ข้ามไปเนื้อหา

วัคซีนโรคโปลิโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัคซีนโปลิโอ)
วัคซีนโรคโปลิโอ
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้Poliomyelitis
ชนิดOPV: Attenuated; IPV: Killed
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comMultum Consumer Information
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • C (ทั้ง OPV และ IPV)
ช่องทางการรับยาฉีด (IPV), ทางปาก (OPV)
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • ให้โดยหรือภายใต้การดูแลของวิชาชีพสาธารณสุข
ตัวบ่งชี้
ChemSpider
  • none
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

วัคซีนโรคโปลิโอเป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดหนึ่งใช้เชื้อไวรัสโปลิโอตายและให้โดยการฉีด (IPV) ส่วนอีกชนิดหนึ่งใช้เชื้อไวรัสโปลิโอเป็นและให้ทางปาก (OPV) องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เด็กทุกคนได้รับวัคซีนต้านโรคโปลิโอ[1] วัคซีนทั้งสองชนิดกำจัดโรคโปลิโอไปจากส่วนใหญ่ของโลก[2][3] และลดจำนวนผู้ป่วยต่อปีจากประมาณ 350,000 คนใน ค.ศ. 1988 เหลือ 359 คนใน ค.ศ. 2014[4]

วัคซีนโรคโปลิโอชนิดเชื้อตายปลอดภัยมาก อาจเกิดอาการแดงหรือปวดเล็กน้อย ณ จุดฉีด วัคซีนโรคโปลิโอทางปากทำให้เกิดโรคโปลิโออัมพาตที่สัมพันธ์กับวัคซีนประมาณสามต่อล้านขนาด โดยทั่วไปให้วัคซีนทั้งสองชนิดได้อย่างปลอดภัยระหว่างการตั้งครรภ์และผู้ป่วยเอชไอวี[1]

วัคซีนโรคโปลิโอชนิดแรกเป็นวัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อตาย ซึ่งพัฒนาโดยโจนัส ซอล์ก และมีใช้ใน ค.ศ. 1955[1] วัคซีนโรคโปลิโอทางปากพัฒนาโดยแอลเบิร์ต ซาบิน และมีใช้เชิงพาณิชย์ใน ค.ศ. 1961[1][5] ทั้งสองอยู่ในรายการยาหลักขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาสำคัญที่สุดที่จำเป็นในระบบสุขภาพพื้นฐาน[6] ราคาขายส่งอยู่ที่ประมาณ 0.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อขนาดสำหรับรูปให้ทางปากใน ค.ศ. 2014[7] ในสหรัฐ มี���าคาระหว่าง 25 ถึง 50 ดอลลาร์สหรัฐในรูปเชื้อตาย[8]

ผลข้างเคียง

[แก้]
Doses of oral polio vaccine are added to sugar cubes for use in a 1967 vaccination campaign in Bonn, West Germany

วัคซีนโรคโปลิโอเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ จึงมีความปลอดภัยสูงมาก ผู้รับวัคซีนชนิดฉีดบางรายอาจมีอาการบวมแดงหรือเจ็บที่ตำแหน่งฉีดวัคซีน ส่วนวัคซีนชนิดกินพบว่าบางครั้งทำให้เกิดโรคโปลิโอจากวัคซีนจนมีอาการอ่อนแรง ซึ่งพบได้ 3 ครั้ง ต่อการให้วัคซีนหนึ่งล้านครั้ง โดยทั่วไปถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอสามารถให้กับหญิงตั้งครรภ์ได้ และให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีสุขภาพดีได้ด้วย[9]

โรคโปลิโอจากวัคซีน

[แก้]
จำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอจากวัคซีนที่ออกสู่ธรรมชาติ หรือ cVDPV (เส้นสีแดง) เพิ่มขึ้นจนมากกว่าจำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอตามธรรมชาติ (เส้นสีน้ำเงิน) เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 2017

โรคโปลิโอจากวัคซีนเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยมากของการใช้วัคซีนโปลิโอแบบกิน เกิดจากการที่เชื้อในวัคซีนเกิดการประกอบพันธุกรรมใหม่เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบประสาทและทำให้มีอาการอ่อนแรงได้[10] อาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอชนิดมาจากวัคซีน (vaccine-derived poliovirus, VDPV) นี้เหมือนกันทุกประการกับอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอในธรรมชาติ[11] มีรายงานว่ามีการระบาดของเชื้อไวรัสโปลิโอชนิดมาจากวัคซีนที่ออกสู่ธรรมชาติ (circulating vaccine-derived poliovirus, cVDPV) ทำให้เกิดโรคอัมพาตจากโปลิโอชนิดมาจากวัคซีน (vaccine-associated paralytic poliomyelitis, VAPP)[12] ซึ่งมักพบในพื้นที่ที่มีการให้วัคซีนโปลิโอชนิดกินแต่ไม่ทั่วถึง เชื่อว่าเป็นเพราะเชื้อในวัคซีนทำให้คนในพื้นที่เกิดภูมิคุ้มกันต่อเชื้อในธรรมชาติ เมื่อเกิดโรคจึงพบเฉพาะชนิดที่เกิดจากเชื้อที่มาจากวัคซีน[13][14]

