ข้ามไปเนื้อหา

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Breastfeeding)
การให้ทารกกินนมจากอกแม่
สัญลักษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สากล (Matt Daigle, ผู้ชนะการประกวดของนิตยสาร Mothering ปี ค.ศ. 2006)

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (อังกฤษ: breastfeeding, nursing) คือการป้อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนมจากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกอัตโนมัติในการดูดที่จะทำให้เขาสามารถดูดและกลืนน้ำนมได้

มีหลักฐานจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า น้ำนมคนเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก[1] แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรให้ทารกกินนมแม่นานเท่าไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าไรจากการให้สารทดแทนน้ำนมคนแก่ทารก[2][3][4]

ทารกอาจจะกินน้ำนมจากอกของแม่ของตัวเองหรือผู้หญิงอื่นที่ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ (ซึ่งอาจจะเรียกว่า แม่นม) น้ำนมอาจจะถูกบีบออกมา (เช่น ใช้เครื่องปั๊มนม) และป้อนให้ทารกโดยใช้ขวด และอาจเป็นน้ำนมที่รับบริจาคมาก็ได้ สำหรับแม่หรือครอบครัวที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ก็อาจให้สารทดแทนนมแม่แทน การศึกษาวิจัยยังมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหารในสารทดแทนนมแม่ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการให้ทารกกินนมผสมที่มีขายในท้องตลาดจะไปรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในทารกที่คลอดตามกำหนดและคลอดก่อนกำหนด[5] ในหลายๆ ประเทศการให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในทารกเพิ่มขึ้น[6] แต่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดมีเพียงพอ การให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้[3]

มีนโยบายของรัฐบาลและความพยายามจากหน่วยงานนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงทารกในช่วงปีแรกและนานกว่านั้น องค์การอนามัยโลกและสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ก็มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด���วยนมแม่[7][8]

การหลั่งน้ำนม

[แก้]

การหลั่งน้ำนม (Lactation) คือ กระบวนการในการสร้าง การหลั่ง และการไหลออกมาของน้ำนม การหลั่งน้ำนม เป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่ใช้นิยาม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

น้ำนมแม่

[แก้]

คุณสมบัติของนมแม่ยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่คุณค่าสารอาหารของน้ำนมที่สมบูรณ์แล้วจะค่อนข้างคงที่ องค์ประกอบของน้ำนมจะมาจากอาหารที่แม่รับประทานเข้าไป, สารอาหารต่างๆ ในกระแสเลือดของแม่ในระหว่างที่ให้น้ำนม และสารอาหารที่ร่างกายเก็บสะสมไว้ ในการศึกพบว่าผู้หญิงที่ให้ลูกกินนมแม่ล้วนๆ จะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอีกวันละ 500-600 แคลอรีในการผลิตน้ำนมให้ลูก[9] ส่วนประกอบของน้ำนมจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน และแต่ละชั่วโมง ขึ้นอยู่กับลักษณะการให้ทารกกินนม, อาหารที่แม่รับประทาน, และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ดังนั้นอัตราส่วนของน้ำต่อไขมันในน้ำนมแม่ จึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ช่วงอายุของลูกหลังจากที่คลอดแล้วฮอร์โมนในร่างกายแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงแล้วจะกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมขึ้นในช่วงแรกน้ำนมจะเป็นสีเหลืองเมื่อลูกดูดกินไปเรื่อยๆจะกลายเป็นน้ำนมสีขาวในที่สุด

น้ำนมส่วนหน้า (Foremilk) ซึ่งเป็นน้ำนมที่ไหลออกมาในช่วงแรกของการให้นม จะค่อนข้างใส ไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตสูง น้ำนมส่วนหลัง (Hindmilk) ซึ่งเป็นน้ำนมจะไหลออกมาหลังจากให้นมทารกไปได้ระยะหนึ่ง จะมีลักษณะข้นกว่า แต่ไม่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่างน้ำนมส่วนหน้ากับน้ำนมส่วนหลัง น้ำนมจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง งานวิจัยของ Human Lactation Research Group เก็บถาวร 2007-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮาร์ทมันน์ (Peter Hartmann) แสดงว่าปริมาณไขมันจะแปรผันไปตามความสามารถในการดึงน้ำนมออกจนหมดเต้า ยิ่งมีน้ำนมในเต้าน้อยเท่าไร ปริมาณไขมันในน้ำนมจะยิ่งมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงเต้านมจะไม่มีทางหมดเต้าได้ เพระต่อมน้ำนมจะผลิตน้ำนมออกมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ประโยชน์

[แก้]

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งแม่และทารก ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ สารอาหารและภูมิต้านทานต่างๆ จะถูกส่งผ่านไปยังทารก ในขณะที่ฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในร่างกายของแม่[10] สายสัมพันธ์ระหว่างทารกและแม่จะแนบแน่นมากขึ้นในระหว่างการให้ลูกกินนมแม่[11]

