจากทั่วโลก เมื่อมีการทยอยออกอากาศไปตามประเทศต่าง ๆ ส่งให้นักแสดงนำ "หวงเย่อหัว" เป็นที่รู้จักในนาม "ก๊วยเจ๋ง" ที่คลาสสิกที่สุดในประวัติศาสตร์ และการแสดงของนางเอก องเหม่ยหลิง ยังได้รับการยกย่องจากผู้ชมมากมายว่า "จะไม่มี อึ้งย้ง หลังจาก องเหม่ยหลิง อีกต่อไป" ซึ่งทั้งคู่ต่างได้รับการยกย่องอย่างสูง เวอร์ชันนี้มีการฉายรีรันในจีน หลายต่อหลายครั้ง นับไม่ถ้วน [6] อีกทั้งมังกรหยกชุดนี้ยังได้รับความนิยมทางด้านเรตติ้งที่สูงทั่วทวีปเอเชียทั้งในประเทศ จีน, ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และไทย อีกทั้งยังได้รับรางวัล "ละครชุดยอดนิยม เหรียญทอง" ในเทศกาลงาน "นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล" จาก ย่านไชน่าทาวน์ (Chinatown) ในสหรัฐ และยังได้รับความนิยมอย่างสูงในชุมชนคนจีนทั่วโลก จากความสำเร็จเป็นอย่างมากของละคร มังกรหยก 1983 ทำให้ดาราสาว องเหม่ยหลิง ได้รับการยกย่องว่าเป็น อึ้งย้ง ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด มาจนถึงปัจจุบัน [7][8][9][10][11][12][13]

มังกรหยกเวอร์ชันนี้ ถือเป็นละครชุดของ มังกรหยก ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในนวนิยายของ "กิมย้ง" ที่ถูกนำมาสร้างเป็นละคร และยังเป็นละครที่เรตติ้งสูงที่สุดในชีวิตการเป็นผู้กำกับของผู้กำกับ "หวังเทียนหลิน" อีกด้วย

ละครโทรทัศน์เรื่องนี้เป็นภาคแรก โดยมีภาค 2 ต่อคือเรื่อง มังกรหยก ภาค 2 ตอน กำเนิดเอี้ยก้วย ซึ่งดำเนินเรื่องราว ต่อเนื่องกัน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (2022) ทางแพลตฟอร์มYoukuของจีน จับมือกับ ทีวีบี (TVB) ของฮ่องกง ได้ร่วมกันคัดเลือก 10 ละครคลาสสิกของทีวีบีในทุกยุค ตั้งแต่ยุค 80s, 90s, 00s, 10s (หลายร้อยเรื่อง) โดยคัดเลือกออกมาได้สิบอันดับ ซึ่งใน 10 เรื่อง มีละครมังกรหยกชุดนี้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสิบละครสุดคลาสสิกของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี ที่ได้รับรางวัลสำหรับรายการ Youku และ TVB [14]นอกจากจะเป็นผลงานเพียงเรื่องเดียวที่สร้างจากบบทประพันธ์กิมย้งทั้งในยุค 70s-90s ที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในจีนแล้ว ยังกลายเป็นผลงานเพียงเรื่องเดียวจากบทประพันธ์ของ กิมย้ง (ยุค 70s, 80s และ 90s) ที่ได้รับการจัดอันดับสูงในจีนแผ่นดินใหญ่

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ก๊วยเชาเทียน และเอี้ยทิซิม สองพี่น้อง ได้คบหากับปรมาจารย์นักพรตสำนักช้วนจินก่า ชิว ชู่จี ทั้งสองกำลังจะมีบุตร ชิว ชู่จีจึงได้ทิ้งมีดสั้นวิเศษ 2 เล่ม ให้แก่ทั้งคู่ โดยสลักชื่อ เอี้ยคัง' และก๊วยเจ๋งไว้คนละด้าม ต่อมาอ้วนง้วนเลียกองค์ชายแห่งกิมก๊กถูกใจเปาเสียะเยาะ ภรรยาของเอี้ยทิซิม จึงวางแผนจ้างให้ขุนนางชาวฮั่นมาฉุดคร่าพาตัวไปให้ ก๊วยเชาเทียนถูกลูกหลงจนตายไป เอี้ยทิซิมไม่รู้เป็นตายร้ายดี หลีเพ้ง ภรรยาของก๊วยเชาเทียน ถูกขุนนางชั่วจับตัวเป็นตัวประกัน เปาะเสียะเยาะถูกอ้วนง้วนเลียกหลอกลวง จนยินยอมเป็นพระสนมให้เพื่อรักษา 'เอี้ยคัง' ลูกของตนเอาไว้ ด้านชิว ชู่จี มาช่วยสหายไม่ทัน จึงได้ตัดพ้อตัวเองว่าไม่เอาไหน และไล่ล่าขุนนางชั่ว จนไปขัดแย้งกับเจ็ดประหลาดแห่งกังหนำ และทั้งสองฝ่ายก็ไม่ยอมใคร แต่ชิว ชู่จีไม่อยากหักหาญน้ำใจกันไปมากกว่านี้ จึงได้คิดอุบายชุบเลี้ยง���ุตรของสหายทั้งสองขึ้น และตกลงกับเจ็ดประหลาดแห่งกังน้ำว่า อีก 18 ปี ให้หลัง ให้พาบุตรของสหายที่ฝ่ายตนได้ฝึกมาประลองยุทธ์กันที่ดินแดนกังหนำ หลีเพ้งหาทางจนหลบหนีขุนนางชั่วมาได้ แต่เคราะห์กรรมกลับซัดพาไปอยู่ ณ ดินแดนมองโกล ที่นั่นเอง ที่ ๆ ก๊วยเจ๋ง ได้ถือกำเนิดขึ้น

เมื่อก๊วยเจ๋งทายาทคนเดียวของสกุลก๊วยเติบโตเป็นหนุ่ม ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธจากเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ เมื่อครบกำหนดวันประลองกับเอี้ยคัง เขาได้เดินทางออกจากมองโกล ระหว่างทาง เขาได้พบกับอึ้งย้ง ทั้งสองให้คำมั่นสัญญาในการจะเป็นคู่ชีวิต อีกทั้งยังร่วมผจญภัยในยุทธภพ ครั้งหนึ่งก๊วยเจ๋งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอั้งฉิกกง และได้รับคัมภีร์นพเก้าจากจิวแป๊ะทง ทำให้เขามีวิทยายุทธสูงล้ำยิ่งขึ้น ส่วนเอี้ยคัง ทายาทสกุลเอี้ยได้รับการเลี้ยงดูจากประมุขแห่งเมืองกิม ทั้งเอี้ยคังและก๊วยเจ๋งได้รู้จักกัน และสืบรู้ว่าประมุขแห่งเมืองกิมนั้มคือฆาตกรที่สังหารครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ย แต่ทว่าเอี้ยคังเห็นแก่ลาภยศ ยอมเป็นลูกของศัตรูที่ฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า เอี้ยคังบังเอิญได้รู้ว่า ก๊วยเจ๋งมีคัมภีร์นพเก้าและคัมภีร์เยี่ยมยุทธ จึงร่วมมือกับ อาวเอี๊ยงฮงแย่งชิงคัมภีร์ทั้งสองเล่มจากก๊วยเจ๋ง โดยกำจัดเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ ซึ่งเป็นอาจารย์ของก๊วยเจ๋ง แล้วป้ายความผิดให้อึ้งเอี๊ยะซือ เพื่อก๊วยเจ๋งและอึ้งเอี๊ยะซือจะได้เข่นฆ่ากันเอง จนเป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งเกือบเอาชีวิตไม่รอด ขณะเดียวกัน การประลองยุทธที่เขาหัวซานใกล้มาถึง ทุกคนในยุทธภพต่างวางแผนที่จะแย่งชิงคัมภีร์ล้ำค่าทั้งสองเล่ม เป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนต้องการ

นักแสดง

[แก้]

ตัวละครหลัก

[แก้]

โศกนาฏกรรมหมู่บ้านหนิว

[แก้]
  • จูเถี่ยเหอ รับบท ก๊วยเซาที
  • ซูซิ่งเสวียน รับบท หลีเพ้ง
  • เซียะเสียน รับบท เอี้ยทิซิม / มกอี้
  • หลี่ซือฉี รับบท เปาเซียะเยียก
  • หลิวเจียง รับบท อ้วงง้วนอั้งเลียก

เจ็ดประหลาดกังน้ำ

[แก้]
  • กงไหง รับบท ค้างคาวเหินหาว กัวเต็งอัก
  • สวี่เส้าสยุง รับบท บัณฑิตมือวิเศษ จูชง
  • เจิงเหว่ยหมิง รับบท เทพอาชานัย ฮั้งปอกือ
  • ถานเฉวียนชิ่ง รับบท คนตัดฟืนเขาทักษิณ น่ำฮียิ้น
  • จวิ้นสยุง รับบท เมตไตรยยิ้ม เตียอาแช
  • เกาสยุง (คนละคนกับ เกาสง) รับบท ผู้กล้าซ่อนกลางตลาด ช้วนกิมฮวด
  • ปานปาน รับบท กระบี่สาวแคว้นเวียด ฮั้งเซี่ยวย้ง

จักรวรรดิมองโกล

[แก้]

เผ่าคียัต

[แก้]
  • ฉินเพ่ย รับบท เจงกิสข่าน เตมูจิน (ทิบักเจ็ง)
  • จางเหลย รับบท เจอเป
  • เหลียงหงฮว๋า รับบท โจชิ
  • กวนหลี่เจี๋ย รับบท จักกาไท
  • เหอกุ้ยหลิน รับบท โอโกเด
  • ไต้จื้อเหว่ย รับบท เซลุย (ทัวลุ้ย)
  • หวงเจ้าสือ รับบท วาเจน (ฮั้วเจ็ง)
  • เหลียนเหว่ยเจี้ยน รับบท มูคาลี

เผ่าเคอเรอิต

[แก้]
  • ถานปิ่งเหวิน รับบท จามูฮา (จาบบักฮะ)
  • กวนเจี้ยน รับบท ชางคุน (ซึงคุน)
  • หลี่ซู่เจีย รับบท โตวสือ

ราชสำนักกิมก๊ก

[แก้]
  • ถานอี้ชิง รับบท ฮ่องเต้ไถ่ฮั้ว อ้วงง้วนเก็ง
  • เยี่ยเทียนสิง รับบท อ้วงง้วนอั้งฮี