เมื่อ ค.ศ. 2016 องค์การอนามัยโลกได้ใช้มาตรการเพื่อลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ โดยให้แต่ละประเทศเปลี่ยนชนิดวัคซีนโปลิโอแบบกินจากชนิด 3 สายพันธุ์ มาเป็นชนิด 2 สายพันธุ์[15] ซึ่งไม่มีเชื้อโปลิโอชนิดที่ 2 อีกต่อไป เนื่องจากเชื้อโปลิโอชนิดนี้ถูกกำจัดหมดไปจากโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1999[16]

สำหรับประเทศไทยพบการระบาดของโรคโปลิโอครั้งแรกในปี 2495 โดยมีรายงานผู้ป่วยจำนวน 425 ราย จากนั้นพบผู้ป่วยมาอย่างต่อเนื ่องจนสูงสุดในปี 2522 ซึ่งพบผู้ป่วยจำนวน 1,083 ราย แต่หลังจากเริ่มให้วัคซีน ป้องกันโรคโปลิโอตั้งแต่ปี 2520 นั้น จำนวนผู้ป่วยได้ลดลงมาเป็นลำดับ โดยพบผู้ป่วยโปลิโอสายพันธุ์ก่อโรคตามธรรมชาติ สายพันธุ์ที่ 1 เมื่อเดือน เมษายน 2540 เป็นรายสุดท้าย ของประเทศ สำหรับผู้ป่วยโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์พบรายสุดท้ายในปี 2546 และรักษาสถานะปลอด โรคโปลิโอมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Polio vaccines: WHO position paper, January 2014" (PDF). Wkly Epidemiol Rec. 89 (9): 73–92. Feb 28, 2014. PMID 24707513.
  2. Aylward RB (2006). "Eradicating polio: today's challenges and tomorrow's legacy". Annals of Tropical Medicine and Parasitology. 100 (5–6): 401–13. doi:10.1179/136485906X97354. PMID 16899145.
  3. Schonberger L, Kaplan J, Kim-Farley R, Moore M, Eddins D, Hatch M (1984). "Control of paralytic poliomyelitis in the United States". Rev. Infect. Dis. 6 Suppl 2: S424–6. doi:10.1093/clinids/6.Supplement_2.S424. PMID 6740085.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "Poliomyelitis: Fact sheet N°114". World Health Organization. Oct 2015. สืบค้นเมื่อ 14 Dec 2015.
  5. Smith, DR; Leggat, PA (2005). "Pioneering figures in medicine: Albert Bruce Sabin--inventor of the oral polio vaccine". The Kurume medical journal. 52 (3): 111–6. doi:10.2739/kurumemedj.52.111. PMID 16422178.
  6. "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  7. "Vaccine, Polio". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-28. สืบค้นเมื่อ 6 December 2015.
  8. Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 316. ISBN 978-1-284-05756-0.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2016
  10. Shimizu H, Thorley B, Paladin FJ, และคณะ (December 2004). "Circulation of Type 1 Vaccine-Derived Poliovirus in the Philippines in 2001". J. Virol. 78 (24): 13512–21. doi:10.1128/JVI.78.24.13512-13521.2004. PMC 533948. PMID 15564462.
  11. Cono J, Alexander LN (2002). "Chapter 10: Poliomyelitis" (PDF). Vaccine-Preventable Disease Surveillance Manual (3rd ed.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-22.
  12. "What is vaccine-derived polio?". Online Q&A – WHO. ตุลาคม 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2015.
  13. Kew O, และคณะ (2002). "Outbreak of poliomyelitis in Hispaniola associated with circulating type 1 vaccine-derived poliovirus". Science. 296 (5566): 356–9. doi:10.1126/science.1068284. PMID 11896235.
  14. Yang CF, Naguib T, Yang SJ, และคณะ (August 2003). "Circulation of Endemic Type 2 Vaccine-Derived Poliovirus in Egypt from 1983 to 1993". J. Virol. 77 (15): 8366–77. doi:10.1128/JVI.77.15.8366-8377.2003. PMC 165252. PMID 12857906.
  15. "Replacing trivalent OPV with bivalent OPV". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 30 May 2019.
  16. "Poliomyelitis". World Health Organization (WHO). 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019.