ประโยชน์ต่อทารก

[แก้]

มีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับประโยชน์ทางสุขภาพ ตามที่สถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกากล่าวไว้ว่า

การทำงานวิจัยมากมาย โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่หลากหลายและน่าทึ่งของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อทารก, แม่, สมาชิกในครอบครัว และสังคม และการใช้น้ำนมแม่เป็นอาหารสำหรับทารก ประโยชน์ที่ได้คือ สุขภาพที่ดีกว่า สารอาหาร ภูมิต้านทาน ผลดีต่อสภาพจิตใจ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

— คำแถลงนโยบายของสถาบันกุมารแพทย์อเมริกา[8]

ทารกที่กินนมแม่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคไหลตายในเด็ก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) และโรคอื่นๆ น้อยกว่า การดูดที่อกแม่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการของฟันและอวัยวะในการออกเสียงอย่างเหมาะสม นอกจากนี้น้ำนมแม่ยังมีอุณภูมิที่เหมาะสมและมีพร้อมให้ทารกกินได้ทันที

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่เด็กจะได้รับ จากการดื่มนมแม่ก็คือ เด็กจะมีภูมิคุ้มกันโรคได้หลายชนิด นอกจากนี้การให้ลูกดื่มนมยังช่วยให้ ลูกน้อยรู้สึกใกล้ชิดกับแม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดความอบอุ่นใจและทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยอีกด้วย

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคต่อไปนี้ได้
  1. โรคภูมิแพ้ (Allergies)[12]
  2. โรคหอบหืด (Asthma)[13][14]
  3. โรคไทรอยด์ (Autoimmune thyroid diseases)[15]
  4. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial meningitis)[8]
  5. โรคมะเร็งเต้านม (Breast cancer)[10]
  6. โรคขาดสารอาหาร (Celiac disease)[16]
  7. โรคโครห์น (Crohn's disease)[17]
  8. โรคเบาหวาน (Diabetes)[8][11]
  9. โรคท้องร่วง (Diarrhea)[8][11]
  10. โรคผิวหนังอักเสบออกผื่น (Eczema)[18]
  11. กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบ (Gastroenteritis)[19]
  12. โรคมะเร็งปุ่มน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's lymphoma)[8][11]
  13. ลำไส้เล็กและใหญ่อักเสบ (Necrotizing enterocolitis)[8]
  14. โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)[15]
  15. โรคอ้วน (Obesity)[8][11]
  16. หูชั้นกลางหรือแก้วหูอักเสบ (Otitis media)[8][11]
  17. โรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ (Respiratory infection และ Wheeze)[8][11]
  18. โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ (Rheumatoid arthritis)[20]
  19. โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)[8]

ประโยชน์ต่อแม่

[แก้]

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อแม่ เพราะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซีโทซินและโปรแลกติน ซึ่งทำให้แม่รู้สึกผ่อนคลายและมีความรู้สึกรักใคร่ทะนุถนอมทารก[21] การให้ลูกกินนมแม่ทันทีหลังจากคลอดลูกจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนออกซีโทซินในร่างกาย ทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วและลดอาการตกเลือด[22]

ไขมันที่ถูกสะสมในร่างกายในช่วงตั้งครรภ์จะถูกใช้ในการผลิตน้ำนม การยืดระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานขึ้นจะช่วยให้แม่สามารถลดน้ำหนักตัวได้เร็ว[23][24] การให้ลูกกินนมบ่อยๆ หรือให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้การมีประจำเดือนช้าลง จึงมีส่วนในการช่วยคุมกำเนิด บางครั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงถูกนำมาใช้เป็นวิธีการคุมกำเนิด ซึ่งอาจจะสามารถคุมกำเนิดได้ 98% โดยจะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขต่อไปนี้

  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะต้องเป็นแหล่งอาหารเพียงอย่างเดียวของทารก และทารกจะต้องดูดน้ำนมจากอกแม่เท่านั้น การให้ทารกกินนมผสม หรือการใช้เครื่องปั๊มนมแทนที่จะให้ทารกดูดจากอก และการให้กินอาหารเสริม จะลดความสามารถในการคุมกำเนิด
  • ทารกจะต้องได้กินนมจากอกแม่ทุกๆ 4 ชั่วโมง ในตอนกลางวัน และทุกๆ 6 ชั่วโมง ในตอนกลางคืน เป็นอย่างน้อย
  • ทารกอายุไม่เกิน 6 เดือนและสามารถรับประทานต่อได้ถึง 2ปีหรือ3 ปี
  • แม่จะต้องไม่มีประจำเดือนอย่างน้อย 56 วันหลังคลอด

อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ใช้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีการคุมกำเนิด เนื่องจากการตกไข่หลังคลอดบุตรอาจเกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน ดังนั้นผู้หญิงจึงสามารถ (และบ่อยครั้ง) ตั้งท้องได้ก่อนที่จะเริ่มกลับมามีประจำเดือนอีกครั้ง

แม่ยังคงสามารถให้ลูกกินนมแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว การผลิตน้ำนมจะลดลงหลังจากตั้งครรภ์ได้ระยะหนึ่ง

แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายๆ โรคลดลง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Picciano M (2001). "Nutrient composition of human milk". Pediatr Clin North Am. 48 (1): 53–67. PMID 11236733.
  2. Kramer M, Kakuma R (2002). "Optimal duration of exclusive breastfeeding". Cochrane Database Syst Rev: CD003517. PMID 11869667.
  3. 3.0 3.1 Baker R (2003). "Human milk substitutes. An American perspective". Minerva Pediatr. 55 (3): 195–207. PMID 12900706.
  4. Agostoni C, Haschke F (2003). "Infant formulas. Recent developments and new issues". Minerva Pediatr. 55 (3): 181–94. PMID 12900705.
  5. Riordan JM (1997). "The cost of not breastfeeding: a commentary". J Hum Lact. 13 (2): 93–97. PMID 9233193. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2007-09-28.
  6. Horton S (1996). "Breastfeeding promotion and priority setting in health". PMID 10158457.
  7. "Exclusive Breastfeeding". WHO: Child and Adolescent Health and Development. สืบค้นเมื่อ 2006-05-03.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 Gartner LM; และคณะ (2005). "Breastfeeding and the use of human milk". Pediatrics. 115 (2): 496–506. doi:10.1542/peds.2004-2491. PMID 15687461. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-26. สืบค้นเมื่อ 2007-09-28.
  9. "Breastfeeding Guidelines". Rady Children's Hospital San Diego. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-04.
  10. 10.0 10.1 "Breastfeeding". Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 2007-01-23.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 "Benefits of Breastfeeding". U.S. Department of Health and Human Services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-16. สืบค้นเมื่อ 2007-01-23.
  12. Kull I, Wickman M, Lilja G, Nordvall S, Pershagen G (2002). "Breast feeding and allergic diseases in infants-a prospective birth cohort study". Arch Dis Child. 87 (6): 478–81. PMID 12456543.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. [W H Oddy, senior research officer http://www.bmj.com/cgi/content/full/319/7213/815 Asthma BMJ 1999]
  14. [Oddy 2004 Journal of Asthma 2004 Sept. http://jhl.sagepub.com/cgi/content/abstract/19/3/250 เก็บถาวร 2010-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน A review of the effects of breastfeeding on respiratory infections, atopy, and childhood asthma]
  15. 15.0 15.1 Fort P, Moses N, Fasano M, Goldberg T, Lifshitz F (1990). "Breast and soy-formula feedings in early infancy and the prevalence of autoimmune thyroid disease in children". J Am Coll Nutr. 9 (2): 164–7. PMID 2338464.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Akobeng A, Ramanan A, Buchan I, Heller R (2006). "Effect of breast feeding on risk of coeliac disease: a systematic review and meta-analysis of observational studies". Arch Dis Child. 91 (1): 39–43. PMID 16287899.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Rigas A, Rigas B, Glassman M, Yen Y, Lan S, Petridou E, Hsieh C, Trichopoulos D (1993). "Breast-feeding and maternal smoking in the etiology of Crohn's disease and ulcerative colitis in childhood". Ann Epidemiol. 3 (4): 387–92. PMID 8275215.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Pratt H (1984). "Breastfeeding and eczema". Early Hum Dev. 9 (3): 283–90. PMID 6734490.
  19. "Gastroenteritis". Merck Manuals Online Medical Library. 1 February 2003. Retrieved 21 November 2006.
  20. Jacobsson L, Jacobsson M, Askling J, Knowler W (2003). "Perinatal characteristics and risk of rheumatoid arthritis". BMJ. 326 (7398): 1068–9. PMID 12750209.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Dettwyler K; Stuart-Macadam P (1995). Breastfeeding: Biocultural Perspectives. Aldine Transaction. p. 131. ISBN 978-0-202-01192-9.
  22. Chua S, Arulkumaran S, Lim I, Selamat N, Ratnam S (1994). "Influence of breastfeeding and nipple stimulation on postpartum uterine activity". Br J Obstet Gynaecol. 101 (9): 804–5. PMID 7947531.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Dewey K, Heinig M, Nommsen L (1993). "Maternal weight-loss patterns during prolonged lactation". Am J Clin Nutr. 58 (2): 162–6. PMID 8338042.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Lovelady C, Garner K, Moreno K, Williams J (2000). "The effect of weight loss in overweight, lactating women on the growth of their infants". N Engl J Med. 342 (7): 449–53. PMID 10675424.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]