กลาสโกว์
กลาสโกว์ | |
---|---|
จากบนสุด ซ้ายไปขวา: ภาพมุมสูงของนครกลาสโกว์, หอคอยทูลบูธ, กลาสโกว์รอยัลคอนเสิร์ตฮอลล์, หอคอยกลาสโกว์ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในสกอตแลนด์, อาคารไฮโดรและอาร์มาดิลโล, ปั้นจั่นฟินนีสตัน, จัตุรัสจอร์จ, ซีเนเวิลด์กลาสโกว์ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ที่สูงที่สุดในโลก | |
สมญา: "Glesca/Glesga", "The Dear Green Place", "Baile Mòr nan Gàidheal"[2] | |
พิกัด: 55°51′39″N 4°15′05″W / 55.860916°N 4.251433°W | |
รัฐเอกราช | สหราชอาณาจักร |
ประเทศ | สกอตแลนด์ |
เขตสภา | กลาสโกว์ซิตี |
เขตเลฟเทเนินท์ | กลาสโกว์ |
เขต | 23 เขต |
ก่อตั้ง | ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 |
ยกฐานะเป็นบะระ | คริสตทศวรรษ 1170[5] |
การปกครอง | |
• หน่วยบริการ | สภานครกลาสโกว์ |
• สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร |
|
• สมาชิกวุฒิสภา |
|
พื้นที่ | |
• นครและเขตสภา | 175 ตร.กม. (68 ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 368.5 ตร.กม. (142.3 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 492 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• นครและเขตสภา | 612,040 (นคร)[3] 626,410 (เขตสภา)[4] คน |
• อันดับ | อันดับที่ 3 |
• ความหนาแน่น | 3,555 คน/ตร.กม. (9,210 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 985,290[3] คน |
• รวมปริมณฑล | 1,861,315[6] คน |
• ภาษา | อังกฤษ สกอต แกลิก |
เดมะนิม | กลาสวีเจียน |
เขตเวลา | UTC±0 (เวลามาตรฐานกรีนิช) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+1 (เวลาฤดูร้อนอังกฤษ) |
รหัสไปรษณีย์ | G |
รหัสพื้นที่ | 0141 |
OS grid reference | NS590655 |
ท่าอากาศยานนานาชาติ | ท่าอากาศยานกลาสโกว์ (GLA) ท่าอากาศยานกลาสโกว์เพรสต์วิก (PIK) |
สถานีรถไฟหลัก | กลาสโกว์เซ็นทรัล กลาสโกว์ควีนสตรีต |
ระบบขนส่งมวลชน | รถไฟใต้ดินกลาสโกว์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ประจำนคร |
กลาสโกว์ (อังกฤษ: Glasgow; สกอต: Glesca หรือ Glesga; แกลิกสกอต: Glaschu) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำไคลด์ ชาวกลาสโกว์รู้จักกันในชื่อ กลาสวีเจียนส์ (Glaswegians) นอกจากนี้กลาสวีเจียนส์ยังเป็นชื่อสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "Glasgow Patter"
เมืองกลาสโกว์นั้นถือเป็นเมืองใหญ่ในสหราชอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองและล้ำหน้ามากที่สุดเมืองหนึ่ง ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 16 เมืองกลาสโกว์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเป็นเมืองท่าใหญ่ของมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นในศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมเหล็ก การต่อเรือ และยานยนต์ได้เติบโตขึ้นจนเป็นผลทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามา ในที่สุด กลาสโกว์กลายเป็นเมืองที่สามของยุโรปที่มีจำนวนประชากรเกินหนึ่งล้านคน รองจากลอนดอนและปารีส และกลายเป็นเมืองสำคัญอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน
ในปัจจุบัน เมืองกลาสโกว์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการค้า ขายปลีก วิศวกรรม และอุตสาหกรรมต่อเรือ ของสก็อตแลนด์ นอกจากนั้นทางด้านต่างๆเช่นการเงินการธนาคาร กลาสโกว์เป็นเมืองทางการเงิน (Financial Centre) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของ UK โดยมี International Financial District (IFSD) ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทเงินทุนและธนาคารมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 8 ใน 10 แห่งของบริษัทประกันภัยใน UK มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองกลาสโกว์ บริษัททางการเงินขนาดใหญ่ของโลกเช่น เจพี มอร์แกน แบงค์บาร์เคล และมอร์แกน สแตนเลย์ ต่างก็มีสาขาตั้งอยู่ในบริเวณนี้
กลาสโกว์ยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากความหลากหลายของกิจกรรมที่สามารถหาทำได้ในเมืองใหญ่แห่งนี้ เช่น ช้อบปิ้ง sightseeing งานเทศกาล พิพิธภัณฑ์ ดูหนังฟังเพลง ด้วยความสวยงามของสถาปัตยกรรมบวกกับการที่มีศิลปินมากมายทำให้ในปี 1990 เมืองแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น เมืองแห่งสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของยุโรป (Europe’s City of Architecture & Culture) แหล่ง ช็อบปิ้งในกลาสโกว์นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ [7] เมืองกลาสโกว์มีมหาวิทยาลัยสามแห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ และ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ คาเลโดเนียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dictionaries of the Scots Language:: SND :: glesca".
- ↑ Cameron, by Lucinda; 00:00, 7 Apr 2010Updated13:09 (6 April 2010). "Plan launched to increase Gaelic use in Glasgow". dailyrecord.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 "Mid-2016 Population Estimates for Settlements and Localities in Scotland". National Records of Scotland. 12 March 2018. สืบค้นเมื่อ 30 December 2020.
- ↑ "Population Estimates for UK, England and Wales, Scotland and Northern Ireland, Mid-2019". Office for National Statistics. 6 May 2020. สืบค้นเมื่อ 6 May 2020.
- ↑ (ระหว่าง ค.ศ. 1175–78 ไม่ทราบวันที่แน่ชัด) Lambert, Tim. "A brief history of Glasgow". localhistories.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2017. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
- ↑ "Population on 1 January by age groups and sex - functional urban areas". Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2020. สืบค้นเมื่อ 31 December 2020.
- ↑ ข้อมูลเมืองกลาสโกว์[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 12 (11 ed.). 1911.
- Glasgow districts map and other Glasgow maps เก็บถาวร 2019-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กลาสโกว์ ที่เว็บไซต์ Curlie
- Glasgow City Council
- Interactive Attractions Map of Central Glasgow เก็บถาวร 2008-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- TheGlasgowStory
- National Library of Scotland: Scottish Screen Archive (archive films relating to Glasgow)