ยอดฝีมือ

[แก้]
  • เฉินตี๋เค่อ รับบท มังกรประตูผี ซัวทงที
  • หม่าชิ่งเซิง รับบท มังกรสามหัว โฮ้วทงไฮ้
  • ไป๋เหวินเปียว รับบท เฒ่าประหลาดเซียนโสม เนี่ยจื้ออง
  • ���หอหลี่หนาน รับบท เพชฌฆาตพันมือ แพ้เลี่ยงโฮ้ว
  • หลิวกั๋วเฉิง รับบท ประทับรอยมือ เล่งตี่

พรรคฝ่ามือเหล็ก

[แก้]
  • สือเจียน รับบท ฝ่ามือเหล็กลอยน้ำ คิ้วโชยยิ่ม / ฉือเอิน และ คิ้วโชยตึ๋ง

สำนักพรตช้วนจิน

[แก้]

เจ็ดนักพรต

[แก้]
  • จางอิงไฉ รับบท นักพรดตั้งเอี๊ยง เบ๊เง็ก
  • หลี่กั๋วหลิน รับบท นักพรตเซี่ยงจิน ท้ำชู่ตวน
  • ม่ายจื่ออวิ๋น รับบท นักพรตเซี่ยงแช เล้าชู่เฮี้ยง
  • เซียะหวี่ รับบท นักพรตเซี่ยงชุน คูชู่กี
  • เหลียงเส้าชิว รับบท นักพรตเง็กเอี๊ยง เฮ้งชู่เจ็ก
  • เจิ้งฟานเซิง รับบท นักพรตก่วงเล้ง ฮักไต้ทง
  • เฉิงเข่อเหวย รับบท แม่ชีเช็งเจ็ง ซึงปุกยี่

พรรคกระยาจก

[แก้]

เกาะดอกท้อ

[แก้]
  • เจิงเจียง รับบท มารบูรพา อึ้งเอี๊ยะซือ
  • เฉินเจียอี๋ รับบท พั่งเฮ้ง
  • อู่เยี่ยกวง รับบท เค็กเล้งฮวง
  • เฉินอันอิ๋ง รับบท เค็กส่า / ส่าโกว

ลมทมิฬคู่พิฆาต

[แก้]
  • หยางเหยียนถัง รับบท ศพทองแดง ตั้งเฮี้ยงฮวง
  • หวงเหวินฮุ่ย รับบท ศพเหล็ก บ๊วยเถี่ยวฮวง

หมู่ตึกคืนเมฆา

[แก้]
  • กวนไห่ซัน รับบท อุปสรรคห้าทะเลสาบ เล็กเซ่งฮวง
  • เหอก่วงหลุน รับบท เล็กฮุ้น
  • ฮุ่ยเทียนซื่อ รับบท เล็กกวงเอ็ง
  • เฉินซิ่วจู รับบท เที้ยเอี้ยวเกีย

เขาอูฐขาว

[แก้]
  • หยางเจ๋อหลิน รับบท พิษปัจฉิม อาวเอี๊ยงฮง
  • หวงอวิ่นไฉ รับบท อาวเอี๊ยงโคก

อาณาจักรต้าหลี่

[แก้]
  • หลิวเจ้าหมิง รับบท ราชันทักษิณ ฮ่องเต้กงเก๊ก ตวนตี่เฮ้ง / อิดเต็ง
  • เจิ้งชิ่งอวี๋ รับบท เทพคำนวณ เล้าเอ็ง / เอ็งโกว
  • หลงเทียนเซิง รับบท ชาวประมงแห่งเตี่ยมชัง ซู่ตังซัว
  • เฉินกั๋วเฉวียน รับบท ตัดฟืน เตียเซี่ยวซิว
  • เจียวสยุง รับบท กสิกร บู๊ซาทง
  • เฉิงซือจวิ้น รับบท บัณฑิต จูจื้อลิ้ว

เรตติ้งสูงสุดและรางวัล

[แก้]

มังกรหยกชุดนี้ ประสบความสำเร็จทางด้านเรตติ้งมากที่สุด เท่าที่มีการสร้างเป็นละครมาทั้งหมด และยังคงเป็นเวอร์ชันที่เรตติ้งประสบความสำเร็จมากที่สุดทั่วเอเชียทั้งในฮ่องกง จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย.จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มี มังกรหยก เวอร์ชัน ไหน ทำลายสถิตินี้ อีกทั้ง ละครชุดนี้ยังได้รับรางวัล "สิบอันดับละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงสุดทั่วทุกมุมโลก โดยอยู่ในอันดับ 3[15]:-

  • 1.เรตติ้งสูงสุดในฮ่องกง 99% ของยอดผู้ชมทั้งเกาะ กลายเป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่มียอดผู้ชมละคร อันดับ 1 ตลอดกาล[16][17]
  • 1.เรตติ้งสูงสุดในประเทศจีน 90% ของยอดผู้ชมทั้งประเทศ กลายเป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่มียอดผู้ชมละคร อันดับ 1 ตลอดกาล[18][19]
  • เป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่ได้รับความนิยมสูงสุด อันดับ 1 ตลอดกาลในประเทศ มาเลเซีย โดยติดอันดับ 5 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดตลอดกาลในประเทศมาเลเซีย
  • เป็นมังกรหยกเวอร์ชันที่ได้รับความนิยมสูงสุด อันดับ 1 ตลอดกาลในประเทศสิงค์โปร์ โดยติดอันดับ 6 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดตลอดกาลในประเทศสิงค์โปร์[20]

มาจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มี มังกรหยกเวอร์ชันไหนที่มียอดผู้ชมสูงเท่ากับเวอร์ชันนี้

