ข้ามไปเนื้อหา

พระอุบาลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอุบาลี
พระอุบาลีที่พุทธคยา, อินเดีย
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิมนายอุบาลีภูษามาลา, ช่างอุบาลี
สถานที่เกิดกรุงกบิลพัสดุ์
สถานที่บวชอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
สถานที่บรรลุธรรมอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ
เอตทัคคะผู้ทรงพระวินัย
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
บิดาผู้เป็นนายช่างกัลบกในเมืองกบิลพัสดุ์
วรรณะเดิมศูทร
สถานที่รำลึก
สถานที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ สถานที่ท่านแสดงพระวินัยปิฎกในคราวปฐมสังคายนา
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระอุบาลีเถระ หรือ พระอุบาลี เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระโคตมพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล

พระอุบาลีเถระเดิมเป็นนายช่างภูษามาลาหลวงประจำราชสำนัก ออกบวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 6 พระองค์ ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ ทำให้เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ท่านจึงได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้วิสัชชนาพระวินัยปิฎกในคราวปฐมสังคายนาเพื่อรวบรวมพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า และด้วยการที่ท่านเป็นผู้ทรงจำวินัยอย่างแม่นยำจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทางผู้ทรงพระวินัย

สาเหตุที่ออกบวช

[แก้]

ท่านได้ออกบวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารทั้ง 6 คือ พระเจ้าภัททิยศากยราชา, เจ้าชายอนุรุทธะ, เจ้าชายอานนท์, เจ้าชายภัคคุ , เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัต รวมเป็น 7 ออกบวช ณ อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ โดยในวันผนวชนั้น เจ้าชายทั้ง 6 ได้ตกลงกันให้นายอุบาลีผู้เป็นช่างภูษามาลาออกบวชก่อนตน เพื่อจะได้ทำความเคารพเป็นการลดทิฐิและมานะแห่งความเป็นเ��ื้อสายกษัตริย์ของตนลง โดยทั้งหมดได้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า เมื่อบวชได้ไม่นานท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และพระอุบาลีได้รับการยกย่อง

ความสำคัญในพระพุทธศาสนา

[แก้]

ท่านเป็นผู้ทรงจำพระวินัยอย่างแม่นยำ และเคยได้รับพุทธานุญาตให้วินิจฉัยอธิกรณ์ 3 คดี คือ ภารตัจฉวัตถุ, อัชชุกวัตถุ และกุมารกัสสปวัตถุ ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศในทาง ผู้ทรงพระวินัย และหลังพุทธปรินิพพานท่านได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการรักษาพระวินัย เพราะท่านได้รับหน้าที่เป็น 1 ใน 3 พระมหาเถระผู้วิสัชชนาพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนาที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ โดยท่านได้วิสัชนาพระวินัยปิฎก

บั้นปลายชีวิต

[แก้]

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธ์ปรินิพพานที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน