ข้ามไปเนื้อหา

สาธารณรัฐไครเมีย

พิกัด: 45°24′N 35°18′E / 45.400°N 35.300°E / 45.400; 35.300
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Republic of Crimea)
สาธารณรัฐไครเมีย
Республика Крым
การถอดเสียงอื่น
 • ยูเครนРеспубліка Крим, Respublika Krym
 • ตาตาร์ไครเมียКъырым Джумхуриети, Qırım Cumhuriyeti
ธงของสาธารณรัฐไครเมีย
ธง
ตราราชการของสาธารณรัฐไครเมีย
ตราอาร์ม
เพลง:
Нивы и горы твои волшебны, Родина (รัสเซีย)
ที่ตั้งของ สาธารณรัฐไครเมีย  (แดง) ในรัสเซีย  (เหลืองอ่อน)
ที่ตั้งของ สาธารณรัฐไครเมีย  (แดง)

ในรัสเซีย  (เหลืองอ่อน)

ที่ตั้งของ สาธารณรัฐไครเมีย  (เหลืองอ่อน) ในคาบสมุทรไครเมีย  (ไม่มี)
ที่ตั้งของ สาธารณรัฐไครเมีย  (เหลืองอ่อน)

ในคาบสมุทรไครเมีย  (ไม่มี)

พิกัด: 45°24′N 35°18′E / 45.400°N 35.300°E / 45.400; 35.300
ประเทศรัสเซีย
เขตสหพันธ์ตอนใต้[1][2]
เขตเศรษฐกิจคอเคซัสเหนือ[3]
สถาปนา18 มีนาคม ค.ศ. 2014[4]
เมืองหลักซิมเฟโรปอล
การปกครอง
 • องค์กรสภาแห่งรัฐ
 • หัวหน้าเซียร์เกย์ อัคซิโอนอฟ [5]
พื้นที่[6]
 • ทั้งหมด26,100 ตร.กม. (10,100 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ประมาณ 
(2018)[7]
1,913,731 คน
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก แก้ไขบนวิกิสนเทศ[8])
ทะเบียนรถ82[9][10]
รหัส OKTMO35000000
ภาษาราชการรัสเซีย;[12] ยูเครน;[11] ตาตาร์ไครเมีย[11]
เว็บไซต์rk.gov.ru

สาธารณรัฐไครเมีย (อังกฤษ: Republic of Crimea; รัสเซีย: Респýблика Крым; ยูเครน: Республіка Крим; ตาตาร์ไครเมีย: Qırım Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐที่ประกาศตนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย ถือครองดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ทางใต้ของประเทศยูเครน อธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวยังพิพาทกันระหว่างประเทศยูเครนกับรัสเซีย

สาธารณรัฐไครเมียก่อตั้งขึ้นจากผลแห่งการลงประชามติไครเมีย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557 โดยรัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมียในวันเดียวกับที่ก่อตั้ง[13] ในวันรุ่งขึ้น ประเทศดังกล่าวขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย[14] และมีการลงนามร่างกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ดำเนินการได้[15] ซึ่งการรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติโดยทั่วไป การขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียได้รับสิทธิแยกกัน โดยสิทธิหนึ่งแก่อดีตสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย และอีกสิทธิหนึ่งแก่เซวัสโตปอล[16]

วันที่ 18 มีนาคม 2557 รัสเซียและไครเมียได้ลงนามสนธิสัญญาการเข้าร่วมของสาธารณรัฐไครเมียและเซวัสโตปอลในสหพันธรัฐรัสเซียหลังการปราศรัยต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีปูติน ในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งจะมีถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ทั้งสองฝ่ายจะระงับประเด็นการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของไครเมียและเซวัสโตปอล "ในระบบเศรษฐกิจ การเงิน สินเชื่อ และกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย"[17]

จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2557 มีเพียงสี่ประเทศเท่านั้นที่รับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีหนึ่งประเทศที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ คือ รัสเซีย อับฮาเซีย นากอร์โน-คาราบัค และเซาท์ออสซีเชีย

ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 11 มีนาคม 2557 ทั้งสองเขตเคยอนุมัติมติร่วมแสดงเจตจำนงประกาศอิสรภาพ[18] ตลอดจนมติแสดงเจตนารวมกับรัสเซีย รัฐบาลทั้งสองเรียกร้องให้มีการลงประชามติเพื่อจุดประสงค์นี้ แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ไปออกเสียงลงคะแนนในการลงประชามตินี้ออกเสียงสนับสนุนเอกราชจากยูเครน แต่นานาชาติไม่รับรองความชอบธรรมและความเป็นธรรมของการออกเสียงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะการลงประชามตินี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รัสเซียกำลังยึดครองคาบสมุทรไครเมียอยู่

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เอกราชและกลับสู่รัสเซีย

[แก้]

วันที่ 17 มีนาคม 2557 เกิดการลงประชามติ ผลปรากฏว่า ไครเมียประกาศเอกราชจากยูเครน และเข้าสู่การเป็นสาธารณรัฐของรัสเซีย รัฐสภาไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครนอย่างเป็นทางการ และขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัว รัสเซียรับรองเอกราชของไครเมียในวันเดียวกัน

การปกครอง

[แก้]

ไครเมียมีการปกครองโดยมีรัฐสภาไครเมียเป็นนิติบัญญัติ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ส่วนประมุขขึ้นตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Crimea becomes part of vast Southern federal district of Russia" (ภาษาอังกฤษ). Ukraine Today. 28 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  2. Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
  3. Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
  4. "Putin reveals secrets of Russia's Crimea takeover plot" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 9 March 2015. สืบค้นเมื่อ 3 August 2016. Crimea was formally absorbed into Russia on 18 March, to international condemnation, after unidentified gunmen took over the peninsula.
  5. "Crimea Deputies Back Acting Leader Sergei Aksyonov to Head Republic – News". The Moscow Times.
  6. Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  7. "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
  8. "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  9. "Order of Interior Ministry of Russia №316". Interior Ministry of Russia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  10. Для крымских автомобилистов приготовили новые номера. Segodnya (ภาษารัสเซีย). 2 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2015. สืบค้นเมื่อ 6 July 2015.
  11. 11.0 11.1 "Putin addresses Russia's parliament in Crimea". al Jazeera.
  12. ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
  13. http://en.ria.ru/russia/20140317/188525924/Russia-Recognizes-Crimeas-Independence.html
  14. "Ukraine 'will never accept' Crimea annexation, President says". CNN. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
  15. "Ukraine crisis: Putin signs Russia-Crimea treaty". BBC News. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
  16. "Kremlin: Crimea and Sevastopol are now part of Russia, not Ukraine". CNN. 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.
  17. "Treaty to accept Crimea, Sevastopol to Russian Federation signed". Russia Today. March 18, 2014.
  18. "Парламент Крыма принял Декларацию о независимости АРК и г. Севастополя". Государственный Совет Республики Крым. 11 March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]