รางวัลและการยกย่อง

[แก้]
  • ปีพ.ศ. 2526 ละครชุด "มังกรหยก" ชนะรางวัล ละครโทรทัศน์ที่มีคนดูเยอะที่สุดประจำปี ในเทศการงาน "ภาพยนตร์และโทรทัศน์" ย่านไชน่าทาวน์ ประเทศอเมริกา
  • ปีพ.ศ. 2526 "องเหม่ยหลิง" ชนะรางวัล 10 นักแสดงยอดเยี่ยมแห่งปี (จากบทอึ้งย้ง) ในฮ่องกง
  • ปีพ.ศ. 2548 อันดับ 1 จากบทอึ้งย้ง (ชนะ) ในการออกเสียงลงคะแนนทางออนไลน์ ผ่านทาง เว๊ปไซด์ยักษ์ใหญ่ของจีน Sina.com
  • ในปีพ.ศ. 2549 สำนักข่าวซินหัว ชื่อดังของ ทางการจีน ได้ยกย่อง องเหม่ยหลิง ให้เป็น นักแสดงสาวที่สวมบทบาทตัวละครอึ้งย้งที่ดีที่สุด และไม่มีนักแสดงสาวคนไหนเทียบชั้นได้[21]
  • ปีพ.ศ. 2550 องเหม่ยหลิง ชนะการจัดอันดับเป็น "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" ชนะ หมีเซียะ จาก "100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่สุด" จัดอันดับโดย วงการบันเทิงฮ่องกง (hk.entertainment)
  • ปีพ.ศ. 2552 ได้รับรางวัล "ท็อปเท็นละครโทรทัศน์สุดคลาสสิคตลอดกาล" จากงาน CCTV Award
  • ปีพ.ศ. 2555 ละครชุด มังกรหยก ได้อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดละครชุด ยุค 80s โดย เว๊ปไซด์ชื่อดัง "spcnet.tv"
  • ปีพ.ศ. 2558 ดาราสาว "องเหม่ยหลิง" ได้อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน โดย หนังสือพิมพ์ Chinese whispers (อ้างอิงจาก) [22][23][24][25][26][27][28]
ปีพ.ศ. เข้าชิง งานรางวัลและการจัดอันดับ รางวัลที่ได้รับ ผล หมายเหตุ
2526 ละครชุด "มังกรหยก" งาน "เทศกาลภาพยนตร์และโทรทัศน์" ย่านไชน่าทาวน์ สหรัฐ ละครโทรทัศน์เรตติ้งสูงสุดประจำปี (เหรียญทอง) ชนะ
ละครชุด "มังกรหยก" วงการบันเทิงฮ่องกง โดย (ทีวีบี และหนังสือพิมพ์ the Overseas Chinese Evening) ละครโทรทัศน์เรตติ้งสูงสุดประจำปี ชนะ ยังติด ท็อปเท็น "ละครชุดที่มีเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลของฮ่องกง" อีกด้วย
"อง เหม่ยหลิง" 10 ดารานักแสดงยอดนิยมสูงสุดประจำปี (บทอึ้งย้ง) ชนะ
2528 ละครชุด "มังกรหยก" วงการบันเทิงประเทศจีน ละครโทรทัศน์เรตติ้งสูงสุดประจำปี ชนะ ยังติด ท็อปเท็น "ละครชุดที่มีเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลของประเทศจีน" อีกด้วย
2533 ละครชุด "มังกรหยก" วงการบันเทิงฮ่องกง "10ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยมแห่งยุค 80s" ชนะ
2548 "อง เหม่ยหลิง" Sina Award ประเทศจีน บทบาทที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด (อึ้งย้ง) ชนะ ชนะ เจิ้ง เส้าชิว ในบท ชอลิ่วเฮียง และโจวเหวินฟะ ในเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้
2549 "อง เหม่ยหลิง" "สำนักข่าวซินหัว"

(China Xinhua News) ประเทศจีน

"นักแสดงสาวที่สวมบทบาทอึ้งย้งที่ดีที่สุด" ชนะ
2550 "อง เหม่ยหลิง" วงการบันเทิงฮ่องกง (hk.entertainment) "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" ชนะ ชนะ หมีเซียะ ในบทเดียวกัน
2552 ละครชุด "มังกรหยก" งานรางวัล CCTV Awards จาก "สถานีโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศจีน" "10ละครโทรทัศน์สุดคลาสสิค ตลอดกาล" ชนะ
2555 ละครชุด "มังกรหยก" spcnet.tv ฮ่องกง "สุดยอดละครชุด ยุค 80s" ชนะ
2557 ละครชุด "มังกรหยก" China Internet Information Center จีน "สุดยอดละครชุดฮ่องกง ยอดนิยมในต่างปรเทศ" ชนะ
2558 "อง เหม่ยหลิง" หนังสือพิมพ์ Chinese whispers จีน "สุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน" (บทอึ้งย้ง) ชนะ

ผลตอบรับ

[แก้]

