ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดโอซากะ

พิกัด: 34°41′11″N 135°31′12″E / 34.68639°N 135.52000°E / 34.68639; 135.52000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จังหวัดโอซะกะ)
จังหวัดโอซากะ

大阪府
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • ฮิรางานะおおさかふ
 • โรมาจิŌsaka-fu
 • ทับศัพท์ไทยโอซากะ-ฟุ
บน: ปราสาทโอซากะและโอซากะบิซเนสพาร์ก,
กลาง: โดตมโบริ, เทศกาลคิชิวาดะดันจิริ,
ล่าง: ย่านเมืองเก่าทนดาบายาชิ จิไนมาจิ, หมู่สุสานโมซุ
ธงของจังหวัดโอซากะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดโอซากะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของจังหวัดโอซากะ
พิกัด: 34°41′11″N 135°31′12″E / 34.68639°N 135.52000°E / 34.68639; 135.52000
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
เกาะฮนชู
เมืองหลวงนครโอซากะ
หน่วยย่อยการปกครองอำเภอ: 5, เทศบาล: 43
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการฮิโรฟูมิ โยชิมูระ
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,905.14 ตร.กม. (735.58 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 46
ประชากร
 (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019)
 • ทั้งหมด8,823,358 คน
 • อันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น4,600 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP)[1]
 • จังหวัด41,188 พันล้านเยน
377.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2019)
 • เขตมหานคร699.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
รหัส ISO 3166JP-27
เว็บไซต์www.pref.osaka.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกอีเสือ, โมซุ (Lanius bucephalus)
ดอกไม้ดอกบ๊วย (Prunus mume)
พริมโรส (Primula sieboldii)
ต้นไม้ต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba)

จังหวัดโอซากะ (ญี่ปุ่น: 大阪府โรมาจิŌsaka-fu) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซบนเกาะฮนชู[3] จังหวัดโอซากะมีจำนวนประชากร 8,778,035 คน (ข้อมูลเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2022 (2022 -04-01)) และมีขนาดพื้นที่ 1,905 ตารางกิโลเมตร (736 ตารางไมล์) จังหวัดโอซากะมีอาณาเขตทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ทิศเหนือติดกับจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดนาระ และทิศใต้ติดกับจังหวัดวากายามะ

เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดคือ นครโอซากะ ซึ่งเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของประเทศ นครที่สำคัญอื่น ๆ ในจังหวัดโอซากะ เช่น นครซาไก, นครฮิงาชิโอซากะ และนครฮิรากาตะ[4] จังหวัดโอซากะเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของประเทศ รองจากกรุงโตเกียวและจังหวัดคานางาวะ แต่มีขนาดพื้นที่เล็กเป็นอันดับสอง ส่วนในด้านความหนาแน่นของประชากร ซึ่งอยู่ที่ 4,600 คนต่อตารางกิโลเมตร (12,000 คนต่อตารางไมล์) จัดเป็นจังหวัดที่หนาแน่นเป็นอันดับสองของประเทศ โดยเป็นรองเพียงมหานครโตเกียวเท่านั้น

จังหวัดโอซากะเป็นหนึ่งในสองจังหวัดของญี่ปุ่นที่ใช้คำว่า ฟุ (府 fu) ต่อท้ายชื่อเช่นเดียวกับจังหวัดเกียวโต ในขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ใช้คำว่า เค็ง (県 ken) จังหวัดโอซากะเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมของภูมิภาคคันไซ และเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครเคฮันชิง (เกียวโต-โอซากะ-โกเบะ) ซึ่งเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากเขตมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในภูมิภาคมหานครที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากติดอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชียรองจากเขตมหานครโตเกียว และเขตกรุงโซลและปริมณฑลของเกาหลีใต้เท่านั้น

