ข้ามไปเนื้อหา

ภาษามคธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษามคธี)
ภาษามคธ
มคธี
  • 𑂧𑂏𑂯𑂲/𑂧𑂏𑂡𑂲
  • मगही/मगधी
  • মগহী/মগধী
Magahi
ศัพท์ มคธี ในอักษรไกถี[1]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ภูมิภาคมคธ (รัฐพิหารตอนใต้ รัฐฌารขัณฑ์ตอนเหนือ และรัฐเบงกอลตะวันตกฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ)[2][3][4]
ชาติพันธุ์ชาวมคธ
จำนวนผู้พูด12.6 ล้านคน  (2011 census)[5][6]
(ผู้พูดเพิ่มเติมนับภายใต้ภาษาฮินดี)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
Southern Magahi
Northern Magahi
Central Magahi
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี
อักษรไกถี (อดีต)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
รหัสภาษา
ISO 639-2mag
ISO 639-3mag
บริเวณที่มีผู้พูดภาษามคธ

ภาษามคธ [มะ-คด] (𑂧𑂏𑂯𑂲) บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี (𑂧𑂏𑂡𑂲) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ รวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่น ๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี

ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกอล ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร

ประวัติ

[แก้]

บรรพบุรุษของภาษามคธคือภาษาปรากฤตมคธที่เคยใช้พูดในอินเดียตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย บังกลาเทศและเนปาล บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมคธ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐพิหาร และเชื่อว่าเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า รวมทั้งภาษาราชการในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พัฒนาการของภาษามคธมาสู่รูปแบบปัจจุบันยังไม่ทราบดีนัก นักวิชาการด้านภาษามักจะสรุปว่าภาษามคธ ภาษาไมถิลี ภาษาโภชปุรี ภาษาเบงกอล ภาษาอัสสัม และภาษาโอริยา พัฒนามาจากภาษาปรากฤตมคธหรือภาษาอรธมาคธีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 แต่อาจจะไม่ถูกต้องแน่นอนนัก เพราะจุดเริ่มต้นของภาษาสมัยใหม่ในอินเดียปัจจุบันยังไม่ชัดเจน ภาษาคุชราต ภาษาไมถิลี ภาษาเบงกอล ภาษาอัสสัม ภาษาโอริยา ภาษามราฐี เริ่มมีรูปแบบของวรรณกรรมในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แม้ว่าภาษามคธเคยเป็นภาษาราชการในอาณาจักรมคธและมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากแต่ไม่เป็นที่สืบเนื่องในอินเดีย ในรัฐพิหาร ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ใช้ทางราชการและการศึกษา ภาษามคธนั้นถูกแทนที่ด้วยภาษาฮินดีเมื่อ พ.ศ. 2504

ภาษาฮินดีได้แพร่หลายเข้ามาในรัฐพิหาร และเข้ามาแทนที่ภาษาอูรดูในการเป็นภาษาราชการของรัฐ มีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการเป็นภาษาราชการของรัฐระหว่างภาษาฮินดีกับภาษาอูรดู แต่ไม่มีการพูดถึงภาษาแม่ในบริเวณนั้น อีก 3 ภาษาคือ ภาษามคธ ภาษาโภชปุรี และภาษาไมถิลี หลังจากได้รับเอกราช ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐพิหาร ตามข้อตกลงภาษาราชการของพิหาร พ.ศ. 2493

บริเวณที่มีการใช้ภาษามคธ

[แก้]

ภาษามคธเคยใช้พูดในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมคธ เช่น ปัตนา นาลันทา คยา และนวทา เป็นต้น นอกจากนั้น มีผู้พูดบ้างในรัฐเบงกอลตะวันตก มุมไบ และเดลฮี

อักษรและวรรณกรรมพื้นบ้าน

[แก้]

ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วยอักษรเทวนาครี อักษรที่เคยใช้เขียนภาษานี้คืออักษรไกถี แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน วรรณกรรมพื้นบ้านภาษามคธ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้านและมีวรรณกรรมในรูปแบบปัจจุบันอยู่บ้าง นิตยสารภาษามคธ Magadhi เริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Bihan หมายถึง วันพรุ่งนี้

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาษาทางการเพิ่มเติมของรัฐฌารขัณฑ์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grierson, George Abraham. Linguistic Survey Of India, Volume 5.2. p. 10.
  2. Grierson, G.A. (1927). "Magahi or Magadhi". Internet Archive.
  3. "Magahi". Omniglot.
  4. Atreya, Lata. "Magahi and Magadh: Language and the People" (PDF). Global Journal of Interdisciplinary Social Sciences.
  5. "Magahi". ethnologue.
  6. "Scheduled Languages in descending order of speaker's strength - 2011" (PDF). Registrar General and Census Commissioner of India. 29 June 2018.
  7. "झारखंड : रघुवर कैबिनेट से मगही, भोजपुरी, मैथिली व अंगिका को द्वितीय भाषा का दर्जा". Prabhat Khabar (ภาษาฮินดี). 21 March 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Munishwar Jha - "Magadhi And Its Formation," Calcutta Sanskrit College Research Series, 1967, 256 pp
  • Saryu Prasad - "A Descriptive Study of Magahi Phonology", PhD thesis submitted to Patna University.
  • A.C. Sinha (1966) - "Phonology and Morphology of a Magahi Dialect", PhD awarded by the University of Poona.(now Pune)
  • G.A. Grierson Essays on Bihari Declension and Conjugation, Journal of the Asiatic Society of Bengal, vol. iii, pp. 119–159
  • Hoernle, A.F. Rudolf & Grierson, G.A. A Comparative Dictionary of the Bihari Language
  • Prasad, Swarnlata (1959) Juncture and Aitch in Magahi, Indian Linguistics, Turner Jubilee Volume, 1959 pp. 118–124.
  • Sweta Sinha (2014) - "The Prosody of Stress and Rhythm in Magahi", PhD thesis submitted to Jawaharlal Nehru University, New Delhi.
  • Sweta Sinha (2018)- "Magahi Prosody", Bahri Publications: New Delhi. ISBN 978-93-83469-14-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]