ตะแบกนา
ตะแบกนา | |
---|---|
ภาพดอกระยะใกล้ที่โกลกาตา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | โรสิด |
อันดับ: | อันดับชมพู่ |
วงศ์: | วงศ์ตะแบก |
สกุล: | Lagerstroemia Jack 1820 |
สปีชีส์: | Lagerstroemia floribunda |
ชื่อทวินาม | |
Lagerstroemia floribunda Jack 1820 |
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ 15–30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5–7 เซนติเมตร ยาว 12–20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคมถึงกันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือนธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือนมีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด และตะแบกนา เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรีอีกด้วย
นิเวศวิทยา
[แก้]พืชชนิดนี้เป็นพืชที่พบได้ในพื้นที่เขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] โดยในประเทศไทยขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณพื้นที่ที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทางภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้มีขึ้นอยู่มากใน ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วม และตามท้องนาทั่ว ๆ ไป
ประโยชน์
[แก้]เนื้อไม้ละเอียดแข็ง ใจกลางมักเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่รับน้ำหนัก เสา กระดานพื้น และเครื่องมือการเกษตร และนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ภาพ
[แก้]-
ใบ
-
ดอกในระยะใกล้
-
ดอกในระยะใกล้
-
เปลือกไม้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lagerstroemia floribunda". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ 25 January 2018.