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ก่อนสมัยการฟื้นฟูเมจิ บริเวณจังหวัดโอซากะในปัจจุบันเคยแบ่งออกเป็นหลายแคว้น ได้แก่ แคว้นคาวาจิ แคว้นอิซูมิ[5][6] และแคว้นเซ็ตสึ[7] ภายหลังการยกเลิกระบบแคว้นในช่วงเริ่มต้นของยุคเมจิ จึงมีการจัดตั้งจังหวัดโอซากะขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1868[8] โดยลงท้ายชื่อจังหวัดด้วยคำว่า ฟุ (府 fu)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1956 มีการยกฐานะนครโอซากะขึ้นเป็น "นครใหญ่ที่รัฐกำหนด" โดยแบ่งออกเป็น 24 เขต ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะนครซาไกเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดแห่งที่สองของจังหวัดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2006 โดยแบ่งออกเป็น 7 เขต

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2018 เกิดแผ่นดินไหวขึ้นทางตอนเหนือของจังหวัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และสร้างความเสียหายเล็กน้อยในพื้นที่โดยรอบของโอซากะ[9]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

จังหวัดโอซากะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเฮียวโงะและจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดนาระ ทิศใต้ติดกับจังหวัดวากายามะ และทิศตะวันตกติดกับอ่าวโอซากะ โดยมีแม่น้ำโยโดะและแม่น้ำยามาโตะไหลผ่านในเขตจังหวัด

ก่อนจะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ โอซากะถูกจัดว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น แต่เมื่อมีการถมทะเลและสร้างเป็นท่าอากาศยานขึ้นมา ก็ทำให้มีพื้นที่เพิ่มจนมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดที่เล็กที่สุดอย่างจังหวัดคางาวะเล็กน้อย[10][11]

ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012 ร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดได้รับกำหนดให้เป็นเขตอุทยาน ได้แก่ อุทยานกึ่งแห่งชาติคงโง-อิโกมะ-คิเซ็ง, อุทยานกึ่งแห่งชาติเมจิโนะโมริมิโน, อุทยานจังหวัดโฮกุเซ็ตสึ และอุทยานจังหวัดฮันนัง-มิซากิ[12]

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ศาลากลางจังหวัดโอซากะ

ใน ค.ศ. 2000 ฟูซาเอะ โอตะ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศญี่ปุ่น โดยเธอเข้ามาแทนที่น็อก โยโกยามะ ซึ่งลาออกหลังจากถูกดำเนินคดีในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ[13] โทรุ ฮาชิโมโตะ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีชื่อเสียงในรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดใน ค.ศ. 2008 ขณะอายุ 38 ปี ทำให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น[14]

ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร

[แก้]

ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มฟื้นฟูโอซากะได้ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดโอซากะ โทรุ ฮาชิโมโตะ ด้วยความประสงค์ที่จะปฏิรูปจังหวัดโอซากะโดยการรวมเข้ากับนครโอซากะแล้วจัดตั้งขึ้นเป็น "มหานครโอซากะ" (大阪都)[14] ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ค.ศ. 2011 กลุ่มฟื้นฟูโอซากะสามารถคว้าที่นั่งส่วนใหญ่ของสภาจังหวัดไว้ได้ และฮาชิโ��โตะได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีนครโอซากะ

การลงประชามติในประเด็นนี้จัดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 2015 ผลที่ได้คือมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 50.38 ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด[14] และได้มีการลงประชามติครั้งที่สองใน ค.ศ. 2020 ผลคือมีผู้ไม่เห็นด้วยร้อยละ 50.6 ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด[15]

การแบ่งเขตการบริหาร

[แก้]
นครซาไก และหมู่สุสานโมซุ
นครทากัตสึกิ

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2005 จังหวัดโอซากะประกอบด้วย 43 เทศบาล ได้แก่ 33 เทศบาลนคร, 9 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน โดยใน ค.ศ. 2021 เทศบาลนครทั้ง 33 แห่งนี้ เป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด 2 แห่ง, นครศูนย์กลาง 7 แห่ง และนครพิเศษ (ในช่วงเปลี่ยนผ่าน) 2 แห่ง (ระบบนครพิเศษได้ถูกยกเลิกในบทกฎหมายไปเมื่อ ค.ศ. 2015 และจะถูกแทนที่ด้วยระบบนครศูนย์กลางภายในคริสต์ทศวรรษ 2020)

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่จังหวัดโอซากะเป็นอำเภอซึ่งไม่มีหน่วยงานบริหาร มีจำนวน 5 อำเภอ โดยจะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทศบาลเมืองและหมู่บ้านเท่านั้น

