แบล็คเบอร์รี (โทรศัพท์มือถือ)
ผู้พัฒนา | บริษัท แบล็คเบอร์รี่ จำกัด |
---|---|
ผู้ผลิต | บริษัท แบล็คเบอร์รี่ จำกัด |
ชนิด | โทรศัพท์มือถือ |
หน่วยส่ง | 33 ล้านเครื่อง(พ.ศ. 2555)[1] |
ระบบปฏิบัติการ | แบล็คเบอร์รี่เทน |
บริการออนไลน์ | แบล็คเบอร์รี่เวิลด์ |
เว็บไซต์ | blackberry |
แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry) เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือโดยบริษัทแบล็คเบอร์รีจำกัด (BlackBerry Limited) หรือเดิมคือบริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited - RIM) จากประเทศแคนาดา[2] แบล็คเบอร์รี่เครื่องแรกเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2542 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์สองทาง[3] แบล็คเบอร์รี่รุ่นล่าสุดคือ แซด 30, แซด 10, คิว 10 และ คิว 5 มีลักษณะส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น โดยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของแบล็คเบอร์รี่คือแป้นพิมพ์คิวเวอตี้ ขณะที่แบล็คเบอร์รี่รุ่นใหม่ใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รีในช่วงแรก ผลิตเพจเจอร์ รุ่น Interactive Pager ซึ่งสามารถป้อนข้อความโดยไม่ต้องส่งไปยังโอเปอเรเตอร์ ซึ่งในเวลาต่อมาได้จุดประกายระบบ สมาร์ทโฟน[4]
แบล็คเบอร์รี่ สามารถ่ายรูปและวิดีโอ รวมถึงเล่นเพลงได้ นอกจากนั้นย��งตอบสนองการใช้งานด้านอีเมล์ เว็บเบราว์เซอร์ เมสเซนเจอร์ โดยเฉพาะ แบล็คเบอร์รี่ เมสเซนเจอร์ ซึ่งบริษัทแบล็คเบอรี่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และเคยเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วโลก
ในปีพ.ศ. 2554 แบล็คเบอร์รี่ กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก [5] ระบบอินเทอร์เน็ตของแบล็คเบอร์รี่เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย [6] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 มีผู้ใช้แบล็คเบอร์รี่ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก [7][8] ในปีพ.ศ. 2554 ผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่องแบล็คเบอร์รี่ทั่วโลก[9]
รุ่นของแบล็คเบอร์รี
[แก้]- แบล็คเบอร์รี่ พริว์ฟ (Priv) เป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรูปทรงสไลด์แป้นพิมพ์พร้อมระบบสัมผัสเต็มรูปแบบเครื่องแรกของ แบล็คเบอร์รี่ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android ของ บริษัท Google Inc. และผสานเข้ากับ ระบบมาตรฐานการถอดรหัส (BlackBerry Protect) บนมาตรฐานเดียวกันกับเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ BlackBerry 10 OS (BB-QNX)
ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 10: รุ่นล่าสุด
- แบล็คเบอร์รี แซด/ซี 30 : แบล็คเบอร์รี แซด 30
- แบล็คเบอร์รี คิว 10 (พ.ศ. 2556): แบล็คเบอร์รี คิว 10 เป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่สืบทอด สายผลิตภัณฑ์ BlackBerry Bold และ Tour นับเป็นกลุ่มสายผลิตภัณฑ์ BlackBerry Classic (คงแป้นจริง QWERTY ) พร้อมระบบหน้าจอสัมผัสแบบ Capacitive Multitouch สูงสุด 10 จุด ด้วย
- แบล็คเบอร์รี คิว 5 (พ.ศ. 2556): แบล็คเบอร์รี คิว 5 เป็นโทรศัพท์ของระบบปฏิบัติการ 10 ที่ขายดีที่สุด เป็นผู้สืบทอดสายผลิตภัณฑ์ของ BlackBerry Curve ราคาประหยัด จุดเด่นคือคงเอกลักษณ์แป้นพิมพ์แบบเมล็ดข้าว และ ปุ่มควบคุม Music controls (กลับ-เล่น/หยุด-ไปหน้า) ส่วนหัวของ BlackBerry Curve ไว้เช่นเดิมทั้งหมด พร้อมใส่การสัมผัสหน้าจอแบบ Capacitive Multitouch ได้สูงสุด 5 จุดและกล้องดิจิตอล ที่ติดตั้งแฟลช จากกระแสตอบรับของกลุ่มลูกค้า Curve เดิมที่ต้องการได้ไฟแฟลช มากที่สุด ติดตั้งอยู่ในตัวครั้งแรกของตระกูล Curve
- แบล็คเบอร์รี แซด/ซี 10 (พ.ศ. 2556): แบล็คเบอร์รี แซด 10 โทรศัพท์สมาร์ทโฟนระบบสัมผัสล้วนแบบเต็มรูปแบบเครื่องแรกบนระบบปฏิบัติการ 10 (BB-QNX) (จอสัมผัสและใช้การควบคุมระบบทั้งหมดด้วยการเลื่อน (Gestures) และจะไม่มีกดปุ่มแบบจริงเลย กรณีเดียวกันของฝั่ง Apple Inc. ที่ได้ตัดสินใจตัดปุ่ม Home ออกเป็นครั้งแรกบน iPhone X)
- แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ (สายผลิตภัณฑ์พิเศษ) ร่วมกับ Porches Design (พ.ศ. 2556):แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ พี'9982 [10]
ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 7 และ 7.1
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี โบลด์ (พ.ศ. 2554): แบล็คเบอร์รี โบลด์ 9900/9930/9790
- แบล็คเบอร์รี 9720 (พ.ศ. 2556)[11]
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี - พอร์ช ดีไซน์ (พ.ศ. 2555): แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ พี'9981
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทอร์ช (พ.ศ. 2554): แบล็คเบอร์รี ทอร์ช 9810
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทอร์ช (พ.ศ. 2554): แบล็คเบอร์รี ทอร์ช 9850/9860
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ. 2554): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 9350/9360/9370/9380
- แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 9320/9220 (พ.ศ. 2554)
ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 6:
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทอร์ช (พ.ศ. 2553): แบล็คเบอร์รี ทอร์ช 9800
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ. 2553): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 9300/9330
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เพิร์ล (พ.ศ. 2553): แบล็คเบอร์รี เพิร์ล 3 จี 9100/9105
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี โบลด์ (พ.ศ. 2553-2554): แบล็คเบอร์รี โบลด์ 9780/9788
ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 5:
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี โบลด์ (พ.ศ. 2551-2553): แบล็คเบอร์รี โบลด์ 9000/9700/9650
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทัวร์ (พ.ศ. 2552): แบล็คเบอร์รี ทัวร์ 9630 (ยุบสายผลิตภัณฑ์)
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี สตอร์ม (พ.ศ. 2552): แบล็คเบอร์รี สตอร์ม 2 (9520/9550) (ยุบสายผลิตภัณฑ์)
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี สตอร์ม (พ.ศ. 2551): แบล็คเบอร์รี สตอร์ม (9500/9530)
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ. 2553-2554): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 8900 (8900/8910/8980)
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ. 2553): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 8520/8530
ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 4 และกลุ่ม ระบบปฏิบัติการ 3.8 ลงไป - ยุคก่อน BlackBerry (เพจเจอร์สองทาง RIM Pagers OS) :
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี 8800 (พ.ศ. 2550): แบล็คเบอร์รี 8800/8820/8830
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เพิร์ล (พ.ศ. 2549): แบล็คเบอร์รี เพิร์ล 8100/8110/8120/8130
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เพิร์ล ฟลิป (พ.ศ. 2552): แบล็คเบอร์รี เพิร์ล ฟลิป 8220/8230
- ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ. 2550): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 8300 (8300/8310/8320/8330/8350i)
- แบล็คเบอร์รี่-ซีเมนส์ เอสเค65 (BlackBerry-Siemens SK65) (พ.ศ. 2548) : โทรศัพท์มือถือพร้อม QWERTY Keyboard แบบหมุนตัว X (พัฒนาร่วมกันกับบริษัท SIEMENS AG) และใช้ระบบปฏิบัติการรันคู่ขนาน แบล็คเบอร์รี่ 3.8 พร้อมกับ ระบบปฏิบัติการโทรศัพท์ของ Siemens Mobile (SIEMENS X65 platform (พื้นฐาน JAVA) )
- ระบบปฏิบัติการ แบล็คเบอร์รี่ เพจเจอร์
- รุ่นเพจเจอร์สองทาง : 850, 857, 950, 957
- ตระกูลจอขาว-ดำ พื้นฐานจาวา: 5000, 6000
- ตระกูลจอสีรุ่นแรก: 7200, 7500, 7700
- ตระกูลคีย์บอร์ดรุ่นแรก ชัวร์ไทป์ : 7100
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kovach, Steve (September 30, 2013). "BlackBerry Smartphone Shipments". Business Insider. สืบค้นเมื่อ October 2, 2013.
- ↑ "RIM Company – Learn about Research in Motion". RIM. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
- ↑ Davis, Jim (January 20, 1999). "Short Take: BlackBerry wireless email device debuts". CNET. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
- ↑ it001 (2013-11-08). "ทำไม Blackberry ไม่ได้ไปต่อ...ในวงการมือถือ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "BlackBerry". BlackBerry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ December 3, 2010.
- ↑ Warman, Matt (September 27, 2012). "BlackBerry tells developers: 'we are fighting'". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ September 27, 2012.
- ↑ Colapinto, John (October 3, 2011). "Famous Names". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ October 9, 2011.
- ↑ M., M. (November 3, 2011). "BlackBerry 'leading' the smartphone charge". Nation Newspaper. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-23. สืบค้นเมื่อ December 16, 2011.
In the Caribbean, we actually have the highest penetrations of BlackBerry Messenger worldwide – up to about 90 per cent. So every nine persons who buy a BlackBerry with a data plan is using BlackBerry Messenger,” said Friar. She further told the Daily Nation: “I can say that BlackBerry in Latin America and the Caribbean holds the number one smartphone position with market share of over 45 percent, based on industry stance.
- ↑ "Introducing the Porsche Design P'9982 Smartphone from BlackBerry" (Press release). BlackBerry. November 19, 2013. สืบค้นเมื่อ November 5, 2013.
- ↑ "New BlackBerry 9720 Smartphone Lets You Spark The Conversation" (Press release). BlackBerry. August 13, 2013. สืบค้นเมื่อ November 5, 2013.