ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ

พิกัด: 13°43′38″N 100°33′53″E / 13.727246°N 100.564663°E / 13.727246; 100.564663
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โรงเรียนสายน้ำผึ้ง)
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
Sai Nam Peung School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.น. S.N.
ประเภทรัฐบาล สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนาพ.ศ. 2504 (63 ปี)
สีน้ำตาล - เหลือง
คำขวัญปญฺญาโลกสฺมิปชฺโชโต
ต้นไม้ต้นสายน้ำผึ้ง
เว็บไซต์http://www.sainampeung.ac.th

โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา (หญิงล้วน) ขนาดใหญ่ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยดำริของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยซื้อที่ดินจากมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวนเนื้อที่ 12 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา ก่อตั้งวันที่ 20 สิงหาคม 2504 ณ เลขที่ 186 ซอยสุขุมวิท 22 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]

รายละเอียดทั่วไป

[แก้]
  • ผู้เริ่มจัดตั้ง : ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
  • วันทำสัญญาซื้อที่ดิน : วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2503
  • วันเกิดโรงเรียน (วันวางศิลาฤกษ์อาคาร 1) : วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2504
  • วันที่เปิดทำการสอนวันแรก : วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
  • ขนาดที่ดิน : 12 ไร่ 1 งาน 63 ตารางวา
  • พระพุทธรูปประจำโรงเรียน : พระพุทธเบญจวีสติมมหามงคล
  • สัญลักษณ์โรงเรียน : ตราพระราชทานมงกุฎในสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี
  • คติพจน์ : ปณฺญาโลกสมิปชโชโต

ประวัติโดยสังเขป

[แก้]
  • ปีการศึกษา 2504 เป็นปีการศึกษาแรกที่รับนักเรียน โดยมี นางสาวบุญส่ง วรรธนะสาร ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนสายน้ำผึ้ง มีนักเรียนจำนวน 80 คน ครู-อาจารย์ 10 คน
  • พ.ศ. 2505-2507 ได้งบประมาณ สร้างอาคาร 1, 2 และโรงอาหาร
  • พ.ศ. 2512 ได้งบประมาณสร้างอาคาร 3
  • พ.ศ. 2513-2514 ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 4
  • พ.ศ. 2515 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงมีพระเมตตารับโรงเรียนสายน้ำผึ้งไว้ในพระอุปถัมภ์ และเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพีธีพระราชทานประกาศนียบัตร และพระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนเป็นประจำทุกปี
  • พ.ศ. 2521-2538 โรงเรียนสายน้ำผึ้ง พัฒนาอาคารสถานที่ และพัฒนาการเรียนการสอนจนได้รับยกย่อง และการยอมรับจากทั้งวงการศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างมาก
  • พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอเนกประสงค์
  • พ.ศ. 2531-2532 พัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมทั้งการบริหารและวิชาการ สร้างอาคารกีฬาในร่ม และโรงอาหาร
  • พ.ศ. 2533 ปรับปรุงบริเวณหน้าเสาธง หน้าอาคารเรียน 4 และสนามบาสเกตบอล
  • พ.ศ. 2537-2538
    • เพิ่มจำนวนห้องเรียนเป็น 78 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 3,516 คน
    • สร้างอาคารเรียน 7 ชั้น และบ้านพักภารโรง 4 ชั้น 24 หน่วย จำนวน 1 หลัง
    • ปรับปรุงน้ำพุในสระหน้าพระพุทธรูปประจำหน้าโรงเรียนจัดมุมน้ำตกข้างอาคาร อเนกประสงค์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสมาคมศิษย์เก่า และมูลนิธิพลเอกวิโรจน์-คุณหญิงลักขณา แสงสนิท
  • พ.ศ. 2543
    • ปรับปรุงห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ โดยทำฝ้าเพดาน ปูพื้น พร้อมติดตั้งม่านเวทีใหม่
    • ปรับปรุงบริเวณหน้าเสาธง หน้าอาคารเรียน 4 และสนามบาสเกตบอล
    • จัดทำห้องศูนย์การเรียนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับได้รับเงินสนับสนุน จากคุณศรีรัตนา สิทธิโชค เป็นเงินจำนวน 1,070,000 บาท (หนึ่งล้านเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
    • ได้รับการปรับปรุงและติดตั้งวัสดุอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงานของชาติ สนับสนุนโดยโครงการอาคารของรัฐ กองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เดือนมกราคม 2544
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน
    • ปรับปรุงห้องประชุมอาคารอเนกประสงค์ ทำเพดานหลังคาและติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่ทั้งหมด
    • ปรับปรุงยกพื้นภายในโรงเรียน
    • จัดทำหน้าประตูโรงเรียนใหม่ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ปีการศึกษา 2547) ร่วมกับโรงเรียน
    • ปรับปรุงพื้นห้องประชุมโสตทัศนศึกษาและห้องน้ำหน้าห้องประชุมและห้องน้ำที่อาคาร 4
    • จัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ โรงเรียนให้สวยงามโดยจัดทำสวนหย่อมรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร

[แก้]
ลำดับที่ ชื่อ-นามสกุล ระยะเวลา
1 นางสา��บุญส่ง วรรธนะสาร พ.ศ. 2504 - 2520
2 นางเยาวรินทร์ จันทนมัฏฐะ พ.ศ. 2520 - 2527
3 นางอาภรณ์ สาครินทร์ พ.ศ. 2527 - 2528
4 คุณหญิงลักขณา แสงสนิท พ.ศ. 2528 - 2533
5 นางเพ็ญศรี ไพรินทร์ พ.ศ. 2533 - 2536
6 นางสุมาลี รัตนปราการ พ.ศ. 2536 - 2539
7 นางหัทยา คงกะพัน พ.ศ. 2539 - 2542
8 นางกรองทอง ด้วงสงค์ พ.ศ. 2542 - 2544
9 นางสาาวอรุณี นาคทัต พ.ศ. 2544 - 2547
10 นางรัชนี ตั๊นประเสริฐ พ.ศ. 2547 - 2549
11 นางฎาทกาญจน์ อุสตัส พ.ศ. 2549 - 2553
12 นางวรรณดี นาคสุขปาน พ.ศ. 2553 - 2559
13 ดร.กัญญาพัชญ์ กานต์ภูวนันต์ พ.ศ. 2559 - 2562
14 นายณรงค์ศักดิ์ รักพร้า พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

ดารานักแสดงที่จบจากสายน้ำผึ้ง

[แก้]
  1. พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย (ติ๋ม ทีวีพูล) นักธุรกิจชาวไทย ผู้จัดรายการข่าวบันเทิง ทางช่อง YouTube: TVPOOL OFFICIAL
  2. สโรชา วาทิตตพันธ์ (เต๋า) นักแสดง นางแบบชาวไทย
  3. พิมพ์มาดา บริรักษ์ศุภกร (พิม) ปี 2553 รางวัลดาราสนับสนุนหญิงดีเด่นจากละครเรื่องชิงชัง จากงานรางวัลโทรทัศน์ทองคำครั้งที่ 24
  4. สิริยากร พุกกะเวส (อุ้ม) รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 10 สาขา นักแสดงสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละครเรื่อง ร่มฉัตร (ช่อง 3) (2538)
  5. ศิรินทิพย์ หาญประดิษฐ์ (โรส) โรสได้รับรางวัลร้องเพลงรางวัลประกวดชนะเลิศ การประกวดร้องเพลงภาษาฝรั่งเศสประจำปีที่เซนต์จอห์น (St. John) จากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในตอนมัธยมปลาย และเคยได้รับรางวัลสีสันอวอร์ดสครั้งที่ 17 ในสาขาศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม Time Machine ปี 2548 นอกจากนั้นโรสยังทำหน้าที่เป็นคอรัสและไกด์เพลงให้กับศิลปินคนอื่น ๆ ในวงการดนตรีอีกมากมาย และโรสยังสามรถเล่นกีตาร์ เปียโน เบส และกลอง
  6. สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์ (ปีใหม่) นักแสดง นางแบบ
  7. มชณต สุวรรณมาศ (หลิน) นางแบบ
  8. พรรณปพร ศรีดุรงคธรรมพ์ (สแพน) ถ่ายแบบ โฆษณา
  9. กชกร ส่งแสงเติม (กุ๊กกิ๊ก) นักแสดงช่อง 7
  10. ภัณฑิลา ฟูกลิ่น (หทัยรัตน์ ฟูกลิ่น) (แอร์) ดารานักแสดง พิธีกร
  11. เบญญาภา อุ่นจิตร (ตาออม) ศิลปิน วง โฟร์อีฟ ค่าย เอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์
  12. อิสรีย์ อิสระวรางกูร (แพนเค้ก) ศิลปิน นักร้องนำวง Yes indeed

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′38″N 100°33′53″E / 13.727246°N 100.564663°E / 13.727246; 100.564663