กรดไฮโดรคลอริก
| |||
| |||
ชื่อ | |||
---|---|---|---|
IUPAC name
Chlorane[3]
| |||
ชื่ออื่น | |||
เลขทะเบียน | |||
ChEMBL | |||
เคมสไปเดอร์ | |||
ECHA InfoCard | 100.210.665 | ||
EC Number |
| ||
เลขอี | E507 (acidity regulators, ...) | ||
ผับเคม CID
|
|||
UNII | |||
UN number | 1789 | ||
คุณสมบัติ | |||
HCl(aq) | |||
ลักษณะทางกายภาพ | ไร้สี, ของเหลวใส, ควันในอากาศหากเข้มข้น | ||
กลิ่น | ลักษณะฉุน | ||
จุดหลอมเหลว | Concentration-dependent – see table | ||
จุดเดือด | Concentration-dependent – see table | ||
log P | 0.00[4] | ||
pKa | −5.9 (HCl gas)[5] | ||
เภสัชวิทยา | |||
A09AB03 (WHO) B05XA13 | |||
ความอันตราย | |||
GHS labelling: | |||
อันตราย[6] | |||
H290, H314, H335[6] | |||
P260, P280, P303+P361+P353, P305+P351+P338[6] | |||
NFPA 704 (fire diamond) | |||
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |||
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
|||
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
กรดไฮโดรคลอริก(อังกฤษ: hydrochloric acid), กรดเกลือ หรือ กรดมูเรียติก (muriatic acid) เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง
ประวัติ
[แก้]ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 (ป. ค.ศ. 865–925) แอบู แบกร์ แอล-รอซี แพทย์และนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเปอร์เซีย ทำการทดลองด้วยsal ammoniac (แอมโมเนียมคลอไรด์) กับกรดกำมะถัน (โลหะหลายชนิดที่ใช้ซัลเฟตผสมกับน้ำ) ซึ่งเขานำทั้งสองกลั่นเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์[7] ในการทำวิธีนี้ แอล-รอซีอาจพบกับวิธีดั้งเดิมในการผลิตกรดไฮโดรคลอริกโดยบังเอิญ[8]
อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าในการทดลองส่วนใหญ่ของเขา แอล-รอซีไม่สนใจผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊ส โดยมุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนแปลงของสีที่อาจมีผลกับสารตกค้าง[9] Robert P. Multhauf รายงานว่า ไฮโดรเจนคลอไรด์ได้รับการผลิตขึ้นหลายครั้ง โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าอาจผลิตโดยการละลายในน้ำอาจก่อให้เกิดกรดไฮโดรคลอริกได้[10]
ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต โพลียูรีเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl
การผลิต
[แก้]ใน การผลิต กรดไฮโดรคลอริกปริมาณมากๆ จะเกี่ยวข้องกับการผลิตสารประกอบเคมีตัวอื่นๆในเชิงอุตสาหกรรมด้วยในอุตสาหกรรม คลอร์-อัลคะไล สารละลายเกลือจะถูกอิเล็กโตรไลซ์ จนได้ผลผลิตออกมาเป็นคลอรีน, โซเดียมไฮดรอกไซด์, และก๊าซไฮโดรเจน คลอรีนบริสุทธิ์ จะมาผสมกับก๊าซไฮโดรเจนแล้วเกิดเป็นก๊าซ HCl บริสุทธิ์ และปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นคือ เอ็กโซเทอร์มิก
- Cl2 + H2 → 2 HCl
ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์บริสุทธิ์ถูกดูด (absorption) ลงน้ำ ดีมิเนอไลซ์ได้��ป็นกรดเกลือบริสุทธิ์ต่อไป
สารประกอบเคมีที่เกี่ยวข้อง
[แก้]- คลอไรด์ เกลืออนินทรีย์ของกรดไฮโดรคลอริก
- ไฮโดรคลอไรด์ เกลืออินทรีย์ของกรดไฮโดรคอลริก
- ไฮโดรเจนคลอไรด์ แก๊สบริสุทธิ์ หากเป็นสารละลาย เรียก กรดไฮโดรคลอริก
- กรดไฮโปคลอรัส และเกลือ ไฮโปคลอไรต์
- กรดคลอรัส และเกลือ คลอไรต์
- กรดคลอริก และเกลือ คลอเรต
- กรดเปอร์คลอริก และเกลือ เปอร์คลอเรต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hydrochloric Acid". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2010.
- ↑ "spirits of salt". The Free Dictionary. Farlex. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012.
- ↑ Favre HA, Powell WH, บ.ก. (2014). Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013. Cambridge: The Royal Society of Chemistry. p. 131.
- ↑ "Hydrochloric acid". www.chemsrc.com.
- ↑ Trummal A, Lipping L, Kaljurand I, Koppel IA, Leito I (พฤษภาคม 2016). "Acidity of Strong Acids in Water and Dimethyl Sulfoxide". The Journal of Physical Chemistry A (ภาษาอังกฤษ). 120 (20): 3663–9. Bibcode:2016JPCA..120.3663T. doi:10.1021/acs.jpca.6b02253. PMID 27115918. S2CID 29697201.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Sigma-Aldrich Co., Hydrochloric acid.
- ↑ Multhauf 1966, pp. 141–142.
- ↑ Stapleton, Henry E.; Azo, R.F.; Hidayat Husain, M. (1927). "Chemistry in Iraq and Persia in the Tenth Century A.D." Memoirs of the Asiatic Society of Bengal. VIII (6): 317–418. OCLC 706947607. p. 333.
- ↑ Multhauf 1966, pp. 141–142.
- ↑ Multhauf 1966, p. 142. Multhauf refers to a number of recipes from the Kitāb al-Asrār translated by Ruska 1937, pp. 103–110, but does not seem to have noted the existence of the recipe in Ruska 1937, p. 182, §5 quoted above.
บรรณานุกรม
[แก้]- Multhauf, Robert P. (1966). The Origins of Chemistry. London: Oldbourne. OCLC 977570829.
- Ruska, Julius (1937). Al-Rāzī's Buch Geheimnis der Geheimnisse. Mit Einleitung und Erläuterungen in deutscher Übersetzung. Quellen und Studien zur Geschichte der Naturwissenschaften und der Medizin. Vol. VI. Berlin: Springer.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- WebBook, general link NIST
- Hydrochloric Acid – Part One และ Hydrochloric Acid – Part Two ที่ The Periodic Table of Videos (University of Nottingham)
- การคำนวณ: surface tensions เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, และ densities, molarities and molalities เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ของสารละลายกรดไฮโดรคลอริกในน้ำ
- ข้อมูลความปลอดภัยทั่วไป
- Hazard Summary EPA
- Hydrochloric acid MSDS โดย Georgia Institute of Technology
- Pocket Guide to Chemical Hazards NIOSH
- ข้อมูลมลพิษ
- Hydrochloric Acid Fact Sheet โดย National Pollutant Inventory