ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Phantom eye syndrome)
กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่
(Phantom eye syndrome)
กายวิภาคของตามนุษย์ กล้ามเนื้อภายนอกลูกตามีสีแดง
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10G54.6, G54.7
ICD-9353.6

กลุ่มอาการหลงผิดว่าตายังคงอยู่[1] (อังกฤษ: Phantom eye syndrome, ตัวย่อ PES) รวมความเจ็บปวดที่ตาและการเกิดประสาทหลอนทางตา หลังจากที่เอาตาข้างใดข้างหนึ่งออกโดยการควักลูกตา (enucleation) หรือการควักเนื้อในลูกตา (evisceration)

อาการ

[แก้]

คนไข้จำนวนมากเกิดอาการหลงผิดหลังจากที่เอาลูกตาอออก รวมทั้ง

  • ความเจ็บปวดในตาที่เอาออกไปแล้ว (อัตราความชุกที่ 26%)[2]
  • ความรู้สึกไม่ประกอบด้วยความเจ็บปวดในตาที่เอาออกไปแล้ว[2]
  • ประสาทหลอนทางตา คือ คนไข้ประมาณ 30% แจ้งว่ามีประสาทหลอนทางตาที่เอาออกไปแล้ว[2] ซึ่งโดยมากแล้ว ภาพหลอนจะเป็นลักษณะการเห็นพื้นฐานทั่ว ๆ ไปเช่นรูปร่างและสี และโดยเปรียบเทียบแล้ว กลุ่มอาการ Charles Bonnet syndrome ที่เกิดในโรคที่ทำให้สูญเสียสายตาอย่างรุนแรง มีประสาทหลอนโดยอัตราชุกที่ต่ำกว่าที่ 10% และมักจะประกอบด้วยภาพหลอนที่มีรายละเอียดที่สูงกว่า

พยาธิกำเนิด

[แก้]

ความรู้สึกและความเจ็บปวดในอวัยวะที่ไม่มี

[แก้]

ความเจ็บปวดและความรู้สึกอื่น ๆ ในอวัยวะที่ไม่มี เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทกลางที่เกิดขึ้นเนื่องจากการตัดประสาท (denervation) จากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง[3][4] แต่ว่า ความเจ็บปวดในตาที่ไม่มีเกิดขึ้นน้อยกว่าการเจ็บปวดในอวัยวะอื่นเช่นแขนขาเป็นต้นที่ไม่มี ความเจ็บปวดในแขนขาที่ตัดออกมีอัตราความชุกประมาณ 50% ถึง 78% เปรียบเทียบกับความเจ็บปวดในลูกตาที่เอาออกประมาณ 30%

เชื่อกันว่า ความเปลี่ยนแปลงในคอร์เทกซ์ที่มีแผนที่ภูมิลักษณ์ของเนื้อเยื่อรับความรู้สึก (คือใน cortical homunculus) จุดใกล้กับอวัยวะที่ตัดออกไป มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของความเจ็บปวดและความรู้สึกอื่น ๆ ในอวัยวะที่ไม่มี เหตุผลที่มีคนไข้ที่มีความเจ็บปวดในตาที่ไม่มี น้อยกว่าคนไข้ที่มีความเจ็บปวดในแขนขาที่ไม่มี อาจจะเป็นเพราะระบบรับความรู้สึกทางกายมีเขตแผนที่ภูมิลักษณ์ของลูกตาที่เล็กกว่าของแขนขา