แผนที่เทศบาลในจังหวัดโอซากะ
     นครใหญ่ที่รัฐกำหนด      นคร      เมือง      หมู่บ้าน
ธง ชื่อ ประเภท อำเภอ
(-กุง)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
รหัส
ท้องถิ่น
ทับศัพท์ไทย อักษรญี่ปุ่น โรมาจิ
โอซากะ 大阪市 Ōsaka-shi นครใหญ่
ที่รัฐกำหนด
ไม่มีอำเภอ 225.21 2,668,586 27100-4
ซาไก 堺市 Sakai-shi 149.82 828,741 27140-3
โทโยนากะ 豊中市 Toyonaka-shi นครศูนย์กลาง 36.38 396,014 27203-5
ซูอิตะ 吹田市 Suita-shi 36.11 378,322 27205-1
ทากัตสึกิ 高槻市 Takatsuki-shi 105.31 350,914 27207-8
ฮิรากาตะ 枚方市 Hirakata-shi 65.08 401,449 27210-8
ยาโอะ 八尾市 Yao-shi 41.71 268,013 27212-4
เนยางาวะ 寝屋川市 Neyagawa-shi 24.73 236,758 27215-9
ฮิงาชิโอซากะ 東大阪市 Higashi-Ōsaka-shi 61.78 495,011 27227-2
คิชิวาดะ 岸和田市 Kishiwada-shi นครพิเศษ 72.68 197,629 27202-7
อิบารากิ 茨木市 Ibaraki-shi 76.52 280,562 27211-6
อิเกดะ 池田市 Ikeda-shi นคร 22.09 103,028 27204-3
อิซูมิโอตสึ 泉大津市 Izumi-Ōtsu-shi 13.36 75,398 27206-0
ไคซูกะ 貝塚市 Kaizuka-shi 43.99 88,345 27208-6
โมริงูจิ 守口市 Moriguchi-shi 12.73 143,877 27209-4
อิซูมิซาโนะ 泉佐野市 Izumi-Sano-shi 55.03 100,649 27213-2
ทนดาบายาชิ 富田林市 Tondabayashi-shi 39.66 112,993 27214-1
คาวาจินางาโนะ 河内長野市 Kawachi-Nagano-shi 109.61 105,872 27216-7
มัตสึบาระ 松原市 Matsubara-shi 16.66 121,125 27217-5
ไดโต 大東市 Daitō-shi 18.27 119,329 27218-3
อิซูมิ 和泉市 Izumi-shi 84.98 186,370 27219-1
มิโน 箕面市 Minoo-shi 47.84 134,435 27220-5
คาชิวาระ 柏原市 Kashiwara-shi 25.39 76,383 27221-3
ฮาบิกิโนะ 羽曳野市 Habikino-shi 26.44 113,256 27222-1
คาโดมะ 門真市 Kadoma-shi 12.28 124,516 27223-0
เซ็ตสึ 摂津市 Settsu-shi 14.88 85,290 27224-8
ทากาอิชิ 高石市 Takaishi-shi 11.35 56,583 27225-6
ฟูจิอิเดระ 藤井寺市 Fujidera-shi 8.89 65,075 27226-4
เซ็นนัง 泉南市 Sennan-shi 48.48 62,076 27228-1
ชิโจนาวาเตะ 四條畷市 Shijōnawate-shi 18.74 55,832 27229-9
คาตาโนะ 交野市 Katano-shi 25.55 76,383 27230-2
โอซากะซายามะ 大阪狭山市 Ōsaka-Sayama-shi 11.86 57,993 27231-1
ฮันนัง 阪南市 Hannan-shi 36.1 55,798 27232-9
ชิมาโมโตะ 島本町 Shimamoto-chō เมือง มิชิมะ 16.78 29,970 27301-5
โทโยโนะ 豊能町 Toyono-chō โทโยโนะ 34.37 19,519 27321-0
โนเซะ 能勢町 Nose-chō 98.68 9,971 27322-8
ทาดาโอกะ 忠岡町 Tadaoka-chō เซ็มโบกุ 4.03 17,187 27341-4
คูมาโตริ 熊取町 Kumatori-chō เซ็นนัง 17.23 43,988 27361-9
ทาจิริ 田尻町 Tajiri-chō 4.96 8,377 27362-7
มิซากิ 岬町 Misakichō 49.08 16,267 27366-0
ไทชิ 太子町 Taishi-chō มินามิคาวาจิ 14.17 13,634 27381-3
คานัง 河南町 Kanan-chō 25.26 16,027 27382-1
ชิฮายะอากาซากะ 千早赤阪村 Chihaya-Akasaka-mura หมู่บ้าน 37.38 5,467 27383-0
จังหวัดโอซากะ 大阪府 Ōsaka-fu จังหวัด 1,905.14 8,823,358 27000-8

เศรษฐกิจ

[แก้]
อูเมดะ
ปราสาทโอซากะ
Universal Studios Japan
ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ
ตึกอูเมดะสกาย
ป้ายโฆษณากูลิโกะ อันมีชื่อเสียง

ในปีงบประมาณ 2004 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดโอซากะอยู่ที่ 38.7 ล้านล้านเยน เป็นรองเพียงแค่โตเกียวเท่านั้น นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของพื้นที่คิงกิ รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 3.0 ล้านเยน สูงเป็นอันดับ 7 ประเทศ[16] มียอดการค้าในปีเดียวกันนี้ 60.1 ล้านล้านเยน[17]

ยักษ์ใหญ่ในวงการอิเล็กทรอนิกส์อย่างพานาโซนิคและชาร์ปต่างก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดโอซากะ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) อยู่มากมาย โดยในปี 2006 นครโอซากะมี SME อยู่ 330,737 แห่ง[18] ผลผลิตที่มาจาก SME เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 65.4 ของผลผลิตทั้งหมดในตัวจังหวัด[19] สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โอซากะเป็นที่สนใจในด้านเศรษฐกิจก็คือความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โอซากะยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตราสารอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นับว่าเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของโลก

อุตสาหกรรมที่ใหญ่ในโอซากะมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมี ยา อุตสาหกรรมหนัก อาหาร และของตกแต่งบ้าน

ประชากร

[แก้]
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
18901,324,216—    
19031,823,456+2.49%
19132,461,067+3.04%
19202,587,847+0.72%
19253,059,502+3.41%
19303,540,017+2.96%
19354,297,174+3.95%
19404,792,966+2.21%
19452,800,958−10.19%
19503,857,047+6.61%
19554,618,308+3.67%
19605,504,746+3.57%
19656,657,189+3.87%
19707,620,480+2.74%
19758,278,925+1.67%
19808,473,446+0.47%
19858,668,095+0.46%
19908,734,516+0.15%
19958,797,268+0.14%
20008,805,081+0.02%
20058,817,166+0.03%
20108,865,245+0.11%
20158,838,908−0.06%
แหล่งข้อมูล:[20]

จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 จังหวัดโอซากะมีประชากร 8,817,166 คน เพิ่มขึ้นจากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2543 จำนวน 12,085 คน หรือร้อยละ 0.14[21]

วัฒนธรรม

[แก้]

วัดและศาลเจ้า

[แก้]
  • ชิเทนโนจิ
  • คันชินจิ
  • ซูมิโยชิ ไทชะ

พิพิธภัณฑ์

[แก้]
  • พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์แห่งชาติ [1][ลิงก์เสีย]
  • พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้าน [2]

มหาวิทยาลัย

[แก้]
  • มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University)
  • มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University)
  • มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คันไซ (Kansai Medical University)
  • มหาวิทยาลัยนครโอซากะ (Osaka City University)
  • มหาวิทยาลัยจังหวัดโอซากะ (Osaka Prefecture University)
  • Osaka Kyoiku University
  • Kinki University
  • Kansai Gaidai University
  • Osaka International Educational University
  • Osaka University of Health and Sport sciences
  • Osaka University of Commerce
  • Osaka University of Economic and Law
  • Osaka College of Music
  • Osaka Electro Communication University
  • Osaka Gakuin University
  • Otemon Gakuin University
  • Hannan University
  • Setsunan University
  • St. Andrew's University
  • Taisei Gakuin University
  • Tezukayama Gakuin University

สวนสาธารณะ

[แก้]
  • สวนที่ระลึกงานเอ็กซ์โป - เคยเป็นสถานที่จัดงานเวิร์ลด์เอ็กซ์โป '70
  • สวนฮัตโตริรีวคุจิ
  • สวนสึรุมิรีวคุจิ
  • สวนนะไง
  • สวนปราสาทโอซากะ
  • สวนนะกะโนะชิมะ

การคมนาคม

[แก้]

จังหวัดโอซากะ มีการคมนาคมที่ทันสมัย มีท่าอากาศยานนานาชาติอยู่สองแห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และ ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ และยังมีรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งวิ่งผ่าน โดยจะจอดที่สถานีชินโอซากะ ไม่ไกลจากตัวเมือง ส่วนการคมนาคมทางเรือก็สะดวกสบาย สามารถโดยสารเรือไปได้ทั้งในและต่างประเทศ

กีฬา

[แก้]

ฟุตบอล

[แก้]

เบสบอล

[แก้]

บาสเกตบอล

[แก้]

รักบี้

[แก้]

สัญลักษณ์ของจังหวัด

[แก้]

สัญลักษณ์ของจังหวัดโอซากะ คือ sennari byōtan หรือ พันน้ำเต้า ซึ่งเคยเป็นตราของไดเมียวโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้ปกครองผู้สร้างปราสาทโอซากะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
  2. "Abu Dhabi fastest-growing economy in MENA Region with GDP growth rate of 9.3% in 2022", added.gov.ae, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-11, สืบค้นเมื่อ 2024-06-04
  3. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Osaka-fu" in Japan Encyclopedia, p. 759, p. 759, ที่กูเกิล หนังสือ; "Kansai" in p. 477, p. 477, ที่กูเกิล หนังสือ
  4. Nussbaum, "Osaka" in p. 759, p. 759, ที่กูเกิล หนังสือ
  5. 大阪府教育委員会 (2002-03-29). "岸和田城跡". Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
  6. 泉南市教育委員会 (1987-09-21). "海会寺". Comprehensive Database of Archaeological Site Reports in Japan. สืบค้นเมื่อ 2016-09-02.
  7. Nussbaum, "Provinces and prefectures" in p. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ
  8. "大阪のあゆみ (History of Osaka)" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-03-12.The creation of Osaka prefecture took place slight earlier than many other prefectures, that had to wait for abolition of the han system in 1871.
  9. Kaneko, Kaori; Foster, Malcolm (June 18, 2018). "Magnitude 6.1 quake in Japan's Osaka area kills four, halts factories". Reuters. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
  10. "平成10年全国都道府県市区町村の面積の公表について(Official announcement on the national territory and area of 1998, by prefectures, cities, districts, towns and villages)" เก็บถาวร 2003-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Geographical Survey Institute, Government of Japan, January 29, 1999.
  11. "コラム Vol.017 全国都道府県市区町村面積調 (Column: "National Area Investigation" vol.017)" เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Alps Mapping K.K., March 8, 2001.
  12. "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF). Ministry of the Environment. สืบค้นเมื่อ 9 August 2012.
  13. Tolbert, Kathryn. "Election of First Female Governor Boosts Japan's Ruling Party", The Washington Post, February 8, 2000.
  14. 14.0 14.1 14.2 Harding, Robin (June 11, 2018). "Battle to remodel Osaka is legacy of Japan's Trump". The Financial Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-10. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
  15. Johnston, Eric (November 2, 2020). "Osaka referendum defeat raises questions about future of city's politics". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
  16. "平成16年度の県民経済計算について (Prefectural Economy for the fiscal year 2004 based on 93SNA) Cabinet Office, Government of Japan" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
  17. "大阪府民経済計算 (Osaka Prefectural Economy based on 93SNA) Osaka Prefectural Government" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
  18. "2006 White Paper on Small and Medium Enterprises in Japan, Japan Small Business Research Institute (Japan)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-03-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
  19. "なにわの経済データ (The Naniwa Economy Data)" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.
  20. "Statistics Bureau Home Page". www.stat.go.jp.
  21. "Table 1: 大阪府の人口の推移 ( Population Change of Osaka Prefecture)" (ภาษาญี่ปุ่น). Osaka Prefectural Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]