ถึงแม้ว่าวรรณกรรม "มังกรหยก" เรื่องนี้จะเคยได้รับการนำมาสร้างเป็น ภาพยนตร์ และ ละครทีวี มาแล้วหลายครั้งก็ตาม แต่ไม่เคยมีครั้งไหนที่จะได้รับความนิยมมากเท่าเวอร์ชัน มังกรหยก 2526 (มากกว่า เวอร์ชันที่นำแสดงโดย ไป่เปียว และ หมีเซียะ) สิ่งที่ทำให้ "มังกรหยก" ผลงานการกำกับฯ ของ "หวังเทียนหลิน" ฉบับนี้เป็นเวอร์ชันที่ได้รับการกล่าวขานว่า "ดี" และ "โด่งดัง" มากที่สุด จนกลายมาเป็น "ความคลาสสิค" มาจากหลายปัจจัยด้วยกันอาทิ ฉากที่ดูสมจริง (เนื่องจากไม่ได้ถ่ายแต่แค่เพียงอยู่ในสตูดิโอ), เทคนิคการต่อสู้ในแบบกำลังภายในที่ดูแข็งแรง มีชั้นเชิง, เพลงประกอบอันไพเราะจากเสียงร้องของ 2 ศิลปิน "หลอเหวิน" และ "เจินหนี" (ภรรยาของซูเปอร์สตาร์หนุ่มแห่ง ชอว์ บราเดอร์ส "ฟู่เซิง") และ การคัดเลือกตัวผู้แสดงที่มีความลงตัวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะ 2 นักแสดงนำอย่างดาราหนุ่ม "หวงเย่อหัว" ในบท "ก๊วยเจ๋ง" และ นางเอกสาวผู้ล่วงลับ "องเหม่ยหลิง" ในบท "อึ้งย้ง".จนได้รับการยกย่องจากผู้ชมละครและสื่อต่าง ๆ มากมายว่า เป็น มังกรหยกภาค1 ที่ดีที่สุดในแง่ของบทหนัง และตัวของนักแสดง และถึงแม้ "มังกรหยก" ชุดนี้จะไม่มีเทคนิคในการถ่ายทำเท่าเวอร์ชัน รุ่นต่อมา, แต่การแสดงที่ยอดเยี่ยมของนักแสดงเช่น อง เหม่ยหลิง, หวง เย่อหัว และเหมียว เฉียวเหว่ย ก็สามารถเอาชนะใจผู้ชมจำนวนมากได้ องเหม่ยหลิง เธอสวมจิตวิญญาณในการเล่นเป็นอึ้งย้งออกมาอย่างเต็มที่ อึ้งย้งในแบบฉบับเธอ ดูเผิน ๆ จะเป็นคนเอาแต่ใจและไม่ค่อยมีเหตุผล แต่เธอสามารถตีความในส่วนดี สามส่วนของอึ้งย้งออกมานั่นคือความฉลาด, น่ารักและมีเสน่ห์ และเธอก็ใช้ความสามารถของเธอถ่ายทอด ตัวละครอึ้งย้ง ออกมาในแบบฉบับของตัวเธอเอง ด้วยไม่ได้เลียนแบบการแสดงของ หมีเซียะ เลย และกลายมาเป็นตำนานอึ้งย้งที่โด่งดังที่สุดบนหน้าจอทีวีจนถึงทุกวันนี้. หวง เย่อหัว ตีความบทตัวละคร "ก๊วยเจ๋ง" ว่าเป็นคนซื่อสัตย์ และมีความมุ่งมั่น อดทน และหวงเย่อหัว ก็ประสบความสำเร็จมากกับบทนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันเขาก็สามารถเล่นเป็น ก๊วยเจ๋ง ที่น่ารักและน่านับถือในตัวคน ๆ เดียวกันได้อย่างดีเยี่ยม. เอี้ยคัง รับบทโดยเหมียว เฉียวเหว่ย, เขาสามารถเล่นบทนี้ได้เหมือน เอี้ยคังตามบทประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกลักษณะของเอี้ยคังหรือด้านความร้ายกาจและความสับสนในตัวเอง ซึ่งเขาถ่ายทอดอารมณ์ทั้งหมดออกมาได้ดีมาก.

ละคร "มังกรหยกเวอร์ชันในปีพ.ศ. 2526" เป็น ละครกำลังภายในสุดคลาสสิก ที่เข้าไปนั่งอยู่ในใจผู้ชมทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ชมในประเทศจีนมากมายหลายร้อยล้านคน อง เหม่ยหลิง ผู้สวมบทบาทเป็น "อึ้งย้ง" ได้อย่างมีชีวิตชีวาและน่ารักกลายเป็นไอดอลของเด็กและผู้ใหญ่ เธอไม่ใช่ อึ้งย้ง ที่ตรงตามบทประพันธ์ของ "กิมย้ง" แต่ในหัวใจของผู้ชมส่วนใหญ่ อึ้งย้ง คือ อง เหม่ยหลิง และ องเหม่ยหลิง ก็คือ อึ้งย้ง ส่วนคนอื่น ๆ ที่เล่น เป็นอึ้งย้ง ก็แค่แสดง ในขณะที่ อง เหม่ยหลิง เธอไม่ได้แสดงเป็น อึ้งย้ง แต่เธอสามารถ ทำให้ อึ้งย้ง กลายเป็น เธอ.[29][30]

Wang Zhiping หนึ่งในผู้ดูแล บล็อกยักษ์ใหญ่ ของจีน ซินล่าง คอร์ป

หลังจาก อง เหม่ยหลิง แล้ว ก็ไม่มีใครสามารถขึ้นมาแทนที่เธอได้ เหตุผลของความสำเร็จของเธอในบท อึ้งย้ง คือการแสดงที่เป็นธรรมชาติ และเธอกับอึ้งย้ง ก็มีบุคลิกที่คล้ายกัน เธอคือ ไอดอล ในหัวใจของผู้ชมที่ทันดูในยุคของเธอ [31][32][33]