สำหรับผู้ที่ตัดแขนขาออก งานวิจัยหลายงานพบว่าบางคน[5] มีสหสัมพันธ์ระหว่างความเจ็บปวดในอวัยวะที่จะตัดออกก่อนผ่าตัด กับความเจ็บปวดในอวัยวะที่ไม่มีหลังผ่าตัด มีความสัมพันธ์ที่สำคัญระหว่างความเจ็บปวดก่อนผ่าตัดตาและอาการปวดหัว กับความรู้สึกทั้งที่ประกอบด้วยความเจ็บปวดและไม่ประกอบด้วยความเจ็บปวดในตาที่ไม่มีหลังผ่าตัด[6] แต่ว่าด้วยข้อมูลที่มีอยู่ ยังยากที่จะตัดสินว่า อาการปวดศีรษะและความเจ็บปวดที่ตาก่อนผ่าตัดเป็นเหตุของการเกิดขึ้นของความรู้สึกในตาที่ไม่มี หรือว่า อาการปวดศีรษะและความเจ็บปวดที่ตาก่อนผ่าตัด และความรู้สึกในตาที่ไม่มีหลังผ่าตัด ล้วนแต่เป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากเหตุอย่างอื่น อย่างไรก็ดี งานวิจัยในมนุษย์ได้แสดงแล้วว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในช่วงงานวิจัย นำไปสู่การจัดระเบียบใหม่อย่างรวดเร็วของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex)[7] งานวิจัยนี้อาจจะบอกเป็นนัยว่า ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นก่อนการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดอาจจะเป็นเหตุสำคัญเหตุหนึ่งในการจัดระเบียบใหม่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย และการเกิดขึ้นของความรู้สึกในอวัยวะที่ไม่มี

ภาพหลอนทางตา

[แก้]

ทั้งการควักลูกตาออก (enucleation) และความเสียหายในเรตินา นำไปสู่ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์สายตาที่รับข้อมูลทางตา คือ การยับยั้งประสาทที่เกิดจากการหลั่งสาร GABA[8] ��ดลง และการกระตุ้นคอร์เทกซ์สายตาเนื่องจากการหลั่งสารกลูตาเมตก็เพิ่มขึ้น ตามมาด้วยความไวต่อสิ่งเร้าทางตา และแม้กระทั่งการทำงานที่เกิดขึ้นเอง โดยไม่มีสัญญาณกระตุ้นที่ส่งไปจากตา ในคอร์เทกซ์สายตา[9] เชื่อกันว่า การทำงานที่ไม่มีเหตุในคอร์เทกซ์สายตาที่ตาไม่ได้ส่งข้อมูลประสาทไปให้แล้ว เป็นประสาทสัมพันธ์ (neural correlate) คือเป็นเหตุของภาพหลอนทางตา

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. ICD-10 ให้ความหมายของ G54.6 ว่า กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่
  2. 2.0 2.1 2.2 Sörös, P. (May 2003). "Phantom eye syndrome: Its prevalence, phenomenology, and putative mechanisms". Neurology. 60 (9): 1542–3. PMID 12743251. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Ramachandran, Vilayanur S. (September 1998). "The perception of phantom limbs. The D. O. Hebb lecture". Brain. 121 (9): 1603–30. doi:10.1093/brain/121.9.1603. PMID 9762952. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  4. Nikolajsen, L. (July 2001). "Phantom limb pain". British Journal of Anaesthesia. 87 (1): 107–16. doi:10.1093/bja/87.1.107. PMID 11460799. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. Nikolajsen L, Ilkjaer S, Krøner K, Christensen JH, Jensen TS (September 1997). "The influence of preamputation pain on postamputation stump and phantom pain". Pain. 72 (3): 393–405. doi:10.1016/S0304-3959(97)00061-4. PMID 9313280. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Nicolodi, M. (June 1997). "Phantom eye: features and prevalence. The predisposing role of headache". Cephalalgia. 17 (4): 501–4. doi:10.1046/j.1468-2982.1997.1704501.x. PMID 9209770. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)[ลิงก์เสีย]
  7. Sörös, Peter (February 2001). "Functional reorganization of the human primary somatosensory cortex after acute pain demonstrated by magnetoencephalography". Neuroscience Letters. 298 (3): 195–8. doi:10.1016/S0304-3940(00)01752-3. PMID 11165440. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  8. กาบา (Gamma-Aminobutyric acid ตัวย่อ GABA) เป็นสารสื่อประสาทแบบยับยั้งตัวหลักในระบบประสาทกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเร้าได้โดยทั่วไปในระบบประสาท นอกจากนั้นแล้ว ในมนุษย์ กาบายังมีบทบาทโดยตรงในการควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone)
  9. Eysel, Ulf T. (1999). "Reorganization in the visual cortex after retinal and cortical damage". Restorative Neurology and Neuroscience. 15 (2–3): 153–64. PMID 12671230. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-29. สืบค้นเมื่อ 2008-09-23. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]