ข้ามไปเนื้อหา

เขตชูโอ (โตเกียว)

พิกัด: 35°40′N 139°46′E / 35.667°N 139.767°E / 35.667; 139.767
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชูโอ (โตเกียว))
เขตชูโอ

中央区
Chūō City
นครชูโอ
ทิวทิศน์ของเขตชูโอริมแม่น้ำซูมิดะ
ทิวทิศน์ของเขตชูโอริมแม่น้ำซูมิดะ
ธงของเขตชูโอ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเขตชูโอ
ตรา
ที่ตั้งของเขตชูโอ (เน้นสีม่วง) ในมหานครโตเกียว
ที่ตั้งของเขตชูโอ (เน้นสีม่วง) ในมหานครโตเกียว
เขตชูโอตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
เขตชูโอ
เขตชูโอ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 35°40′N 139°46′E / 35.667°N 139.767°E / 35.667; 139.767
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดมหานครโตเกียว
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีไทโตะ ยามาโมโตะ (山本 泰人)
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.21 ตร.กม. (3.94 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 พฤษภาคม 2015)
 • ทั้งหมด141,454 คน
 • ความหนาแน่น13,850 คน/ตร.กม. (35,900 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+09:00 (JST)
ที่อยู่สำนักงานเขตTsukiji 1-1-1 Chuo-ku, Tokyo
104-8404
เว็บไซต์www.city.chuo.lg.jp
สัญลักษณ์
ดอกไม้อาซาเลีย
ต้นไม้หลิว

เขตชูโอ (ญี่ปุ่น: 中央区โรมาจิChūō-ku) เป็น 1 ใน 23 เขตพิเศษของโตเกียว ชูโอเป็นเขตศูนย์กลางพาณิชย์กรรมที่สำคัญของโตเกียวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีย่านชินจูกุซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นมาแทนก็ตาม สถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเขตนี้คือ ย่านกินซะ (銀座) ซึ่งในอดีตเคยเป็นโรงกษาปณ์มาก่อน โดยที่ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ตั้งอยู่ในเขตนี้

ในปี พ.ศ. 2551 เขตชูโอมีจำนวนประชากรประมาณ 108,943 คน มีความหนาแน่นประชากร 9,654 คนต่อตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ตามด้วยการเป็นศูนย์กลางอาคารสำนักงานและธุรกิจการค้าที่สำคัญ ในช่วงเวลากลางวันอาจจะมีจำนวนประชากรกว่า 650,000 คน ในเขตชูโอ

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ย่านกินซะ ในเขตชูโอ

ชูโอตั้งอยู่ใจกลางโตเกียว มีอาณาเขตติดกับเขตการปกครองอื่น คือ ชิโยดะ มินาโตะ ไทโต ซูมิดะ และโคโต ในด้านการบริหาร แบ่งการปกครองออกเป็น 3 พื้นที่ คือ นิฮมบาชิ เคียวบาชิ และสึกิชิมะ โดยสองพื้นที่แรกเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมที่สำคัญ ประกอบด้วยสถานที่ที่มีชื่อเสียงเช่น แขวงกินซะและแขวงสึกิจิ ส่วนพื้นที่สึกิชิมะเป็นเกาะแยกออกจากแผ่นดินใหญ่เป็นย่านที่พักอาศัยหนาแน่น

เศรษฐกิจ

[แก้]

ชูโอเป็นเขตที่ตั้งของอาคารสำนักงานใหญ่หลายบริษัท เช่น บริษัทริโคห์[1], กลุ่มซุมิโตะโมะ[2], บริษัทมิตซุย ฟุโดะซัน[3], หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน, บริษัทอะซัตซุ ดีเค, บริษัทนิฮน เอดี ซิสเต็ม[4][5][6], บริษัทโอเรียนท์บริวเวอร์รี[7], บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ[8], กลุ่มบริษัทโนะมุระ[9] นอกจากนี้ยังมีบริษัทข้ามชาติอีก เช่น โตเกียวป็อป[10] และไอบีเอ็มสาขาประเทศญี่ปุ่น[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Company Data เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Ricoh. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2009.
  2. "Corporate Profile." Sumitomo Corporation. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2009.
  3. "Corporate Data." Mitsui Fudosan. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009.
  4. "会社概要." Asahi Shimbun. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010.
  5. "会社概要 เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Nihon Ad Systems. สืบค้ยเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2010.
  6. "Relation เก็บถาวร 2009-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Asatsu DK. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2009.
  7. "会社概要 - オリオンビール." Orion Breweries. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2009.
  8. "Toward the realization of "Ajinomoto Group Zero Emissions" Chuo Ace Logistics Corporation achieves "Green Management Certification" Chuo Ace Logistics Corporation promotes environmentally friendly logistics เก็บถาวร 2017-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Ajinomoto. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2010.
  9. "Nomura Group." Nomura Group. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010.
  10. "Contact Us เก็บถาวร 2009-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." Tokyopop. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2009.
  11. "IBM Japan." IBM. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]