การกล่าวหา

[แก้]

มีการกล่าวหาจากคนบางกลุ่มว่า มังกรหยก 1983 ฉบับนี้เป็นเวอร์ชันที่มีการดัดแปลงมากที่สุด ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริง มังกรหยก เวอร์ชันนี้มีการดัดแปลงแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยที่ไม่เสียโครงเรื่องหลัก และไม่ได้มากมายอะไรเมื่อเทียบกับ "มังกรหยก 2008"

และในความจริง คือ มังกรหยก 2008 ฉบับ หลินอีเฉิน งานสร้างของไต้หวัน คือ มังกรหยกภาคก๊วยเจ๋ง ที่มีการดัดแปลงเนื้อหามากที่สุดของงานสร้าง มังกรหยก ทั้งหมด

เนื่องจาก องเหม่ยหลิง ประสบความสำเร็จกับบท อึ้งย้ง มากที่สุดและฝั่งรากลึกในใจผู้คนชาวจีนส่วนใหญ่

จึงทำให้มีการกล่าวหาแบบนั้นจากคนบางกลุ่มที่เป็นแฟนคลับของ มังกรหยกเวอร์ชันอื่น ที่ไม่พอใจในความสำเร็จของเธอ

แต่ถึงกระนั้น คนกลุ่มนั้นก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ความสำเร็จที่แทัจริงของเธอ

เหง่ยคัง

[แก้]

ความสำเร็จของตัวละคร อึ้งย้ง องเหม่ยหลิง มีส่วนไม่มากก็น้อย มาจากการเขียนบทอันยอดเยี่ยมของ ทีมเขียนบทฝีมือดีของทีวีบี ที่กลั่นกรองมาจากมันสมองที่ชาญฉลาด ของ "เหง่ยคัง" นักประพันธ์ชื่อดังร่วมยุคสมัยกับกิมย้งและโก้วเล้ง ที่เป็นที่ปรึกษาร่วมกับทีมเขียนบทของทีวีบี ทำให้บุคลิก อึ้งย้ง ฉบับ องเหม่ยหลิง มีชีวิตชีวาและสีสัน มากขึ้นทำให้มังกรหยกชุดนี้ดูสนุกยิ่งขึ้น

แต่ที่สำคัญที่สุด คือ การแสดงของ องเหม่ยหลิง ในบท อึ้งย้ง เวอร์ชันนี้ เธอได้หล่อหลอมจิตวิญญาณของตัวละครอึ้งย้งให้เป็นหนึ่งเดียวกับบุคลิกของเธอและออกมาเป็นธรรมชาติ จนตีบทแตกและชนะใจผู้ชมส่วนใหญ่จนโด่งดังและกลายมาเป็นตำนาน อึ้งย้งสุดคลาสสิค จนถึงทุกวันนี้

ในช่วงปีพ.ศ. 2525 (1982) ทางทีวีบี ได้เชิญ เหง่ยคัง เป็นนักประพันธ์ชื่อดัง เข้ามาเป็นที่ปรึกษาและออกไอเดียร่วมกับทีมเขียนบท "มังกรหยก ภาค 1 (1983) "

เพลงประกอบยอดนิยม

[แก้]

นอกจากละครจะโด่งดังแล้ว บทเพลงประกอบละครเรื่องนี้ทั้งสามภาคย่อยต่างประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน และได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารชั้นนำและนักฟังเพลงว่า เพลงประกอบละครเรื่องนี้ทั้งสามภาคย่อย ของ มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง 1983 นั้น ไพเราะและกลายเป็นเพลงประกอบละครชุดของ มังกรหยก ที่ถูกจดจำมากที่สุด แม้กระทั่ง มังกรหยก 2017 ฉบับ หลี่อี้ถง รับบท อึ้งย้ง ซึ่งเป็นงานสร้างของจีนแผ่นดินใหญ่ ยังมีการเอาเพลงเปิดตัวยอดนิยมของ มังกรหยก (1983) ฉบับ องเหม่ยหลิง (ไม่ใส่เสียงร้อง) มาทำดนตรีบรรเลงใหม่และนำมาเป็นเพลงไตเติ้ลประกอบเพื่อดึงดูดผู้ชมให้สนใจ และยังเป็นการเรียกความทรงจำในอดีตเมื่อครั้งที่ มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง 1983 เคยออกอากาศที่จีนแผ่นดินใหญ่ ได้สร้างความประทับใจและฮิตถล่มทลายที่นั้น[34][35][36][37][38]

ในอดีตช่วงที่ มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง 1983 ออกอากาศ ได้ถูกแบ่งแยกย่อยออกเป็น 3 ภาค ดังนี้

  • มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง ภาค 1
  • มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง ภาค 2
  • มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง ภาค 3

ซึ่งแต่ละภาคมีเพลงไตเติ้ลประกอบของทั้งสามภาคย่อย ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะบทเพลงไตเติ้ลของ มังกรหยก ภาค 1 (ชุด 1 แยกย่อย) เพลงช้าที่ไพเราะและตราตึงผู้ชมละครมาจนถึงทุกวันนี้ เพราะเป็นการขับร้องประสานเสียงคู่ระหว่าง หลอเวิน กับ เจนนี่ (ภรรยาของ ฟู่เซิง) ทำได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ในช่วงที่ มังกรหยก 1983 (ภาค 1-3 แยกย่อย) ออกอากาศในฮ่องกง นอกจากละครจะโด่งดังมากแล้ว อัลบั้มเพลงประกอบละครชุดนี้ ก็โด่งดังไม่แพ้กัน โดยมีเพลงไตเติ้ลในภาค 2 กับ 3 ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งรายสัปดาห์ ของ ไชนิส เพลงป็อป ชาร์ต (Chinese Pop Chart) โดย Radio Television Hong Kong อีกทั้งอัลบั้มยังมียอดขายระดับ แพลตตินั่ม ในฮ่องกง อีกด้วย

ในปีพ.ศ. 2532 (1989) นักวิจารณ์ดนตรีชื่อดังในฮ่องกง คือ หวงจื้อหัว (黃志華) ได้คัดเลือกอัลบั้มเพลงคลาสสิกของจีนที่เขาชื่นชอบในช่วงยุคทศวรรษ 80s (1980-1989) และอัลบั้มนี้ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนั้น

ในปีพ.ศ. 2553 (2010) มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง 1983 (The Legend of the Condor Heroes 1983) ได้รับเลือกให้รับรางวัล ไชนิสโกวเด้นเมโลดี้ (Chinese Golden Melody Award) เป็นเวลา 30 ปี ของละครมังกรหยก 1983 ชุดนี้ และได้รับรางวัลอันทรงคุณค่านี้ โดยให้เหตุผลว่า

"บทเพลงช้าละครเรื่องนี้ไพเราะเกินขีดจำกัดของเพลงประกอบละครทีวีทั่วไป และเป็นการผสมผสานที่ลงตัวของ ท่วงทำนอง (บรรยากาศ) และอารมณ์เพลง (ความละเอียดอ่อน) "

การฉายทางทีวีในเมืองไทย

[แก้]

ละคร มังกรหยก ชุดนี้ประสบความสำเร็จสูงสุดทั่วเอเชีย รวมถึงในประเทศไทยด้วย

สำหรับการออนแอร์ลงจอทีวีช่องหลัก ในเมืองไทย มี 3 ครั้งด้วยกัน

1. เริ่มออนแอร์ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ปีพ.ศ. 2526 เวลา 21.30-22.30 ทางช่อง 3 เรตติ้งประสบความสำเร็จมาก ส่งให้ดาราสาว องเหม่ยหลิง โด่งดังมากกับบท อึ้งย้ง จนต้องบินมาโชว์ตัวเมืองไทยช่วงเดือน ธันวาคม ของปีเดียวกันทันที (ส่วนต่างจังหวัดรับชมได้ทางช่อง 10 และ 11 ในปีเดียวกัน)

2. ปลายปีพ.ศ. 2528 ช่วงเย็นเวลา 17:00-18:00 เป็นการฉายอีกครั้งเพื่อเป็นการอำลาอาลัยหลังจากดาราสาว องเหม่ยหลิง ผู้สวมบทบาท อึ้งย้ง เวอร์ชันนี้ ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันในปีนั้น

3.ฉายซ้ำอีกครั้งช่วงเย็นเวลา 16:30-17:10 กลางปีพ.ศ. 2536 เป็นการฉายครบรอบ 10 ปี ความสำเร็จของ มังกรหยก ชุดนี้

ส่วนครั้งอื่น ๆ นอกเหนือจากการฉายทางช่องหลักแล้ว ยังมีการฉายทาง เคเบิล และ ทางยูทูป

การฉายรีรันซ้ำ

[แก้]
  • ปีค.ศ. 1990
  • ปีค.ศ. 1995-1996
  • ปีค.ศ. 2012-2013
  • ปีค.ศ. 2024

อ้างอิง

[แก้]
  1. 电影聚焦. "สิบอันดับละครของทีวีบี ที่มียอดคนดูสูงสุดทั่วเอเชีย". โดย ทีวีบีโทรทัศน์ไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.
  2. 澎湃新闻 (2022-02-18). "ติด 10 อันดับเล่นซ้ำบ่อยที่สุดในจีน". news.ifuun.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  3. "เบื้องหลังการสร้างละครมังกรหยก 1983 และเรตติ้งเฉลี่ย". news.kbbs. 2022-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  4. "二มาเลย์เซียและสิงค์โปร์ เลือก มังกรหยกชุดนี้ เป็นสิบอันดับแรก ละครยอดนิยมในยุคศตวรรษ 20" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
  5. "100 อันดับละครฺฮ่องกง(1970-2000)ในมาเลย์เซีย และ สิงคโปร์". 豆瓣 (手机版). สืบค้นเมื่อ 2022-05-01.
  6. 澎湃新闻 (2017-11-29). "การยกย่องก๊วยเจ๋งและอึ้งย้ง 1983". news.epochtimes.com. สืบค้นเมื่อ 2021-11-27.
  7. "อึ้งย้งที่ดังที่สุด". โดย sohu. พฤศจิกายน 13, 2560. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 5, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ""จัดอันดับอึ้งย้ง ที่เล่นดีที่สุด" โดย หนังสือพิมพ์ Apple Daily ของ ฮ่องกง และ ไต้หวัน". โดย " chinanews". พฤษภาคม 27, 2554. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 5, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. หมวด: บันเทิงเอเชีย (กุมภาพันธ์ 26, 2560). "เปรียบเทียบ อึ้งย้ง องเหม่ยหลิง". โดย "ข่าวสด ". สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 5, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "มังกรหยกฉบับพ.ศ. 2526". โดย sohu. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 24, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. หมวด: บันเทิงเอเชีย (กรกฎาคม 15, 2561). "เวอร์ชัน ตำนาน". โดย "ข่าวสด ". สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 24, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. หมวด: บันเทิงเอเชีย. ""สุดยอดละครชุด ยุค 80s"". โดย "spcnet ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-27. สืบค้นเมื่อ มกราคม 22, 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. หมวด: บันเทิงเอเชีย. ""เวอร์ชันมังกรหยก ที่มีเรตติ้งสูงสุดในประเทศสิงคโปร์"". โดย "remembersingapore ". สืบค้นเมื่อ มกราคม 22, 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. หมวด: บันเทิงเอเชีย (May 17, 2022). "Youku เลือก 10 ละครชุดคลาสิกทีวีบี". โดย "hk01 ". สืบค้นเมื่อ May 29, 2022.
  15. 电影聚焦. "สิบอันดับละครของทีวีบี ที่มียอดคนดูสูงสุดทั่วเอเชีย". โดย ทีวีบีโทรทัศน์ไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.
  16. Syzhgrgg (ตุลาคม 13, 2560). ""มังกรหยก 1983 เรตติ้งสูงสุด"". โดย Baidu. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ""เรตติ้งสูงสุด" ของเวอร์ชันมังกรหยก". โดย Read01. กุมภาพันธ์ 27, 2559. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "เรตติ้ง "มังกรหยก 1983 ในประเทศจีน"". โดย wenxuecity. มีนาคม 28, 2558. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "เรตติ้ง "มังกรหยก ในประเทศจีน"". โดย backchina. มีนาคม 29, 2558. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. ""100 ละครโทรทัศน์ที่เรตติ้งสูงสุดตลอดกาล ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์"". โดย ตรงหมวดรางวัลในประวัติของเธอบนวิกี. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 19, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "เว๊ปผู้จัดการ" (สิงหาคม 9, 2549). ""10 ยอดฝีมือบนเวทีการแสดงของโลกบันเทิงมังกร ที่หาผู้อื่นเทียบชั้นได้ยาก". โดย "สำนักข่าวซินหัวของ ทางการจีน". สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 18, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. ""100 นักแสดงที่สวมบทบาทเป็นตัวละครได้ดีที่ที่สุดในวงการบันเทิง". โดย วงการบันเทิงฮ่องกง. พฤศจิกายน 27, 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-14. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. ""บทบาทที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด"". โดย Sina. พฤศจิกายน 27, 2548. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. PETER, WANG (กันยายน 13, 2558). ""องเหม่ยหลิง ได้อันดับหนึ่งจาก สิบอันดับสุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน". โดย หนังสือพิมพ์ Chinese whispers. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. ""องเหม่ยหลิง ติดหนึ่งในสิบอันดับสุดยอดนักแสดงยอดนิยมแห่งปี". โดย barbarayung. ธันวาคม 19, 2526. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 13, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  26. ""สุดยอดละครชุดยอดนิยมสูงสุดทั่วเอเชีย"". โดย China.org.cn. มิถุนายน 25, 2557. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. หยี่กว้าน (พฤษภาคม 8, 2560). ""รางวัล CCTV Awards จัดให้ละครมังกรหยกชุดนี้ เป็นเวอร์ชันที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาล"". โดย Hket. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. ""มังกรหยก2526 เป็นเวอร์ชันที่คลาสิคที่สุด"". โดย bastillepost. กุมภาพันธ์ 6, 2560. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "Apollo News Network" (พฤษภาคม 14, 2555). "อึ้งย้ง องเหม่ยหลิง เป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุด". โดย aboluowang. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 5, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. Christopher (สิงหาคม 19, 2556). ""เปรียบเทียบ อึ้งย้ง 14 เวอร์ชัน"". โดย gamme.com.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-03. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 5, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "ฝ่ายประชาสัมพันธ์" (กันยายน 6, 2559). "มังกรหยก 2526 เป็นเวอร์ชันที่ดีที่สุด". โดย สยามดารา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 11, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. Wang Zhiping (มีนาคม 4, 2560). ""อึ้งย้งในดวงใจ องเหม่ยหลิง"". โดย ซินล่าง คอร์ป. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 18, 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "มังกรหยก 2526 เป็นเวอร์ชันที่คลาสสิกที่สุด". โดย bkkclub. พฤษภาคม 10, 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-05. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 11, 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. 林夕 (December 30, 1986). "เพลงจีน (ฮ่องกง) ในช่วงสิบปี(76-86)". 號外. HK.
  35. 雅雅 (1983-08-04). "10 อันดับเพลงยอดเยี่ยมแห่งปี 1983 ‧ ประกาศเพลงที่เลือกสำหรับซีซันที่สอง". "Hong Kong TV" (822): 146.
  36. 黃志華 (1989-12-01). "มองย้อนกลับไปที่ยุค 80s ตอนพิเศษ 1". Music Bus「音樂通信」 (163期). 香港.
  37. 黃志華 (1989-12-15). "มองย้อนกลับไปที่ยุค 80 ตอนพิเศษ 2". Music Bus「音樂通信」 (164期). 香港.
  38. ""รางวัลเพลงจีนทองคำ" เพลงละครสุดคลาสสิคในรอบ 30 ปี"". รางวัลเพลงจีนทองคำ. 2010-12-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]